สรุปการเรียนรู้ของทีม จากตลาดนัดเบาหวานนครพนม 1


บทสรุปของผู้สังเกตการณ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

สรุปการเรียนรู้ของทีม
จากตลาดนัดเบาหวาน นครพนม

ผู้บันทึก  สุพัฒน์   สมจิตรสกุล
วันที่  9 พฤษภาคม 2549

บทเรียนจากโรงพยาบาลนาแก  การเรียนรู้การจัดบริการจากวิถีชีวิต เช่น การจัดนึ่งข้าวเหนียวให้บริการ ผู้ป่วยที่พักรักษาในโรงพยาบาลนาแก นอกจากนี้ยังมีการจัดบริการตามความเชื่อของผู้รับบริการ เช่น การให้ผู้ป่วยทำพิธีเป่าเพื่อบำบัดรักษาในโรงพยาบาล เป็นต้น
 การเรียนรู้ของโรงพยาบาลศรีสงคราม ได้ความรู้ในการคัดกรองของโรงพยาบาลนครพนม โดยได้ผลทันที แยกผู้ป่วยตามระดับความรุนแรงของโรค และให้บริการความรู้ และให้ข้าวต้มแก่ผู้ป่วยระหว่างระหว่างรอรับบริการ
 การเรียนรู้ของโรงพยาบาลท่าอุเทนจากโรงพยาบาลศรีสงคราม การประสานงานให้จนท.ห้องปฏิบัติการให้มาเจาะเลือด ซึ่งทางโรงพยาบาลท่าอุเทน จะเป็นภาระของพยาบาลที่คลินิกเบาหวานเป็นผู้ดูแลเอง
 การเรียนรู้ของโรงพยาบาลนครพนม ได้จัดระบบบริการเป็น One Stop Service พัฒนาจากการอบรม OD ทำกิจกรรมเพื่อผู้รับบริการ โดยรับบริจาคจากเจ้าหน้าที่ต่างๆ มาทำข้าวต้มบริการผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน  / การเรียนรู้จากทีมอื่นคือ ระบบการส่งต่อผู้ป่วยกลับไปรับบริการใน PCU
 ทีมโรงพยาบาลนาหว้า ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และการจัดตั้งประสานงานจากโรงพยาบาลปลาปาก เรียนรู้จากหว้านใหญ่คือ การแยกผู้ป่วยรายใหม่ และมีแบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมโรค การจัดการผู้ป่วยในสอ.ของทีมปลาปาก
 ทีมปลาปาก เรียนรู้จากโรงพยาบาลหว้านใหญ่ การจัดคลินิกเบาหวาน ที่มีพยาบาลให้การปรึกษา การจัดทำค่ายฉีดยาด้วยปากกา การติดตามเยี่ยมบ้านประสานงานกับสอ.ที่ชัดเจน การตรวจสุขภาพ ของทีมหว้านใหญ่
 ทีมหว้านใหญ่ เรียนจากปลาปากมีการติดตาม ผู้ป่วยสามารถเจาะเลือด เรียนรู้จากนาหว้าการแบ่งสีและประเมินด้วยตนเองและค้นหาด้วยตนเอง
 ทีมดงหลวง เรียนจากโพนสวรรค์ การติดตามและประเมินจากผู้ป่วยในการใช้ยา โดยมีทีมเภสัชที่มาจัดผู้ป่วยเข้ากลุ่ม ฝึกการฉีดยา การขอเบอร์โทรศัพท์จากผู้ป่วยเพื่อติดตามเยี่ยมอาการทางโทรศัพท์ / การช่วยเหลือผู้ป่วยเช่น ตู้เย็น ให้แช่ยา เป็นต้น (แท้จริง อินสุลินสามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้ เพียงไม่ถูกแสง )
 ทีมโพนสวรรค์ การติดตามทางโทรศัพท์ ในกรณีใช้ยาฉีดเป็นอย่างไร ส่วนกรณียาเม็ดให้ PCU ช่วยติดตาม สิ่งที่อยากทำต่อคือการเก็บข้อมูล การเรียนรู้จากดงหลวง คือการพูดคุยกับทีมแพทย์ในการประเมินผู้ป่วยก่อนการรักษา
 เรณูนคร เรียนรู้จากดงหลวง การให้คำปรึกษาโดยเฉพาะ โดยใช้เวลาก่อนแพทย์ตรวจ OPD มีการประเมิน / โพนสวรรค์การให้ผู้ป่วยลองปฏิบัติให้ดู มีการติดตามขอเบอร์โทรศัพท์ เพื่อติดตาม เป็นการดุแลทางด้านจิตใจ / มีทีม Home Health Care ไปดูแลที่บ้าน และการถาม Case และ มีการตรวจสอบ / เสนอให้ฝากอินสุลินไว้ที่ตู้เย็นข้างบ้าน / การปรับเปลี่ยนวิธีการรักษา ได้เรียนรู้จากทีมโพนสวรรค์ ที่ให้ผู้ป่วยกลับไปใคร่ครวญกับภาวะแทรกซ้อน ความเป็นไปของโรคกับการรักษาในปัจจุบัน ซึ่งสุดท้ายผู้ป่วยก็จะกลับมาบอกว่าจะเปลี่ยนวิธีรักษา โดยที่ทีมไม่ได้บีบบังคับให้เปลี่ยนในทันที / การเรียนรู้จากประสบการณ์ผู้ป่วยที่มีการควบคุมโรคที่ดี ในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกัน หรือผู้ป่วยที่มีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมให้มาช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่ใช้สมุนไพรแล้วไตวาย
 การเรียนรู้จากการสอน การฉีดอินสุลินของโรงพยาบาลเทพธารินทร์ เรื่องการฉีดโดยใช้ปากกา แต่ไม่ได้ฉีดยาจริง ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิด การใช้อินสุลินคือ การไม่ได้ฉีดอินสุลินเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ควบคุมโรคไม่ได้ ดังนั้นการเรียนรู้จากบทเรียนนี้คือ การสอนให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้จริง
 

หมายเลขบันทึก: 27976เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประทับใจมากๆ ค่ะ สำหรับการทำหน้าที่ "ผู้สังเกตการณ์" ของคุณสุพัฒน์

โดยเฉพาะการบันทึกสรุปการเรียนรู้ข้างต้นนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท