จากงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ LO พบว่า IT เป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ ที่สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน เรียนรู้เป็นทีม มีแบบแผนความคิด ทำให้เป็นบุคลากรชั้นเลิศที่มีการคิดเป็นระบบ กระบวนการขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้องมาจากผู้นำที่แสดงวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าจะพาองค์กรสู่การเรียนรู้ จากนั้นก็จัดสัมมนา อบรม workshop เพื่อสร้างความตระหนัก และส่วนสำคัญก็ต้องสร้าง Motivation ให้กับคนในองค์กรเพื่อเป็นแรงจูงใจในการที่จะนำพาองค์กรสู่การเรียนรู้ร่วมกัน เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎี 4L's คือ Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้Learning *Environmentสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้Learning *Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้*Learning Communitiesสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ หากใช้ทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ก็จะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน ดังเช่นที่ PEA ประสบความสำเร็จมาแล้ว ซึ่งมีการดำเนินการจัดบรรยายวิชาการ โดยเชิญผู้รู้เช่น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แล้วให้ CD กลับไปทบทวนต่อ ใช้โปรแกรม Edosoft มาลงใน e- learning ให้พนักงานได้เรียนภาษาอังกฤษ ในเวลา วันละ 1 ชั่วโมง มีความคิดสร้างสรรค์สู่วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เน้นบริหารจัดการการเรียนรู้เป็นเครือข่าย ให้มีการเรียนรู้และแบ่งปัน ส่วนตัวบ่งชี้ความสำเร็จของ LO คือ
1. ผู้บริหารสูงสุดประกาศนโยบายในการที่จะนำพาทุคนในองค์กรสู่ LO
2. ทรัพยากรในองค์กร เครื่องมือต่าง ๆ ต้องพร้อม
3. พนักงานมีจิตใจใฝ่รู้ ในการสร้างนวัตกรรม
4. ต้องมีเวทีการนำเสนอผลงานที่น่าภูมิใจ เช่น บทความหรือ งานวิจัย
โดยสรุป การจะทำให้องค์กรสำเร็จได้ต้องมีความต่อเนื่อง CEO ต้องมุ่งมั่น พนักงานให้
ความร่วมมือ มีวิธีขับเคลื่อนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และมีการประเมินผลด้วยการทำวิจัย
Peter Sange's
1. การคิดที่เป็นระบบ (system thinking) คือ สร้างกรอบความคิดซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้และกระบวนการคิด ศึกษาเหตุผลและการค้นหาคำตอบอย่างมีวิจารณญาณ
2. ความสามารถของบุคคล (personal mastery) คือ ความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น อยากทดลองทำสิ่งใหม่ สร้างวิสัยทัศน์แห่งตน ตระหนักรู้ว่าตนเองอยู่ห่างจากเป้าหมายของตนมากน้อยเพียงไรเพื่อเป็นแรงผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายนั้น ใฝ่ใจที่จะพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศ
3. กรอบความคิดภายใน(mental models)คือการรับรู้สิ่งต่าง ๆ หรือประสบการณ์ทั้งปวงที่เป็นรากฐานฝังลึกในตัวบุคคล มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง เนื่องมาจากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และวิสัยทัศน์ ไม่ยึดติดกับความเชื่อเก่าที่ล้าสมัย เพียรพัฒนารูปแบบความคิดความเชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับความแปรเปลี่ยนไปของโลก เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์การ
4. การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (building share vision) คือ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด และโลกทัศน์ของบุคคลในองค์การ เพื่อนำไปสู่การเป็นวิสัยทัศน์หลักร่วมกันขององค์การ โดยทุกคนในองค์การควรมีส่วนร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์นี้ ช่วยกันสร้างภาพอนาคตของหน่วยงานที่ทุกคนจะทุมเท ผนึกแรงกาย แรงใจ ทำให้บรรลุเป้าหมายองค์การ
5. การเรียนรู้ทีม (team learning) คือ การเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันเป็นทีมบุคคลในองค์การ อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ของบุคคลในทีมซึ่งทำให้บุคคลมีความรู้เพิ่มขึ้น พัฒนาภูมิปัญญาและศักยภาพของทีมงานโดยรวม มีการนำเอาความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญของแต่ละบุคคลมาผสมผสานเสริมกัน เพื่อให้งานที่ทำร่วมกันบรรลุผลสูงสุดตามเป้าหมาย
4L's ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
ทฤษฏี 4 L's
L ที่ 1 คือ Learning Methodology วิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น workshop การทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia
L ที่ 2 คือ Learning Environment การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน โดยจะจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก สนใจ และมีส่วนร่วม บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติ ผ่อนคลายจากความเครียด มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ตในการรับ - ส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coaching, Facilitator, และ Mentoring บรรยากาศของการหาความรู้ที่ดีนั้นจะทำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องเน้นมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark)
L ที่ 3 คือ Learning Opportunity การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ เพื่อพบปะแลก เปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน
L ที่ 4 คือ Learning Communities การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์สื่อสารกัน วิธีการเรียน เน้นการเรียนเป็นทีม การทำ Workshop การทำการบ้าน (Assignment) และการร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง