จากการอบรมหลักสูตร "วิทยากรกระบวนการแนวจิตวิญญาณ" หรือ "เสริมสร้างกระบวนกรแนวจิตวิญญาณ" โดยเสมสิกขาลัย ทำให้ได้เรียนรู้ว่าการจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรมีเป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนในด้านต่าง ๆ หลายมิติที่โยงใยสัมพันธ์กัน ทั้งด้านความรู้ความเห็นหรือทัศนคติ ด้านทักษะความชำนาญ ด้านพฤติกรรม ด้านสัมพันธภาพในสังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจิตใจและด้านปัญญา อันเป็นแนวคิดของจิตตปัญญาศึกษา(Contemplative Education) ซึ่ง นพ.ธนา นิลชัยโกวิทย์ ได้นิยามไว้ว่า เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะพิเศษคือ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใน และการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เกิดปัญญาที่เห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง และเกิดความรักความเมตตา ที่อยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทำให้เกิดสำนึกที่ดีงาม และตระหนักถึงภาระหน้าที่ของตนที่มีต่อมวลมนุษย์ และสรรพสิ่งในธรรมชาติ หรือที่ นพ.ประเวศ วะสี กล่าวไว้ว่า จิตตปัญญาศึกษา หมายถึงการรู้จิตของตัวเองแล้วเกิดปัญญา ปัญญาหมายถึงการเข้าถึงความจริงสูงสุด หรือบางทีก็พูดว่าเข้าถึง ความจริง ความดี ความงาม
การจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้นมีองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งบรรยากาศในการเรียนรู้ กติกาหรือข้อตกลงในการเรียนรู้ร่วมกัน กระบวนการ การประเมินผล และตัวกระบวนกรเอง
กระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง (Experimential knowing) เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้การเรียนรู้นั้นเปลี่ยนแปลงลงลึกถึงระดับจิตใจและปัญญาได้ โดยมีองค์ประกอบ เช่น มีการสร้างเงื่อนไขที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงและเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายได้ ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริง กระบวนการไม่ซับซ้อนและสอดคล้องกับผู้เรียนและระยะเวลา และที่สำคัญคือการมีกับดักหรือหลุมพราง
การมีกับดักหรือหลุมพรางในกระบวนการเรียนรู้หรือการทำกิจกรรม จะทำให้เกิดการกระทบสัมผัสกับความรู้สึกภายในได้ง่าย ทำให้ผู้เรียนเกิดการฉุกคิดใคร่ครวญ สามารถจดจำได้ชัด เกิดปัญญาได้ง่าย ทำให้มองเห็นความจริงภายในที่มักมองข้าม ได้เห็นตัวตนภายในที่แท้จริง เช่น กิจกรรมการเล่นเกมส์ โดยสมมติว่าโลกกำลังจะแตก แล้วให้ทุกคนแย่งกันขึ้นยานอวกาศที่เหลือเพียงลำเดียว คนสุดท้ายที่วิ่งไปถึงช้าจะไม่ได้ขึ้นยานอวกาศ แต่สามารถไปอ้อนวอนหรือใช้วิธีการใดก็ได้ เพื่อขอเปลี่ยนตัวกับคนที่อยู่บนยานอวกาศ เมื่อเห็นว่าอ้อนวอนไม่สำเร็จ กระบวนกรจึงเปลี่ยนเงื่อนไขโดยยานอวกาศไม่สามารถขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เพราะไม่มีกุญแจ แต่ให้คนที่ไม่ได้ขึ้นยานอวกาศมีกุญแจ ดังนั้นคนที่อยู่บนยานจึงต้องกลับมาเป็นผู้อ้อนวอนให้เลือกตนขึ้นยานแทน กิจกรรมนี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้เรื่องอัตตาและการเห็นคุณค่าของคนทุกคน หรือหากต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เรื่องการรับรู้รับฟังโดยไม่ด่วนตัดสิน การมองอย่างรอบด้าน ก็อาจออกแบบกิจกรรมให้กลุ่มผู้เรียนได้ชมภาพข่าวอาชญากรรม แล้วจึงพูดคุยกันถึงเรื่องสาเหตุ แนวทางป้องกัน และบทลงโทษถ้าหากจับอาชญากรได้ แล้วจึงมาเฉลยตอนหลังว่าอาชญากรคือบุตรหรือญาติพี่น้องของผู้เรียนเอง จากนั้นจึงถอดบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวนถึงความคิดและได้แสดงความคิดเห็นว่าเปลี่ยนไปอย่างไรจากครั้ง แรกที่ยังไม่รู้ว่าใครคืออาชญากร ซึ่งผู้เรียนจะเกิดการรับรู้ได้เองว่า การด่วนตัดสินไม่มองให้รอบด้าน ก่อให้เกิดผลอย่างไร เหมือนกับถูกตบหน้าอย่างแรง และเป็นบทเรียนที่สำคัญที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เมื่อเผชิญกับการที่ต้องตัดสินอะไรบางอย่างในอนาคต เป็นต้น
ดังนั้นเราจึงควรระมัดระวังและดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทอยู่เสมอ โดยหมั่นตั้งสติทุกครั้ง ว่าเหตุการณ์ที่เผชิญอยู่ตรงหน้านั้นมีหลุมพรางหรือไม่ และหลุมพรางนั้นคืออะไร เพื่อจะได้รู้เท่าทัน เพราะหากใคร่ครวญให้ดี จะเห็นว่าการดำเนินชีวิตของเรามีหลุมพรางอยู่ทุกชั่วขณะจิต
อ่านจบแล้ว...ได้ข้อคิดมากมายเลยค่ะ...ยกตัวอย่างไ้ด้เห็นเป็นรูปธรรม
ทุกขณะจิตที่เดินมักรายล้อมไปด้วยหลุมพราง...บางครั้งก็ตกหลุมพรางความคิดตน
การดำรงชีวิตอย่างมีสติ...รู้เท่าทันสถานการณ์เป็นสิ่งที่ควรน้อมนำมาพัฒนาตนค่ะ
-------------
ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ค่ะ
ได้ข้อคิดค่ะ
การฝึกเพื่อลดอัตตาและเห็นคุณค่าของผู้อื่น
สวัสดีครับ
ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทครับ
กำลังหัดเจริญมรณัสติ
เรียนเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการจิตตปัญญาศึกษาครั้งที่ 2
ระหว่างวันที่ 2-4 ธค.2552 ณ รร.รามาการ์เดนท์
วิทยากรที่น่าสนใจเพียบ อาทิ คุณหมอประเวศ วะสี ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
อ.ประมวล เพ็งจันทร์ ครูสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ เป็นต้น
ดูรายละเอียดที่ ce.mahidol.ac.th
อยากเดินทางช้าๆอย่างมีสติ
ได้ข้อคิด ดี ดี
สามารถนำไปใช้ได้จริง
ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ คุณ หมอป่า ตามมาจากมโนรมย์ครับ
คุณหมอประเวศ กับครู สุรินทร์ ได้พบได้ฟังท่านมาหลายเวที จากการประชุมต่างกรรมต่างวาระกัน
แต่อีกสองท่านก็คุ้นชินกับการอ่านวรรณกรรมของท่านครับ
โอกาสผ่านไปอย่างน่าเสียดาย
หากท่านคุณหมอป่าได้ไปฟังมา น่าจะเอามาขยับต่อในบันทึกน่ะท่าน
จะรออ่านครับ
เป็นหลักสูตรการอบรมที่น่าสนใจ และยังได้แนวคิดนำไปใช้ปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ร่วมงาน ขอบคุณค่ะ/BY Jan