เทคนิคการสร้างความผูกพันและกำลังใจในการทำงาน


การสร้างความผูกพันและกำลังใจในการทำงาน

เทคนิคการสร้างความผูกพันและกำลังใจในการทำงาน                             

                                         

 

ปัญหาหลักประการหนึ่งองค์กรโดยทั่วไปคือการที่พนักงานมักจะไม่ค่อยทุ่มเทความตั้งใจในการทำงานให้แก่องค์กรอย่างเต็มที่ ทำให้ผู้บริหารขององค์กรเกิดมีอคติกับพนักงานในเชิงลบ ซึ่งความรู้สึกในเชิงลบเช่นนี้ก็จะนำไปสู่การจัดตั้งมาตรการในการแก้ปัญหาที่เป็นลักษณะเชิงลบตามไปด้วย เช่น การกำหนดบทลงโทษแก่พนักงานต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้หากเรามาพิจารณาสาเหตุที่ซ่อนอยู่ลึก ๆ ในเรื่องของความไร้ประสิทธิภาพของพนักงานแล้ว เราจะพบว่าการที่พนักงานไม่ค่อยอยากที่จะทำงานหรือทุ่มเทความตั้งใจให้แก่องค์กรนั้น เป็นเพราะเขามีทัศนคติที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่ลงรอยกับองค์กรในบางเรื่อง นั้นก็คือพนักงานกำลังมีความรู้สึกที่ขัดแย้งกับองค์กรนั้นเอง ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อพนักงานมีความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้ว ผลที่ตามมาก็คือการรู้สึกเบื่อหน่ายที่จะทำงานให้แก่องค์กร และพนักงานก็มักที่จะมีคำพูดติดปากเสมอ ๆ ว่าหากมีที่ที่ดีกว่าก็คงจะลาออกไปอยู่ที่ใหม่แน่นอนดังนั้น

1.  จึงจำเป็นจะต้องมีการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อองค์กรเป็นอันดับแรกเพื่อวัดระดับความพอใจของพนักงานก่อน

2.  แล้วจึงค่อยวางนโยบายในการจูงใจเพื่อยกระดับความพอใจของพนักงานให้ดีขึ้น

 ซึ่งการที่เราดำเนินการกระตุ้นจูงใจแบบไม่ได้มีการวางแผนหรือไม่ได้ศึกษาดูข้อมูลด้านทัศนคติของพนักงานมาก่อนก็ย่อมนำไปสู่ความล้มเหลวและเสียทั้งงบประมาณและเวลาในการดำเนินการอีกด้วย

 

                    

ที่มา :www.ftpi.or.th

หมายเลขบันทึก: 282251เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2009 06:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถ้าพนักงานทุกคนทุ่มเทแรงกายแรงใจการทำงานก็พัฒนาไปเรื่อยๆ ขอบคุณอ.วิไลรัตน์ และขอเป็นแฮงใจให้ครับ

เริ่มสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์ก่อนใช่ไหมคะ ใช่ค่ะ ใช่เลย รู้สึกรักองค์กรแล้ว มีเท่าไหร่ทุ่มให้เต็มๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท