กลุ่มแบบบ้านๆ การบริหารจัดการแบบเอื้ออาทร


การบริหารจัดการกลุ่มที่ไม่ยึดติดตัวบุคคลทำให้ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และสอนให้ทุกคนทำหน้าที่ได้ทุกหน้าที่

หลังจากที่เปิดตัวบล็อกแล้วไม่ค่อยมีเวลาในการมาเล่าประสบการณ์นี่เป็นเรื่องแรกที่นำมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเรื่องของการบริหารจัดการกลุ่มพัฒนาอาชีพที่ กศน.ได้ส่งเสริมและพัฒนาในพื้นที่ตำบลไชยมนตรีคือกลุ่ม ปุ๋ยหมักบ้านน้ำพุหมู่ที่ 4 ตำบลไชยมนตรี อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

"กลุ่มปุ๋ยหมักบ้านน้ำพุ" แรกเริ่มได้รับการจัดการเรียนการสอนจาก กศน.อำเภอเมือง นครศรีธรรมราชโดยใช้วิธีการจัดแบบหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ในปงบประมาณ พศ.2544 ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนแบบโปรยหว่าน ไม่ได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จัดครบชั่วโมงแล้วถือว่าเสร็จโครงการ จนกระทั่งผู้ที่ได้นำปุ๋ยหมักจากการหมักในครั้งนั้นไปใช้แล้ว
ได้ผลและมีความต้องการที่จะใ้มีโครงการอบรมหลักสูตรนั้นอีก ผมในฐานะครูอาสาสมัครรับผิดชอบในพื้นที่ ได้ลงไปตรวจสอบข้อมูลและกลุ่มเป้าหมายที่ให้ความสนใจ แล้วจึงนัดทำเวทีเพื่อหาแนวทางในการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในขั้นตอนน้ีทำความหนักใจให้กับผมพอสมควรเพราะในครั้งแรกมีผู้สนใจที่จะเข้าร่วมโครงการน้ีประมาณ 43 คน แต่พอเอาเข้าจริงๆ เหลือ 7 คน สาเหตุหรือครับ... เพราะชาวบ้านคิดว่าเป็นโครงการที่จะต้องได้เงินหรือวัสดุฝึกเปล่าๆ แต่ถ้าให้ร่วมระดมทุนก็จะไม่เอา ใเวทีประชุมครั้งนั้นมีสมาชิกแค่ 7 คน ระดมทุนได้ 14,000.- บาท และตกลงกันว่าจะนำเงินส่วนน้ีไปสร้างโรงเรือน โดยซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างและสมาชิกทุกคนช่วยกันสร้าง วัสดุบางส่วนเช่นไม้ เสา ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากคนในชุมชน และจากสมาชิก โรงเรือก่อสร้างเสร็จ เงินหมด ซึ่งขณะนั้นอยู่ในระหว่างปีงบประมาณ 2545 ซึ่ง กศน. เมืองนครศรีธรรมราชได้ดำเนินการจัดกิจกรรมกลุ่มพัฒนาอาชีพในลักษณะของการจัดโครงงานอาชีพ ซึ่งมีเงินสนับสนุนให้กับกลุ่ม จำนวน 6,000.- บาท กลุ่มใช้ในการจัดซื้อวัสดุในการผลิตปุ๋ยหมัก ในการผลิตครั้งแรกกลุ่มผลิตได้ 8 ตัน ซึ่งนับว่าไม่น้อย ปุ๋ยหมักที่ได้สมาชิกได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 สมาชิกแบ่งกันนำไปใช้ ส่วนที่ 2 แจกให้กับเพื่อนบ้านไปทดลองใช้ ปุ๋ยหมัก 8 ตัน หมดในเวลา 2 วันหลังจากบรรจุกระสอบ แต่วัสดุในการผลิตปุ๋ยครั้งต่อไปบางอย่างหมด ต้องหาซื้อใหม่ สมาชิกได้ระดมทุนอีกครั้งได้เงินมา 4,200.- บาทนำไปซื้อวัสดุที่ขาด และได้ผลิตปุ๋ยรอบที่ 2 ซึ่งไ้ปุ๋ยหมักประมาณ 8 ตัน สมาชิกได้เห็นปัญหาในเรื่องของทุนในการผลิตจึงได้ประชุมหารือแนวทางในการบริหารกลุ่มและการดำเนินการของกลุ่มโดยมีมติให้ปุ๋ยหมักทุกรอบที่ผลิตได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งแบ่งให่สมาชิกนำไปใช้โดยไม่คิดราคา ส่วนที่ 2 ขายให้กับสมาชิกที่ต้องการปุ๋ยเพิ่มและประชาชนที่ต้องการ ปรากฎว่าปุ๋ยรอบที่ 2 หมดภายในไม่ถึง สัปดาห์ และกลุ่มมีเงินสำรองจากการขายปุ๋ยครั้งนั้น 8,000.- กว่าบาท เมื่อมีเงินก็มีปัญหา จะต้องหาคนรับผิดชอบ กลุ่มได้ประชุมคัดเลือกสมาชิกเพื่อทำหน้าที่ในเรื่องการเงินของกลุ่ม และจะเลือกคณะผู้บริหารกลุ่ม แต่มติที่ประชุมกลับเป็นว่า ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อความโปร่งใส ทุคนต้องช่วยกันทำบัญชี ทุกคนต้องช่วยกันขาย ทุกคนต้องช่วยกันบริหาร เพราะกลุ่มเกิดขึ้นมาจากคนทุกคน และในครั้งนั้น กลุ่มก็มีสมาชิกเพิ่มเป็น 20 คน กลุ่มได้กำหนดระเบียบของกลุ่ม โดยให้สมาชิกทุกคนร่วมกันทำกิจกรรมของกลุ่มทุกครั้ง สมาชิกทุกคนมีความช่วยเหลือเกื้อกูล รู้จักเสียสละแบ่งปัน ทุกคนทำหน้าที่ทุกหน้าที่
อย่างมีความสุขไม่ยึดติดในตำแหน่ง
ทุกคนเสมอเหมือนกันหมด

จากบทเรียนน้ีเป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่บอกได้ว่า การดำเนินกิจกรรมให้บรรลุประสบผลสำเร็จ
ไม่จำเป็นต้องอาศัยวิธีการที่เป็นระเบียบแบบแผน วิธีการคิด การทำแบบบ้านๆก็สามารถ
นำไปสู่ความสำเร็จได้


คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28750เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2006 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
     "การทำแบบบ้าน ๆ ก็สามารถ นำไปสู่ความสำเร็จได้" อยากให้เชื่อมั่นกันเยอะ ๆ ครับโดยเฉพาะจากภาคส่วนที่เป็นคนนอก "ชาวบ้านเขามีปัญญาของเขาเอง หากเขาได้รับโอกาส ไม่ถูกครอบงำ" ผมคนหนึ่งเชื่อมานานแล้วครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท