เสียงสะท้อน มองย้อนเพื่อสร้างสรรค์


Reflection เสียงสะท้อน

 กระบวนการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา เริ่มตั้งแต่ การประเมินตนเองที่เรียกว่า SAR หรือ Self Assessment Report คือ กระบวนการที่เจ้าตัว หรือ เจ้าของกิจกรรม

 ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ

 โดยได้มีโอกาส ทบทวน เรียนรู้ ตนเอง ว่า ภาระกิจที่ได้รับมอบหมาย จาก สถาบันไปไปตาม ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมทั้งยุทธศาสตร์ของการพัฒนาระยะยาว ระยะสั้น

 เป็นไปตามที่ได้มีการกำหนดไว้ร่วมกัน โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมกันวางแนวทางปฏิบัติ เป้าหมาย กำหนดตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด การสนับสนุนปัจจัยแห่งความสำเร็จ และ การดำเนินการที่ต้องมีการรายงานผลสัมฤทธิ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ปัจจัยและผลแห่งความสำเร็จ เพื่อนำมาเรียนรู้ต่อไป เรียกว่า กิจกรรมพื้นฐาน เริ่มมาจาก "เจ้าของ หรือ องค์กู" ก่อน

จากนั้นทีมงานในหน่วยย่อย จึงมารวบรวม เรียนรู้ เกิดเป็น กิจกรรมภาพรวมของ องค์กร คือ สำนักวิชา คณะ หน่วยงาน หรือ หลักสูตร

ขั้นตอนต่อไป จึงมารวมรวมวิเคราะห์สังเคราะห์ในภาพ "องค์การ หรือ สถาบัน"

 ชึ่งต้องเป็นการสะท้อนเจ้าของก่อน ที่จะให้ กัลยาณมิตร ภายนอก มาร่วม สะท้อน เพื่อการพัฒนา

 เมื่อวานเราได้รับฟังเสียงสะท้อนจาก ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด คือ ท่าน รองฯชาญวิทย์ วสยางกูร และ ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ อาจารารย์หมอแหยง หรือ นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก

 ได้มุมมองหลายแนวที่จะนำมายืนยันถึง พันธกิจ ทิศทาง รวมทั้งแนวทางการทำงานเพื่อพัฒนาในอนาคต ที่ฉายภาพ "เพื่อการพัฒนา ประเทศชาติ และ สถาบัน" ที่น่าสนใจครับ

JJ2009ฅนธรรมดา

หมายเลขบันทึก: 287059เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สะท้อนได้หลายมุมมองเลยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

เรียน ท่านชาดา ขอบพระคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท