วิจัยพบ 8 บุคลิกภาพของคนมีความสุข


 

...

 [ BBC ]

บทสรุปเคล็ดลับ (tips) เพื่อความสุขวัยสูงอายุได้แก่

  • มองโลกในแง่ดี (envisage = คาดการณ์) ว่า คนเราสามารถมีสุขภาพดี และมีความสุขได้ในวัย 100 ปี (ต้องใส่ใจสุขภาพล่วงหน้า ออมทรัพย์ไว้ด้วย)
  • ทำอะไรดีๆ เป็นกิจวัตรประจำวัน (routine) เช่น นอนให้พอ ออกกำลัง กินอาหารสุขภาพ ฝึกชมคนรอบด้านวันละครั้ง เพื่อเสริมการมองโลกในแง่ดี ฯลฯ
  • อย่า "เข้าสังคม" หรือติดต่อกับเพื่อนฝูงทั้งวันทั้งคืน ให้ลงทุน "เวลา" หรือแบ่งให้เวลากับครอบครัว และงานอาชีพด้วยเสมอ 

...

ผลการศึกษาพบว่า คนเกือบทั้งหมดมีความสุขมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น [ BBC ]

ศ.ดร.ลอรา คาร์สเทนเซน ผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ ทำการศึกษาเรื่องความสุขของคนในวัยต่างๆ ตั้งแต่ 18-95 ปี

...

ผลการศึกษาพบว่า ช่วงสูงอายุกลับเป็นช่วงที่คนเรามีความสุขมากที่สุด ทั้งที่คนสูงอายุมีเรื่องให้วิตกกังวลมากมาย ทั้งด้านสุขภาพ รายได้ และฐานะทางสังคมที่แย่กว่าวัยอื่นๆ

ต้นฉบับตอนหนึ่งคือ 'They found older adults generally make the best of the time they have left and have learned to avoid situations that make them feel sad or stressed.'  [ BBC ]

  • avoid = หลีกเลี่ยง
  • situation = สถานการณ์ (เติม 's' = หลายอย่าง)
  • feel = รู้สึก
  • sad = เสียใจ
  • stressed = ถูกกดดัน ถูกทำให้เครียด

...

แปลว่า "พวกเขา(นักวิจัย)พบว่า ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากขึ้นมักจะมีช่วงชีวิตที่ดีที่สุด (ความสุข) เมื่อพวกเขา (พวกเธอ) ผ่านวิกฤตชีวิต และเรียนรู้ที่จะลืม (ทำใจ) และหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกเศร้า หรือเครียด"

การศึกษานี้พบว่า ลักษณะสำคัญของคนที่มีความสุขได้แก่

  • (1). พกยา "ทำใจ" > "รู้จักลืม ปล่อยวาง หรือให้อภัย" กับเรื่องร้ายๆ ที่ผ่านมา กล้าที่จะให้อภัยคนอื่น และกล้าให้อภัยตัวเอง เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่บ่อยๆ
  • (2).  ช่างสังเกต > หมั่น "เอาใจเขามาใส่ใจเรา"
  • (3). "หลีกเลี่ยงดีกว่าต้านทาน" > ไม่หาเรื่องที่ทำให้คนรอบข้างหงุดหงิด หรือไม่สบายใจ ซึ่งจะส่งผลสะท้อนเป็นความสุขกลับมาหาตัวคนที่หลีกเลี่ยงไม่เร็วก็ช้า
  • (4). ฝึกทำใจให้หนักแน่นดังขุนเขา > ไม่ยอมให้คำปาก (นินทาว่าร้าย) ของพวกคนใจร้ายมาครอบงำชีวิต และก้าวไปบนหนทางที่เรามั่นใจว่า ดีด้วย ไม่เบียดเบียนทั้งตัวเราและสังคมด้วย

...

  • (5). ใส่ใจสุขภาพเป็นประจำ (routine = ทำเป็นกิจวัตร ประจำวัน) > คนที่ใส่ใจสุขภาพมีความสุขมากกว่าคนที่ทอดทิ้งตัวเอง
  • (6). ลงทุนทางสังคม > ให้เวลา ใช้ชีวิตนอกบ้านกับครอบครัวและสังคมพอประมาณ
  • (7). เตือนตัวเองเสมอว่า ชีวิตนี้แสนสั้น > ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันขณะ และแสวงหาความสุขที่ได้มาโดยธรรม (ไม่เบียดเบียนทั้งตัวเราและสังคม) พอประมาณ
  • (8). รีบทำอะไรดีๆ สะสมไว้ตั้งแต่วันนี้ > คนที่จะมีความสุขได้ในระยะยาว คือ คนที่ "มีดี" ออกมาจากภายใน เพราะการทำอะไรดีๆ จะมีความสุขทั้งในช่วงที่กำลังทำ และเมื่อหวนระลึกถึงการทำดีนั้นๆ ก็ทำให้มีความสุข "ซ้ำ" ได้อีกหลายครั้ง

...

ผู้เชี่ยวชาญแนะว่า คนเรามีความสุขตั้งแต่อายุน้อยได้ ถ้านำเคล็ดไม่ลับนี้ไปใช้ คือ หัดทำใจ (ลืม ปล่อยวาง หรือให้อภัย) กับเรื่องร้ายๆ ที่ผ่านมา และ "หลีกเลี่ยงดีกว่าต้านทาน" แบบคำแนะนำของอาจารย์ในหนังกังฟู

การที่คนอายุมากขึ้นรู้จักใช้ยา "ทำใจ" ทำให้มีภูมิต้านทานต่อความรู้สึกด้านร้ายมากกว่า ทนทานและฮึดสู้ต่อการนินทาว่าร้าย หรือคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ดีขึ้น

...

วิธีคิดที่คนมีความสุขใช้กันคือ ชีวิตคนเรานี้แสนสั้น และสั้นลงไปเรื่อยๆ จึงควรอยู่กับปัจจุบัน และทำวันนี้ให้ดีที่สุด พร้อมกับใช้วิธีแบบจอมยุทธเสริมเข้าไป นั่นคือ "หลีกเลี่ยง (สถานการณ์เครียดๆ) ดีกว่าต้านทาน"

การศึกษานี้พบว่า คนที่มีความสุขมากกว่า มีแนวโน้มจะเป็นคน "ช่างสังเกต" ทำให้รู้ว่า สถานการณ์ใดทำให้คนรอบข้างไม่มีความสุข และพยายามหลีกเลี่ยง ซึ่งผลกลับกลายเป็นการทำให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้น

...

เทคนิคนี้ตรงกับสำนวนไทยว่า "เอาใจเขามาใส่ใจเรา"

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                            

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'People 'get happier as they age'' [ BBC ]

แปลว่า "คนเรา (people = คน ประชาชน พลเมือง) มีความสุขมากขึ้น (happy = มีความสุข; happier = มีความสุขมากกว่า; happiest = มีความสุขมากที่สุด) เมื่อพวกเขา (พวกเธอ) มีอายุมากขึ้น (age = มีอายุมากขึ้น; ageing = กำลังมีอายุมากขึ้น)

 > Thank BBC

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 8 สิงหาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 285225เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

"หลีกเลี่ยง (สถานการณ์เครียดๆ) ดีกว่าต้านทาน" เห็นด้วยครับ

ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ

เป็นอีกแง่คิดที่อยากให้นำไปปฏิบัติกันครับ

ขอขอบคุณพวกเราทุกๆ ท่าน ทุกๆ ความเห็นครับ...

ขอสมัครเป็นผู้ติดตามอ่านด้วยคน ค่ะอาจารย์ ฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยนะคะ อ่านบทความของอาจารย์ทุกครั้งได้ทั้งประโยชน์และความสุขทุกทีเลย

11111...ขอบคุณ บทความดีๆ สาระดีๆ กำลังหัดทำใจ มาหลายเดือนแล้ว ทำได้มั่งไม่ได้มั่ง ไปตามเรื่อง และพยายามอยู่กับปัจจุบัน แต่จิตนี่หวอกแวก น่าดูเลย มันไม่ค่อย อยู่นิ่งเลยเหมือนลิงจับหลัก

22222...แต่วันนี้ กลับมีความคิดตามที่ท่านอาจารย์หมอว่าจริงๆด้วย โอ! ชีวิตเรานี้สั้นนัก และสั้นลงเรื่อยๆ

33333...เริ่มทำวันนี้ให้ดีที่สุด ปกติก็ทำความดีกับแม่ทุกวันอยู่แล้ว แต่นี้ไปจะทำให้ดีที่สุดทุกวัน ก่อนที่จะไม่มีแม่ให้ทำดี (แม่แก่มากแล้ว 76 ขวบแล้ว)

ข้อคิดดีมากเลยค่ะ

เมื่อวานได้ไปฟังแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

ได้คำมาเตือนใจหนึ่งประโยค ..ท่านบอกว่า ..

" ให้ใจกระทบได้ แต่อย่ากระเทือน "

..ขอบคุณข้อคิดจากคุณหมอด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท