นักศึกษาปริญญาเอกที่ทำวิทยานิพนธ์ด้าน KM


          วันที่ 5 พ.ค.49   ผมไป มมส. ไปร่วมเป็นกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ กศ.ด. ของ ผศ. ฉลาด  จันทรสมบัติ   นิสิตปริญญาเอกของ มมส.   เรื่อง "การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรชุมชน"   จึงได้รับทราบว่านิสิตปริญญาเอกที่จะทำวิทยานิพนธ์ด้าน KM มีอีก 2 คนคือ
      - อ. ธีรวัฒน์  เยี่ยมแสง  นักวิชาการศึกษา 8 ว.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1  จะทำวิจัยเรื่อง "KM ในเขตพื้นที่การศึกษา"
      - อ. ฉลองรัฐ  อินทรีย์  คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ราชธานี   จะทำวิจัยเรื่อง "การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในคณะพยาบาลศาสตร์  สถาบันการศึกษาเอกชน"

         ผศ. ฉลาดจะทำวิจัยแบบ AAR ใน 2 หมู่บ้าน  รวม 5 องค์กรชุมชน   โดยมี "คุณอำนวย" เข้าไปส่งเสริมให้ชาวบ้านในแต่ละองค์กรชุมชนดำเนินการ KM   แล้ว ผศ. ฉลาดเข้าไปเก็บข้อมูลการทำ KM ของชาวบ้าน   ผมคิดว่าความรู้ใหม่ที่จะได้ก็คือมีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งเสริม   ปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อการทำ KM ในระดับชาวบ้าน   นอกจากนั้น ผศ. ฉลาดย้ำว่ากลุ่มชาวบ้านมีความพร้อมในการใช้ IT และเขียนบล็อกเพื่อช่วยในการ ลปรร. แบบ B2B   ดังนั้นถ้ามีการศึกษาเรื่องการใช้ IT ในการทำ KM ระดับชาวบ้านก็จะเกิดความรู้ใหม่

         ผมกลับมาคิดต่อที่บ้าน   คิดว่าจุดอ่อนของการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์นี้ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือการวิจัยนี้มีเวลาจำกัดเพียง 9 เดือน

         ผมเกิดข้อสงสัยว่า   ระบบการศึกษาปริญญาเอกในบ้านเราน่าจะมีจุดอ่อนอยู่ในเรื่องการจัดสรรเวลา   ไม่ทราบว่ามัวใช้เวลาทำอะไรบ้างจนเหลือเวลาทำวิจัยเพียง 9 เดือน   จริง ๆ แล้วถ้าจะให้คุณภาพของการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษามีคุณภาพสูง   นักศึกษาควรเริ่มทำงานวิจัยเสียแต่เนิ่น ๆ และมีเวลาทำงานวิจัยยาวอย่างน้อย 2 ปี

         KM เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา   ดังนั้นการเข้าไปศึกษา KM โดยใช้เวลาต่ำกว่า 2 ปีผมว่าเสี่ยงมากที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงน้อย   ผลงานวิจัยไม่ชัดเจน

         ผมจึงตั้งใจว่านักศึกษาที่จะให้ผมเข้าร่วมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในภายหน้าต้องมีเวลาทำวิจัยไม่น้อยกว่า 2 ปี   ถ้าเวลาน้อยกว่านี้ผมจะไม่รับ

         สิ่งที่น่าจะปรับปรุงอีกประการหนึ่งคือ   กำหนดให้ชัดเจนว่าในส่วนของ literature review ต้องไม่เกิน 100 หน้า   และต้องไม่เขียนแบบ "ตัดปะ"   ต้องเขียนด้วยถ้อยคำของนักศึกษาเอง   คือเป็นการสังเคราะห์ความเข้าใจของตนเอง   ถ้ายังเขียนมายาวเยิ่นเย้อต้องไม่ยอมให้สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

                                 

                                              คณะกรรมการ

                                

 นายธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง  นศ. ปริญญาเอกที่จะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง KM ในสำนักงานเขตการศึกษา

                                

บรรยากาศในห้องนำเสนอ  มีผู้สังเกตการณ์ล้นหลาม เพราะนี่คือการนำเสนอครั้งแรกในหมู่นักศึกษาปริญญาเอก

                                

          ผศ. ฉลาด จันทรสมบัติ  นศ. ปริญญาเอกที่นำเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์

                                 

       อ. ฉลองรัฐ  นศ. ป. เอกที่จะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง KM ในคณะพยาบาลศาสตร์

วิจารณ์  พานิช
 6 พ.ค.49

หมายเลขบันทึก: 27917เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียน อาจารย์หมอที่เคารพ

ผมเห็นด้วยมากครับกับการใช้เวลาของนักศึกษาในการสร้างความเข้าใจกับเนื้อเรื่องที่กำลังวิจัย โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจแนวคิด (concept) ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น จากนั้นก็สร้างความเข้าใจว่ากระบวนการวิจัยจะช่วยให้มีความเข้าใจเรื่องราวนั้น ๆ เพิ่มเติมได้อย่างไร

การเร่งรัดเวลาวิจัยให้เหลือน้อย ๆ ก็ย่อมส่งผลต่อระดับความเข้าใจของนักศึกษาที่มีต่อเรื่องราวครับ เราต้องช่วยกันแนะนำให้งานวิจัยของบ้านเราให้ดีขึ้นตามลำดับครับ

อรรถชัย จินตะเวช

ม.เชียงใหม่

 

หลังจากทำวิทยานิพนธ์เสร็จแล้ว (1) ผู้วิจัยจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือให้คำปรึกษาด้าน KM ได้หรือไม่ (2) พื้นที่การศึกษาและคณะพยาบาลศาสตร์ที่เข้าร่วมในการวิจัยจะได้รับการพัฒนาให้เป็น LO มากขึ้นสักเล็กน้อยหรือไม่

ถ้าได้ทั้งสองอย่างหรืออย่างใดอย่างหนึ่งผมว่าน่าจะ OK นะครับ 

คนเป็นกรรมการ น่าจะ ลดระดับ ให้ ลงไปเป็น ปอโท  ก็ได้

เพื่อรักษาคุณภาพ ปอเอก ของ สภาบันของตน

 

เพราะ ผมดูแล้ว  ไม่ได้มีการ คิดอะไรใหม่ๆขึ้นมา สมกับการเป็น ดร

เป็นแค่ ไป "รับรู้" 

 สรุป ในเรื่องที่ ไปดู   

แนะนำ ตามแนวคิดของคนอื่นที่ตนไปรับรู้

 

 

 

 

ผมมีความสนใจ และมีโอกาสเข้าร่วมรับฟังในวันที่ 5 พ.ค. 2549 ที่ผ่านมาด้วยความชื่นชม และยินดี กับ ผศ.ฉลาด

ก่อนรับฟังก็คาดหวังว่าจะได้เห็น MODEL บ้าง ว่า KM กับ ชาวบ้าน จะสามารถสร้างนวัตกรรมด้วยการนำ ICT (gotoknow.org) มาใช้เพื่อให้เกิด MODEL ของชุมชนได้อย่างไร ปรากฏว่า ผิดคาดจากความตั้งใจครับเพราะ ICT เป็นเพียงแค่ KA เท่านั้น ส่วน MODEL ก็ยังมองไม่ค่อยออกครับ

 

ผมมีความสนใจ และมีโอกาสเข้าร่วมรับฟังในวันที่ 5 พ.ค. 2549 ที่ผ่านมาด้วยความชื่นชม และยินดี กับ ผศ.ฉลาด

ก่อนรับฟังก็คาดหวังว่าจะได้เห็น MODEL บ้าง ว่า KM กับ ชาวบ้าน จะสามารถสร้างนวัตกรรมด้วยการนำ ICT (gotoknow.org) มาใช้เพื่อให้เกิด MODEL ของชุมชนได้อย่างไร ปรากฏว่า ผิดคาดจากความตั้งใจครับเพราะ ICT เป็นเพียงแค่ KA เท่านั้น ส่วน MODEL ก็ยังมองไม่ค่อยออกครับ

 

ผมมีความสนใจ และมีโอกาสเข้าร่วมรับฟังในวันที่ 5 พ.ค. 2549 ที่ผ่านมาด้วยความชื่นชม และยินดี กับ ผศ.ฉลาด

ก่อนรับฟังก็คาดหวังว่าจะได้เห็น MODEL บ้าง ว่า KM กับ ชาวบ้าน จะสามารถสร้างนวัตกรรมด้วยการนำ ICT (gotoknow.org) มาใช้เพื่อให้เกิด MODEL ของชุมชนได้อย่างไร ปรากฏว่า ผิดคาดจากความตั้งใจครับเพราะ ICT เป็นเพียงแค่ KA เท่านั้น ส่วน MODEL ก็ยังมองไม่ค่อยออกครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท