การกำหนดประเด็น
กำหนดประเด็นจากการคลี่ขยายวัตถุประสงค์ผสมผสานแนวคิดทฤษฎีการจัดการความรู้ด้านสังคม
ผนวกแนวคิด/ทฤษฎีด้านสื่อสารเพื่อเคลื่อนสังคมซึ่ง รศ.ดร.กาญจนา แก้วเทพ ได้ตกผลึกและเจียรนัยออกมาผ่านบทความ เอกสาร ตำรา ออกมาอย่างสม่ำเสมอ โดยการติดตามประเมินจะทดลองหาส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง KM และ C-4-H ให้ถูกปากถูกลิ้นผู้เกี่ยวข้อง
รวมถึงการกำหนดประเด็นจากลักษณะของสื่อ หรือจากตัวกิจกรรมย่อยที่น่าสนใจ คือ ประเด็นใดๆ ก็ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมอยากบอกต่อสาธารณชนว่าประเด็นนั้นๆ มีคุณค่าและทำให้เกิดสุขภาพดีขึ้นได้จริง(อย่างนี้ควรมีรูปธรรมข้อพิสูจน์ด้วย)ให้คำตอบต่อปริศนาคาใจ หรือที่มาและที่ไปของประเด็นนั้นน่าจะเป็นความหวังหรือทางออกต่อการเคลื่อนสังคมสู่สุขภาวะ
ใครคือผู้เกี่ยวข้องกับการประเมิน
ใคร |
คาดหวังว่าการประเมินจะช่วยอะไร |
ผู้เสนอหรือผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงาน |
· เป็นกระจกเงาสะท้อนมุมมองจากภายนอกเพื่อการปรับปรุงการดำเนินงาน โดยเฉพาะการตอบโจทย์และตรงสู่เป้าหมาย · มองหาโอกาสในการทำซ้ำและขยายผล โดยเฉพาะผลที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการ หรือ ผลที่เกิดระหว่างการเดิน สู่เป้าหมาย (โดยเฉพาะ lesson learned และนวตกรรม) · ช่วยเป็นช่องทางในการบอกเล่าความสำเร็จ รวมถึงปัญหา/อุปสรรคที่ต้องการขจัดปัดเป่าในระดับลงมือปฏิบัติ |
กลุ่มเป้าหมายของโครงการ |
· สร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์และยืนยันว่า “เขาเดินถูกทาง และเข้าใกล้เป้าหมายเพียงใด” · พิสูจน์ผลการนำการจัดการความรู้มาทดลองปฏิบัติอย่าง สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม · ธำรงไว้ซึ่งแรงขับเคลื่อนสังคม หรือโมเมนตั้มในการเคลื่อนสังคม |
ผู้จัดการชุดโครงการ (Program Manager) และทีมงาน |
· ช่วยชี้ช่องในการบริหารโอกาส · เสริมคุณค่าและภาพลักษณ์ของ Brand ชุดโครงการ · ช่วยเป็นช่องทางในการบอกเล่าความสำเร็จ รวมถึงปัญหา/อุปสรรคที่ต้องการขจัดปัดเป่าในระดับนโยบาย |
เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง |
· เพิ่มคุณค่าและความภาคภูมิใจในพลัง Synergy · ช่วยชี้ช่องในการบริหารโอกาสที่จะขยายเครือข่าย |