อยู่กินอย่างไรไม่ให้เดือดร้อน


อยู่กินอย่างไรไม่ให้เดือดร้อน

อยู่กินอย่างไรไม่ให้เดือดร้อน

 ที่มา หนังสือรู้จักใช้เข้าใจเงิน จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด

       (มหาชน)

 

          การจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ตนเองต้องการเป็นเรื่องสนุกหลายคนมีสติในเรื่องการใช้จ่าย แต่

หลายคนก็ขาดสติ ใช้จ่ายจนเกิดความเดือดร้อนในเรื่องเงินทองซึ่งมีผลกระทบไปถึงการดำเนินชีวิตด้วย

          บ่อยครั้งคนที่เริ่มเดือดร้อนเรื่องเงินยังไม่ตระหนักถึงสถานะของตนเองเพราะไม่มีไฟแดงกะพริบ

เตือนเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากำลังใช้จ่ายเกินตัว กินอยู่เกินฐานะ และชีวิตในอนาคตกำลังใช้จ่ายเกินตัว

กินอยู่เกินฐานะและชีวิตในอนาคตกำลังจะลำบาก สิ่งที่อาจจะเป็นตัวแทนของไฟแดงกะพริบได้แก่

1. รายได้ส่วนหนึ่งถูกใช้ชำระหนี้เพิ่มมากขึ้นทุกที

2. จ่ายเงินชำระหนี้บัตรเครดิตจำนวนเงินต่ำสุดเท่าที่เจ้าหนี้จะยอม

3. ใช้เงินเต็มวงเงินกู้ของบัตรเครดิต

4. ต้องเอาเงินส่วนที่ตั้งใจไว้ทำอย่างอื่นมาชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงิน

5. ใช้บัตรเครดิตชำระเงินสำหรับหลาย ๆ สิ่งที่แต่เดิมใช้เงินสด

6. ชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงินเกินกำหนดเวลาอยู่เนือง ๆ

7. ผัดผ่อนไม่ไปหาหมอหรือหมอฟันเพราะเงินตึงมือ

8. ถูกเตือนให้จัดการกับบิลค้างชำระอยู่บ่อย

9. ทำงานล่วงเวลาหรือหาเงินพิเศษตัวเป็นเกลียวเพื่อหาเงินสดมาชำระบิลที่ส่งมาเรียกเก็บ

10. หากต้องออกจากงานที่ทำอยู่ก็จะเกิดปัญหาการเงินขึ้นมาทันที

11. นึกกังวลถึงเรื่องเงินอยู่เสมอ

          สัญญาณข้างต้นไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่างก็แสดงว่ากำลังอยู่กินอย่างเดือดร้อนแล้ว สาเหตุ

ก็มาจากความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย หนทางแก้ไขอย่างแรกก็คือ ต้องหารายได้ให้พอกับ

รายจ่ายที่กำลังเกิดขึ้น หรือพูดอีกอย่างว่ายกฐานะการเงินขึ้นมาให้ทัดเทียมกับระดับการอยู่กิน หนทางที่

สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ หรือลดการอยู่กินลงมาให้พอดีหรือต่ำกว่าฐานะ หรือทั้งสองหน

ทาง

           การแก้ไขวิธีแรกนั้นยากมาก และจะไม่มีวันจบสิ้นได้เลยเพราะเคยชินกับการใช้จ่ายสูงจนเสมือน

กับไล่จับเงาตัวเองหามาได้เท่าไหร่ก็ไม่มีวันเพียงพอ การใช้ทั้งสองวิธีหรือใช้วิธีที่สองคือลดรายจ่าย

ลงให้พอดีกับรายได้มีเหตุมีผลมากกว่าเพราะถึงแม้จะเจ็บปวดแต่ก็ทำได้ง่ายกว่าการหารายได้ให้เพียงพอ

กับรายจ่ายและที่สำคัญที่สุดก็คือ เกิดเป็นมรรคเป็นผลในระยะยาว

          อย่างไรก็ดีในการหาทางแก้ไขจะต้องเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการอยู่กินอย่างเดือดร้อน

ของคนไฟแดงกะพริบเหล่านี้หากมองในภาพรวมก็จะเห็นว่าปัญหาเริ่มจากความต้องการของมนุษย์ไม่มี

วันพอ เป็นสาเหตุแรก กล่าวคือ ความต้องการมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังที่มาสโลว์(Abramham Maslow)

กล่าวไว้โดยเริ่มต้นจากต้องการบำบัดความหิว ต้องการอยู่รอดอย่างมั่นคงปลอดภัย ต้องการความรัก

และมีพรรคพวก ต้องการความสำเร็จและได้รับการชื่นชมยอมรับ ต้องการมีความรู้และความเข้าใจ ต้องการ

ความงามและความเป็นระเบียบ สุดท้ายต้องการบรรลุศักยภาพของตนเอง ดังนั้นโดยพื้นฐาน มนุษย์ต้อง

การบริโภคมากอยู่แล้ว ซึ่งย่อทำให้ใช้จ่ายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

          สาเหตุที่ 2 คือ ความเข้าใจโลกที่ไม่เหมาะสม หลายคนมักทักทักว่าการดำเนินชีวิตของผู้คน

และครอบครัวดังที่ปรากฎในสื่อ เช่น โทรทัศน์ คือวิถีการดำเนินชีวิตจริงของคนทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ

การบริโภค การใช้ชีวิต และค่านิยม ดังนั้นเมื่อผู้เสพสื่อเหล่านี้ต้องการเป็นเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ จึงจำเป็น

ต้องบริโภคในลักษณะนั้น ๆ เพื่อให้ได้ใช้ชีวิตและค่านิยมแบบเดียวกัน การเลียนแบบเหล่านี้ย่อมเกิด

ค่าใช้จ่ายขึ้นมากมายอีกเช่นกัน

          สาเหตุที่ 3 คืออิทธิพลของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันโทรทัศน์เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลอย่างมาก มี

หลายครั้งที่ผู้โฆษณาสินค้าพยายามบอกผู้ชมว่า ถ้าใช้สินค้านั้นหรือไปในสถานที่นั้น ทำอย่างนั้นแล้วจะ

เป็น "คนมีระดับ" จะทำให้เป็นคนที่สังคมยอมรับและ "คนปกติ" เขาก็ปฏิบัติเช่นกัน การสื่อเช่นนี้ทำให้ผู้คน

คล้อยตามได้โดยง่าย เช่น วัยรุ่นพากันเลียนแบบบริโภคสินค้าและบริการชนิดนั้น ๆเพื่อให้ได้รับการยอมรับ

จากกลุ่มคนที่เขาถือว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกัน

          ทั้งสามสาเหตุนำไปสู่การใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นการขาดความสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายจึงเป็น

สาเหตุที่ทำให้คนจำนวนมากอยู่ในสภาวะอยู่กินอย่างเดือดร้อน

          กลุ่มคนเหล่านี้จะหลุดพ้นจากการอยู่กินอย่างเดือดร้อนได้ก็ดัวยหลัก 4 ประการ ดังต่อไปนี้

1. ต้องมองโลกในแง่ใหม่ว่าเงินเป็นได้ทั้งมิตรและศัตรู การมีหนี้สินที่ไม่นำไปสู่อนาคตที่ดีขึ้นเท่ากับ

เปิดช่องให้เงินศัตรู โดยทำร้ายตนเองตลอดเวลาด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นจึงต้องพยายามแก้ไขให้เงิน

เป็นมิตรด้วยการมีเงินออมแทน

2. อยู่กินต่ำกว่าฐานะ

3. ทำให้เงินทำงานรับใช้ โดยเริ่มจากการมีเงินออม

4. ควบคุมความต้องการของตนเองโดยยึด"แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง" นั่นคือดำรงตนอย่างมีสติ

ไม่ใช่เงินอย่างประมาท รู้จักความพอดี ความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีวุฒิภาวะควบคุมความ

ต้องการของตนเองให้ได้

          การอยู่กินอย่างเดือดร้อนคือการอยู่กินอย่างขาดความหวังว่าชีวิตในอนาคตจะมีความมั่นคง

ทางการเงิน เป็นการดำรงชีวิตอย่างทุกข์ใจ ต้องนึกถึงแต่เรื่องเงินอยู่ตลอดเวลาจนชีวิตเปราะบาง

เอื้อต่อการกระทำที่ผิดจริยธรรม

ข่าวสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติจำกัด ฉบับที่ 4 ประจำเดือนพฤษภาคม- มิถุนายน 2552

หมายเลขบันทึก: 283028เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ลองอ่านดูแล้วจะรู้ว่าประโยชน์อนันต์

เอ่อ ! รุ่นพี่ปูคะมั่นใจนะว่า "อยู่กิน" ไม่ใช่ "กินอยู่" หรือคะ

ตอนพิมพ์ก็สงสัยเหมือนกันเป็นศัพท์ใหม่มั๊งคะอาจารย์ปูนำมาจาก

วารสารของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติ ค่ะ

จริงด้วย แต่ถึงอย่างไร หนูปูก็เป็นนักพัฒนานะ

ขอบคุณค่ะพีรัชดาวัลย์น้อมรับด้วยความยินดี

และพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท