แนวทางการวินิจฉัยโรค ที่เร็ว และ การดูแลสุขภาพ นอกจากให้ ยาอย่างเดียว แต่ให้ความรู้เรื่องที่ป่วยด้วย


แนวทางที่ นำเสนอ เป็นแนวทางจากหนังสือ อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน ของ ร.พ.ศิริราช ที่มี แนวทางหาคำวินิจฉัยให้ได้เร็ว และ ถูกต้อง เพราะ ถ้าช้า คนไข้ฉุกเฉิน อาจจะเสียชีวิตไปก่อน ในภาวะมีคนไข้มาตรวจจำนวนมาก ถ้าเราตรวจช้า ก็มีผลต่อ ความพึงพอใจในการมาใช้บริการได้ การนำมาใช้จึงได้ประโยชน์มาก เช่นเดียวกัน และ แนวทางการเป็นร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ นอกจากให้ยาอย่างเดียว เพิ่มการให้คำแนะนำให้ความรู้ด้วย เพื่อให้ได้รับการดูแลแบบองค์รวม และ ถ้าไม่ดีขึ้นให้กลับมารับการดูแลต่อเนื่องที่ร.พ.เดิมตามแนวทาง ร.พ.ประจำครอบครัวจะได้ประโยชน์จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของประชาชนถูกลง ได้ ตามแนว การมีสุขภาพดีในราคาถูก

แนวทางการวินิจฉัยโรค ที่เร็ว และ การดูแลสุขภาพ นอกจากให้ยาอย่างเดียว

โดย

การตั้งสมมติฐานเพื่อการวินิจฉัย(Hypothesis Testing Approach)

จากหนังสืออายุรศาสตร์ฉุกเฉิน ศิริราช บทที่ 1

และ

ตาม แนวทางการเป็นร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ

นอกจากให้ ยาอย่างเดียว แต่ให้ความรู้เรื่องที่ป่วยด้วย

โดย:น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์ พ.บ.อว.เวชศาสตร์ป้องกัน และ อว.เวชศาสตร์ครอบครัว

นายแพทย์ 8 หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว และ ชุมชน

ร.พ.ต้นแบบ ส่งเสริมสุขภาพ พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

 [email protected]

และ

www.samrotri.bloggang.com

.......................................................................................................

1.ข้อมูลพื้นฐาน..ผู้ป่วย เพศ ?..อายุ ?..อาชีพ ?..ประวัติแพ้ยา?..ประวัติมีโรคประจำตัว?

2.อาการสำคัญ(Chief complaint=cc.)อาจมีมากกว่า 1 อาการ และ ต้องมีระยะเวลาที่มี

อาการด้วย

2.1…………………………………………………………………………………………………………..

2.2………………………………………………………………………………………………………….

etc.

3.การตั้งสมมติฐานสำหรับอาการสำคัญข้างต้นจะนึกถึงโรคอะไรได้บ้าง[การวินิจฉัยแยก

โรค(Differential Diagnosis)]

อาการสำคัญ ที่ 2.1 นึกถึงโรคต่อไปนี้

1…………………………2…………………………..3…………………………….

อาการสำคัญ ที่ 2.2 นึกถึงโรคต่อไปนี้

1…………………………2…………………………..3…………………………….

etc.

4.การนำ ข้อมูลจากความรู้ เรื่อง อาการ,อาการแสดง,ผลทางห้องปฏิบัติการ และ สาเหตุ

ที่ทำให้ป่วย หรือ ปัจจัยเสี่ยงของโรคที่นึกถึง ข้างต้นมา ตรวจสอบ กับของผู้ป่วยว่า มี

หรือไม่ เปรียบได้กับ การค้นหา ไวรัส ของโปรแกรม แสกนไวรัสของ คอมพิวเตอร์

-กลุ่มโรค อาการสำคัญ ที่ 2.1…………………………………………………………......

…………………………………………………………………………………………………………………

-กลุ่มโรค อาการสำคัญ ที่ 2.2………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………

etc.
หมายเหตุ: ถ้าใช้ความจำ ทำตามวิธี ข้างต้น ถ้ามีข้อมูลมาก อาจจะจำได้ไม่หมด เสนอให้ใช้กระดาษจดย่อไว้เพื่อนำมาประเมิน จะได้ข้อมูลครบถ้วน

5.การวินิจฉัยโรค(Provisional Diagnosis)

เมื่อทำเพียงแค่ การซักประวัติ และ ตรวจร่างกาย มักได้คำวินิจฉัยแล้ว เป็นส่วนใหญ่ประมาณมากกว่า95%จะได้คำวินิจฉัย หรือ เรียกว่า การได้คำวินิจฉัยข้างเตียง(Bedside Diagnosis) มีเพียง ส่วนน้อยเท่านั้น ประมาณ5%ต้องส่งตรวจทางห้องแล็ปช่วยเพื่อให้ได้คำวินิจฉัย

มีบางครั้งที่คนไข้มาโดยยังไม่มีอาการ และ อาการแสดงเด่นชัด ยังไม่สงสัยโรคอะไรเป็นพิเศษ ให้ส่งแล็ป หรือ ยังไม่ทราบคำวินิจฉัย  แนะนำให้การรักษา ไปตามอาการไปก่อนแล้ว นัด ตรวจซ้ำ เมื่อเวลาผ่านไปอาจจะมีอาการและอาการแสดงเด่นชัด มากขึ้นจะทำให้ได้คำวินิจฉัยในที่สุด

ผลจากการหาคำวินิจฉัยจะได้2ชนิดของคำวินิจฉัย คือ

5.1 Known Diagnosis คือ คำวินิจฉัยโรคที่มั่นใจ

……………………………………………………………………………………………………………………

5.2 Unknown Diagnosisคือ คำวินิจฉัยโรคที่ยังไม่มั่นใจ?????

……………………………………………………………………………………………………………………

6.การให้การดูแลผู้มารับบริการ ไม่ว่าจะเป็นรู้คำวินิจฉัย หรือ ไม่รู้ ก็ตาม ก็ต้อง ให้การ

ดูแลแนวเดียวกัน คือ

6.1.การรักษา(Treatment)

Admit ..เมื่อดูว่าคนไข้ป่วยหนักต้องให้นอนร.พ.

Not admit…เมื่อดูว่าคนไข้ป่วยไม่หนักมาก อาจให้การรักษาแล้วนัดมาตรวจซ้ำโดยให้

คำแนะนำ ให้กลับมาตรวจซ้ำถ้าไม่ดีขึ้น

แนวทางการให้การรักษา จะประกอบด้วย

6.1.1 Supportive Treatment รักษาให้รอดปลอดภัย ก่อน เช่น ช็อค ความดันวัดไม่ได้

ต้องให้น้ำเกลือ เพื่อ รักษาความดันให้ผ่านพ้นการช็อค ได้ก่อน เป็นต้น

……………………………………………………………………………………………………………………

6.1. 2 Specific Treatment รักษาเฉพาะสำหรับโรคนั้นๆ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ รักษาเฉพาะ คือ การผ่าตัด เป็นต้น

……………………………………………………………………………………………………………………

6.1.3 Symptomatic Treatment รักษาตามอาการที่คนไข้ไม่สบายด้วย เช่น มีอาการไข้ ก็ควรให้ยาลดไข้ด้วย เป็นต้น

……………………………………………………………………………………………………………………

6.1.4 Palliative Treatment รักษาให้ไม่ทุกข์ทรมาน และ มีความสุข ก่อน ที่จะต้องเสียชีวิต ในรายที่ป่วยเป็นโรคที่ทราบแล้วว่ารักษาไม่ได้ ต้องเสียชิวิต ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือ การช่วยให้ได้ตายอย่างมีความสุข สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

........................................................................................................................

6.2การให้ความรู้เรื่องสุขภาพ(Health education)

สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ระบบสาธาณสุข ต้อง ปฏิรูป ให้มีขึ้น นอกจากรักษาด้วยยา หรือ มาตรการทางการแพทย์อื่น ๆ แล้วต้องให้ความรู้กับผู้มารับบริการด้วย ตามแนวทางร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Hospital:HPH)ดูแลแบบองค์รวม สร้างนำซ่อม โดย
6.1.1.บอกว่าเขาป่วยเป็นอะไรตามภาษาชาวบ้านเข้าใจได้

……………………………………………………………………………………………………………………

6.2.2.บอกเขาว่าที่เขาป่วยเพราะเขาไปทำอะไรมาผิดจากการมีสุขภาพดีจึงป่วยให้เขาทราบเพื่อจะได้ไม่ไปทำอย่างเดิมอีก

……………………………………………………………………………………………………………………

6.2.3.บอกว่าเราให้ยาอะไรบ้าง และ ควรปฏิบัติตัวอย่างไรระหว่างไม่สบายอยู่

……………………………………………………………………………………………………………………

6.2.4.บอกว่าถ้าทานยาและปฏิบัติตัวดีแล้วไม่หายให้มาดูใหม่โดยควรถือยาเก่ามาให้ดูด้วย เพื่อเราจะได้ทราบว่าคนไข้ทานยาตามที่เราจัดให้หรือไม่ และ ถ้าสงสัยยาตัวใดจะได้ชี้ให้เราทราบได้ง่าย

............................................................................................................................

สรุป:   แนวทางที่ นำเสนอ เป็นแนวทางจากหนังสือ อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน ของ ร.พ.ศิริราชที่มี แนวทางหาคำวินิจฉัยให้ได้เร็ว และ ถูกต้อง เพราะ ถ้าช้า คนไข้ฉุกเฉิน อาจจะเสียชีวิตไปก่อน  ในภาวะมีคนไข้มาตรวจจำนวนมาก  ถ้าเราตรวจช้า ก็มีผลต่อ ความพึงพอใจในการมาใช้บริการได้ การนำมาใช้จึงได้ประโยชน์มาก เช่นเดียวกัน และ แนวทางการเป็นร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ นอกจากให้ยาอย่างเดียว เพิ่มการให้คำแนะนำให้ความรู้ด้วยเพื่อให้ได้รับการดูแลแบบองค์รวม และ ถ้าไม่ดีขึ้นให้กลับมารับการดูแลต่อเนื่องที่ร.พ.เดิมตามแนวทาง ร.พ.ประจำครอบครัวจะได้ประโยชน์จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของประชาชนถูกลง ได้ ตามแนว การมีสุขภาพดีในราคาถูก

..............................................................................................................................

หมายเหตุ                                                                                           

1.การทำบทความนี้ มีจุดประสงค์ ไว้เผยแพร่ ให้ผู้สนใจ ที่อยากทราบว่า แพทย์ จะรู้คำวินิจฉัย และ ให้การดูแลเขา อย่างไร ??? และ ทำไว้เพื่อใช้บรรยาย เมื่อ ต้องการ แจกเอกสารการบรรยาย จะได้ไม่ต้องพิมพ์แจก แต่ ให้เปิดดูทาง เวบไซด์ ได้ และ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้เขียน บทความนี้ สามารถเข้ามาแก้ไขได้ตลอดเวลาเมื่อต้องการปรับปรุงบทความให้ดียิ่งขึ้น         

 2. สามารถดูเพิ่มเติมเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อได้ที่ เวบบอร์ค ข้างล่างนี้ เชิญคลิกเข้ามาดูได้

2.1 " การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น(ระดับปฐมภูมิ)ที่ประเทศอังกฤษและ

ฟินแลนด์ " 

http://www.gotoknow.org/archive/2006/05/07/19/42/31/e27272

2.2  เวชศาสตร์ครอบครัวกับการปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ

http://www.gotoknow.org/archive/2006/05/09/17/39/14/e27725 

2.3 จุดประสงค์ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและการมีแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน

http://www.gotoknow.org/archive/2005/08/09/15/59/31/e2275

2.4 จุดประสงค์ของการแบ่งการดูแลสุขภาพเป็นรูปเครือข่ายสามระดับ

http://www.gotoknow.org/archive/2005/10/25/14/43/23/e5845

2.5 การเตรียมตัว เตรียมใจ (อาจต้องรอตามลำดับการมา) ก่อนมาพบแพทย์ เพื่อให้ได้

ความสะดวก และ ความพึงพอใจ

http://www.gotoknow.org/archive/2006/05/09/20/26/59/e27743

..........................................................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 27971เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ขอบคุณคุณหมอมากครับ

น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์

ไม่เป็นไรครับ ผมยังมีบล็อกความรู้ไว้เผยแพร่อีกที่

www.samrotri.bloggang.com

www.oknation.net/blog/samrotri

เชิญทุกท่านเข้ามาชมได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท