วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๙
ในตลาดนัดความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดนครพนม วันที่ ๒ ช่วงท้ายของการประชุม เป็น session ของ AAR ซึ่งมีคำถาม ๕ ข้อดังนี้
๑. คาดหวังอะไรก่อนเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้
๒. มีอะไรที่ได้เกินความคาดหวังบ้าง
๓. มีอะไรที่ได้น้อยกว่าความคาดหวังหรือยังไม่ได้
๔. หากจะจัดกิจกรรมแบบนี้อีก ควรปรับปรุงอะไรบ้าง
๕. จะกลับไปทำอะไรต่อ
ต่อไปนี้เป็น AAR ของผู้เข้าประชุมและผู้สังเกตการณ์บางส่วนที่ได้พูดในที่ประชุม ต้องขออภัยที่จดชื่อผู้พูดได้ไม่ครบทุกคน
นพ. นฤทธิ์ บุญเพชร โรงพยาบาลศรีสงคราม
๑. คิดว่าเป็นการประชุมวิชาการทั่วๆ ไปเกี่ยวกับเรื่องเบาหวาน
๒. มีความรู้สึกว่าทุกอย่างเหมือนมีความลับซ่อนอยู่ ไม่เข้าใจว่าคุณอำนวยคืออะไร สิ่งที่ได้กลับ ไม่ใช่สิ่งที่เราคาดหวัง คือได้ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานจากโรงพยาบาลต่างๆ ที่เอาไปใช้ได้ เปิดหาในตำราไม่มี
๓. สิ่งที่คาดคนละแบบกับกิจกรรมที่จัด
๔. ทำสิ่งที่คลุมเครือให้ชัดเจนขึ้น บอกวัตถุประสงค์และรายละเอียดของแต่ละหน้าที่ให้ชัดเจน
๕. จะนำความรู้ที่ได้จากโรงพยาบาลต่างๆ ไปใช้ต่อ
นพ. ไพศาล พลโลก รพ.เรณูนคร
๑. คิดว่าไปอบรมเรื่องเบาหวาน ไม่ได้คิดอะไรมาก คิดว่าอบรมก็ดีจะได้มีความรู้เพิ่มขึ้น
๒. ได้หยุดงาน ๒ วัน ได้แลกประสบการณ์กับแต่ละโรงพยาบาล มีข้อดีหลายข้อ ข้อดีก็จะเก็บเอาไว้ ได้ความรู้เกี่ยวกับ Diabetes foot ที่อาจารย์ประกาศิตสอนไว้
๓. สิ่งที่ได้น้อยกว่าไม่มี
๔. ไม่มี
๕. อย่างน้อยจะเลียนแบบ รพ.อื่นบ้าง ปรับของเราให้ดีขึ้น
หมอจอย โรงพยาบาลนาหว้า
๑. คิดว่าจะได้มา shopping ความรู้จากอาจารย์หลายๆ คนท่าน จะมีแนวทางการดูแลผู้ป่วยใหม่ๆ
๒. เดิมทำงานในกรอบ เหมือนกบในกะลา มาตรงนี้เหมือนได้เปิดกะลา เห็นจุดดีของแต่ละโรงพยาบาล และได้รู้ว่าโรงพยาบาลของเราก็มีดีเหมือนกัน มากระตุ้นการทำงานของตนเอง
๓. งงๆ ว่าในแต่ละกิจกรรมต้องการอะไร ไม่ค่อยเคลียร์
๔. อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายแต่ละขั้นตอน เป็นไกด์ให้
๕. จะไปปรับระบบการบริการ และการดูแลคนไข้เบาหวานในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่
คุณมติกา สุนา โรงพยาบาลปลาปาก
๑. มาทบทวนกระบวนการ KM เพราะเคยไปเข้ามาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ยังไม่ได้ไปทำอะไรต่อ
๒. ได้เพื่อน
๓. อยากให้เปิดโอกาสให้แลกกับโรงพยาบาลมากกว่า ๑ แห่ง
๔. อยากให้มีกิจกรรมผ่อนคลาย
๕. จะเอาความรู้จาก รพ.หว้านใหญ่ เรื่องค่าย ไปใช้ต่อ
คุณเพ็ญศรี โปนานนท์ โรงพยาบาลหว้านใหญ่
๑. คาดหวังว่าจะได้องค์ความรู้ และวิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
๒. ได้วิธีการ และแนวทางประเมินเท้า
๓. รายละเอียดขององค์ความรู้
๔. รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนที่ยังไม่ชัดเจน
๕. กลับไปพัฒนา KM
ทีมจากโรงพยาบาลดงหลวง
๑. อยากที่จะรู้วิธีการรักษาแผลในคนไข้ DM ที่เท้าและกลับไปรักษาต่อให้หายได้
๒. ได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ มากกว่าการดูแลแผลที่เท้า
๓. ไม่มี
๔. ปรับปรุงเรื่องกลิ่นที่ใช้สเปร์ย์ในห้องน้ำ
๕. อยากจะให้ความรู้กับเพื่อนๆ ในหน่วยงาน และดูแลแผลคนไข้ให้หาย
ทีมจากโรงพยาบาลโพนสวรรค์
๑. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน เพราะเพิ่งทำงานทางด้านนี้
๒. ได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ
๓. ไม่มี
๔. ควรเพิ่มระยะเวลาในการจัดกิจกรรม
๕. ปรับปรุงความรู้ที่ได้รับให้เหมาะสมกับโรงพยาบาลของตนเอง
คุณนวลตา โพธิ์สว่าง โรงพยาบาลนครพนม
๑. ตลาดนัดจะมีอะไรให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้บ้าง แต่ KM ครั้งนี้ได้รับความรู้มากที่สุด
๒. ได้รับความรู้เรื่องการดูแลเท้า
๓. ไม่มี
๔. หนังสือเชิญประชุมที่ให้แพทย์ ๑ ท่าน พยาบาล ๒ ท่าน ต้องตีความว่าจะให้บุคคลใดเข้าร่วม จะอยู่ในผู้ป่วยใน OPD ฯลฯ ถ้าเป็นไปได้อยากให้สามารถส่งทีมสหวิชาชีพอื่นมาร่วมได้
๕. ศักยภาพของโรงพยาบาลใหญ่มีมากอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้จูนศักยภาพ ก็จะกลับไปทำด้านนี้ต่อ
คุณอัจฉรา โพชะโน โรงพยาบาลบ้านแพง
๑. คิดว่าเขาจะจัดกิจกรรมเป็นโต๊ะเหมือนเรามาซื้อของ แต่เป็นความรู้ ได้พบเพื่อนใหม่
๒. ได้รับความรู้ในเรื่องใหม่ๆ ได้แก่ การดูแลเท้า การตรวจเท้า ได้รับความรู้กิจกรรมของโรงพยาบาลต่างๆ
๓. ไม่มี
๔. นั่งเป็นตัว U แล้วรู้สึกปวดหลัง
๕. จะนำสิ่งที่ดีของแต่ละโรงพยาบาลไปปฏิบัติ
ทีมจากโรงพยาบาลนาแก
๑. น่าจะได้พบกับหลายโรงพยาบาล ได้แลกเปลี่ยนความรู้
๒. ตอนแรกคิดว่าเป็นบรรยาย แต่พอมาแล้วเป็นการจัดกิจกรรมกลุ่ม ก็เลยมีความรู้สึกว่าได้เพื่อนมากขึ้น มีสัมพันธภาพที่ดีมากขึ้น
๓. ไม่มี
๔. รูปแบบการประชุมแบบนี้กระตุ้นให้คนทำกิจกรรม รู้สึกตื่นเต้นตลอดเวลา
๕. จะเสนอหัวหน้า เพื่อปรับปรุงและพัฒนางาน พยายามทำให้คนอื่นอยากปรับปรุงเหมือนตนเอง
คุณสุมาริน โทหัด โรงพยาบาลนาทม
๑. เหมือนกับเพื่อนๆ คือได้ความรู้ที่จะนำไปปรับปรุงหน่วยงาน
๒. ได้รองเท้ากลับไปใช้ เพื่อจะได้ลดแรงกด และได้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้าไปสอนผู้ป่วย และทำคลินิกของเราเอง
๓. ไม่มี
๔. อยากให้มีตลาดนัดอย่างต่อเนื่อง จะได้นำความรู้มาแลกเปลี่ยนกันอีก
๕. กลับไปทบทวนว่าทำอะไรแล้ว อะไรต้องทำต่อ วางลำดับก่อนหลัง
คุณปัทมาวดี บุพศิริ โรงพยาบาลท่าอุเทน
๑. ไม่ทราบว่าตลาดนัดความรู้คืออะไร แต่รู้สึกประทับใจ
๒ ได้ความรู้เพิ่มเติม ได้ประสบการณ์การแลกเปลี่ยนความรู้จากโรงพยาบาลอื่น ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุนไพร เทคนิคการตรวจเท้า และได้รองเท้าไป ๑ คู่
๓. ไม่มี
๔. ต้องขอบคุณ เห็นว่าทุกอย่างดีหมดแล้ว
๕. ให้สุขศึกษากับผู้ป่วย จัดตั้งคลินิกเพื่อนช่วยเพื่อน ดูแลผู้ป่วยเบาหวานเข้าสู่ชุมชนมากขึ้น
คุณสมถวิล ศรีวังผล สอ.พระกลางทุ่ง โรงพยาบาลธาตุพนม
๑.จากไม่รู้อะไรเลย พอเข้ากระบวนการพอรู้บ้าง แต่ยังไม่รู้ซึ้ง
๒. การทำ Website
๓. ไม่มี
๔. ไม่มี
๕. นำกิจกรรมในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้กับคนป่วยที่ สอ. และไปถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงาน และ อสม.ด้วย ถ้ามีปัญหาก็คงจะปรึกษาที่โรงพยาบาล
สำหรับผู้สังเกตการณ์ หลายคนได้แสดงความคิดเห็น เช่น "ตอนแรกก็ไม่เข้าใจว่าตลาดนัดเป็นอย่างไร ก็คงจะหลากหลาย มีความรู้ใหม่ที่จะกลับไปทำงาน"
ทีมจาก รพ.คำชะอี จังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า "พอมาตอนแรกก็รู้สึกมึนๆ แต่คุณสุพัฒน์อธิบายให้ฟัง ก็พอจะเข้าใจ ความตั้งใจอยากจะขอคนเข้าร่วมเป็น ๖ คน สิ่งที่ควรปรับปรุง คือโอวัลตินหวานไปหน่อย จะกลับไปทำอะไรต่อคือจะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนา ก็ขอขอบคุณ และชื่นชมว่าทำได้ดีมาก"
ทีมจากโรงพยาบาลจิตเวช
๑. มาสังเกตกระบวนการเพื่อปรับปรุงใช้ในหน่วยงาน
๒. ได้ความรู้เรื่องเบาหวาน และ Monofilament ไปใช้
๓. ไม่มี
๔. ถ้าเป็นไปได้ อยากให้มีการจัดให้มีการโชว์ผลงานของแต่ละโรงพยาบาลด้วย จะได้แลกเปลี่ยนแบบเป็นรูปธรรม และขยายเวลาให้มีการแลกเปลี่ยนวิชาการเพิ่มขึ้นก็จะดี
๕. จะกลับไปทำ KM ในหน่วยงาน
เภสัชกร โรงพยาบาลจิตเวช
๑. ได้รับ assign มา เนื่องจาก KM เป็นนโยบายจากกรมสุขภาพจิตด้วย แต่มีเพียง 2-3 คนที่ไปเข้าร่วมที่กรุงเทพ ตนเองไม่ได้ไป
๒. ได้ครบกระบวนการที่มาสังเกต และได้ความรู้เกี่ยวกับ DM
๓. ไม่มี
๔. การ Run กลุ่มแรกๆ ไม่ค่อย smooth น่าจะมีการชี้แจงให้ชัดเจนว่าคนที่มีหน้าที่คุณอำนวย ต้องทำอย่างไรบ้าง กาแฟหวานไป
๕. นำกระบวนเหล่านี้กลับไปประยุกต์ใช้ที่โรงพยาบาลเพื่อทำ CoP
ภก.สิทธิพงษ์ อุติลา โรงพยาบาลเรณูนคร
๑. ได้กระบวนการที่จะนำไปประยุกต์พัฒนาในองค์กร
๒. ได้ความรู้เรื่อง DM foot
๓. ได้เรื่อง Update ความรู้เรื่องเบาหวานน้อย อาจเนื่องจากเน้นกระบวนการ
๔. น่าจะมีการเสริมงานวิชาการใหม่ๆ เกี่ยวกับ DM ไปอีก และควรมีการบอกวัตถุประสงค์ว่าแต่ละกิจกรรมมีความสำคัญอย่างไรบ้าง เพื่อที่ทางโรงพยาบาลจะได้เตรียมตัวมากกว่านี้
๕. กระตุ้นทีม และคุยกันในสหสาขาวิชาชีพเพื่อการพัฒนา
วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙
ไม่มีความเห็น