องค์ความรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง


จริยธรรมผู้นำ

จริยธรรมผู้นำ

 

วารสารตรวจบัญชีสหกรณ์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 32 ประจำเดือน สิงหาคม 2550 หน้า 12

          จริยธรรมผู้นำ

ท่ามกลางการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในสังคมทุกวันนี้ องค์กรต่าง ๆ มุ่งสร้างผลงาน ผลประกอบการให้ได้

มากที่สุด เพื่อการเติบโตหรือความอยู่รอดหลายครั้งที่ผู้นำองค์กรต้องเผชิญ คือความกดดัน ซึ่งเป็นความ

ขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของตนหรือขององค์กรที่ต้องการกับความถูกต้องที่ควรเป็น ซึ่งถือเป็นสิ่งที่

สังคมรับรู้และต้องการ ภาวะดังกล่าวเรียกว่า "Ethical dilemma" ซึ่งเป็นภาวะกดดันที่ผู้นำต้องตัดสินใจ

เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างผลประโยชน์หรือคุณธรรม ซึ่งไม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน สำหรับผู้นำที่

ไม่มีคุณธรรมย่อมเลือกผลประโยชน์ที่ตนพึงได้ก่อนแน่นอนแล้วกลบเกลื่อนพลางตาสังคมในเรื่องความ

ไม่ถูกต้องให้ผ่านพ้นไปอย่างแนบเนียนหรือบางครั้งก็แถไปน้ำขุ่น ๆ ดังจะเห็นได้บ่อยครั้งในสังคมที่ผู้ด้อย

โอกาสถูกเอาเปรียบโดยรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง

จริยธรรม ( Ethical behavior) คืออะไร

จริย - หมายถึง การประพฤติปฏิบัติ ธรรม - หมายถึง คุณความดีความถูกต้อง ดีงาม ดังนั้นจริยธรรมจึง

หมายถึง การประพฤติปฏิบัติที่เป็นคุณงามความดี ความถูกต้องบนพื้นฐานของคุณธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับ

และต้องการของสังคม ปัญหาทางจริยธรรมแบ่งได้ 2 ระดับ คือ

1. ระดับองค์กร หมายถึง นโยบายที่ออกโดยกลุ่มบุคคลระดับสูงขององค์กร โดยถือเป็นเป้าหมายปฏิบัติ

2. ระดับบุคคล โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจในการดำเนินการ ซึ่งอัตลักษณ์(Attribute)

ของเขามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใด ๆ ที่ส่งผลในด้านจริยธรรม

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของคน

1. ปัจจัยภายใน(Intrinsic factor) ได้แก่ อารมณ์ แรงปรารถนาและความต้องการ(Need) และความรู้สึก

ผิดชอบชั่วดี(Moral)

2. ปัจจัยภายนอก(Extrinsic factor) ได้แก่ โอกาส (Oportunity) และระบบการควบคุมของสังคม(Law)

          สำนึกของความดีและอิทธิพลของสังคม มีบทบาทในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคน ก่อให้เกิดการ

กระทำที่ดีและรับผิดชอบต่อผู้อื่น (Ethical behavior) หากแต่ผู้ที่มีคุณธรรมนำการกระทำจะทำให้เกิด

จริยปฏิบัติได้ แต่มักจะไม่ยั่งยืน เมื่อมีโอกาสก็จะกลับไปทำผิดซ้ำอีก

มุมมองของจริยปฏิบัติ(Ethical behavior)

1. ในมุมมองที่ถือเอาประโยชน์เป็นสำคัญ จริยปฏิบัติส่งผลที่ดีมากต่อผู้คนจำนวนมาก

2. ในมุมมองของปัจเจกบุคคล จริยปฏิบัติจะให้ผลประโยชน์ระยะยาวแก่ผู้ปฏิบัติ

3. ในมุมมองด้านคุณธรรม จริยปฏิบัติเป็นการเคารพสิทธิพื้นฐานของมนุษย์

4. ในมุมมองของความยุติธรรม จริยปฏิบัติจะเป็นกลาง ชอบธรรม เสมอภาคต่อผู้คน

สรุปการที่จะเป็นคนที่มีจริยธรรมนั้นไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกระดับชั้นทุกคนในสังคมถ้าล้วนเป็นคนดีมี

จริยธรรม สังคมจะเป็นสังคมที่ดีมีผลต่อความเจริญของประเทศชาติบ้านเมืองค่ะ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #จริยธรรมผู้นำ
หมายเลขบันทึก: 283720เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2009 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ถูกต้อง......จริยธรรม ผู้นำพึงมีเป็นอาวุธประจำกาย

ความดีงามควรสร้างสมไว้เพื่อสังคมโลกจะได้ดีกว่านี้

ถ้าหากคนไทยมีคุณธรรม จริยธรรมสูง บ้านเมืองคงไม่วุ่นวาย

โอกาสเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่เอื้อมไม่ถึง

บ้านเมืองมีแต่คนเก่ง แต่..ขาดคนดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท