แนวทางการบริหาร HRD เชิงกลยุทธ์


จะวัดผลงานของ HRD ได้อย่างไร

แนวทางการบริหาร HRD เชิงกลยุทธ

ในอดีตเรานิยมเรียกหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาบุคลากรว่า “Training” หรือหน่วยงานฝึกอบรม แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น “HRD” (Human Resource Development)  และเปลี่ยนบทบาทจากการฝึกอบรมเพียงอย่างเดียวไปสู่บทบาทในการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร ขยายออกไปสู่การพัฒนาคนมากกว่าเรื่องของที่ทำงาน (Personal Development) อีกทั้งยังมีการพัฒนาการศึกษาของบุคลากร (Education) รวมถึงการแสวงหาแนวทาง เครื่องไม้เครื่องมือในการพัฒนาคน (Research & Development) มากยิ่งขึ้น 

แนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ HRD คือต้องศึกษากลยุทธ์ขององค์กร (HRD Strategy)  ในอนาคตว่ามีอะไรบ้าง  แล้ว HRD จะมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องตรงไหนบ้าง  เมื่อได้ที่มาของกลยุทธ์แล้วจึงกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของแผนกลยุทธ์ ซึ่งถ้าสามารถเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ขององค์กรได้แล้ว  แผนกลยุทธ์ก็มีโอกาสที่จะสำเร็จได้ และสิ่งสำคัญอีกหนึ่งสิ่งคือการวิเคราะห์ผลที่คาดหวังหรือวัตถุประสงค์ของแผนงาน/โครงการพัฒนาและฝึกอบรมว่าคืออะไร แล้วจะวัดผลงานที่คาดหวังไว้ได้อย่างไร สำหรับการวัดผลงานของ HRD ควรจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้

ระดับที่ 1 : ประสิทธิภาพของงาน HRD (HRD Efficiency)  หมายถึง การวัดว่าการบริหารงานของ HRD มีประสิทธิภาพหรือไม่ เช่น จัดอบรมได้ตามแผนหรือไม่ บริหารงานให้อยู่ในงบประมาณหรือไม่ ผู้เข้ารับการอบรมพึงพอใจหรือไม่ มีอะไรขาดตกบกพร่องในระหว่างการจัดฝึกอบรมหรือไม่ มีผู้เข้าอบรมครบตามที่กำหนดไว้หรือไม่ วิทยากรมีคุณภาพหรือไม่ ฯลฯ ถ้าวัดเพียงแค่นี้องค์กรก็จะมอง HRD เป็นเพียงหน่วยงานที่ทำงานประจำ ไม่มีโอกาสได้คะแนนดีกว่าศูนย์ เพราะมีโอกาสเพียง เสมอตัว กับ ติดลบ เท่านั้น จัดดีก็เฉยๆ จัดไม่ดีก็โดนด่า

ระดับที่ 2 : ประสิทธิผลของงาน HRD (HRD Effectiveness)  หมายถึงการวัดว่าการที่ HRD ได้จัดอบรมหรือพัฒนาไปแล้ว บุคลากรได้เปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆดีขึ้นหรือไม่ เช่น มีความรู้ (Knowledge) เพิ่มขึ้นหรือไม่ มีทักษะ (Skills) สูงขึ้นหรือไม่ พฤติกรรม (Behavior) เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ ทัศนคติ (Attitude) ดีขึ้นหรือไม่

ระดับที่ 3 : ผลกระทบต่อองค์กร (Business Impacts) หมายถึง การตอบคำถามที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมักจะถามคือมีการพัฒนาและฝึกอบรมไปแล้ว องค์กรได้อะไรบ้าง ผลงานในระดับนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของงาน HRD ที่จะตอบโจทย์ที่ว่า HRD เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่ ถึงแม้ว่างานของ HRD จะทำงานผ่านหน่วยงานอื่นซึ่งจะวัดผลงานได้ยากก็ตาม แต่สุดท้าย HRD จะต้องสาวไปให้ถึงให้ได้ว่าผลลัพธ์ต่างๆในภาพรวมขององค์กรนั้น HRD มีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด เช่น ก่อนและหลังทำโครงการนั้นโครงการนี้ ยอดขายของพนักงานขายต่อคนเพิ่มขึ้น ผลผลิตต่อคนเพิ่มขึ้น และมีส่วนไหนบ้างที่เกิดจาก HRD โดยตรง และการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์กรที่เกิดจากงานของ HRD โดยตรง เช่น การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ 

          ผู้เขียนคิดว่าทุกคนคงหาคำตอบได้แล้วว่าเราจะวัดผลงานของ HRD กันได้อย่างไร

ที่มา :www.hrcenter.co.th 

หมายเลขบันทึก: 282813เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นข้อมูลที่ดีมากแล้วจะมาแลกเปลี่ยนอีก

จะลองเอาไปใช้ดูครับ

ขอบคุณมากๆสำหรับความรู้

เข้ามาอ่านแล้วได้สาระนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานได้เลยต่ะ

ช้าไปนิดเดียวเอง....ไม่งั้นทำข้อสอบอาจารย์ดิสกุลได้เต็มแน่ๆ (วันนี้ปิดภาคเรียน......งง ฝนตกด้วย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท