แปล. BL สร้างโปรแกรมการเรียนแบบผสมผสานที่มีประสิทธิภาพ 4


แนะนำกรอบแนวคิดตามรูปแบบของคาน   Introduction to   Khan’s Octagonal Framework

            ความหลากหลายของปัจจัยในการต้องการเตรียมการเพื่อจะสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย  ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีทั้งความเกี่ยวพันธ์กันภายใน และ แบบอิสระ การเข้าใจแนวคิดเชิงระบบของปัจจัยทั้งหมดในภาพรวมจะทำให้สามารถที่จะออกแบบเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่กระจายได้อย่างมีความหมาย  ปัจจัยเหล่านี้ประกอบด้วยรูปแบบตามกรอบแนวคิดดังกล่าว   กรอบแนวคิดที่ Khan เสนอมี 8 มิติ  อันได้แก่  1) สถาบัน/ หน่วยงาน/องค์กร  (institutional)    2. หลักการสอน (pedagogical)   3) เทคโนโลยี   (technological)   4) การออกแบบ (interface design)    5) การประเมินผล (evaluation)    6) การจัดการ (management)   7)การสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ (resource support)    และ 8) จริยธรรม (ethical) ดังภาพที่ 1

 

แต่ละมิติในกรอบแนวคิดแสดงให้เห็นถึงประเด็นที่จำเป็นต่อการเตรียมการ    ประเด็นของปัจจัยเหล่านี้สามารถช่วยเสริมการวางแผนในการจัดการ   และทำให้มั่นใจว่า ผลลัพธ์ของการสร้างโปรแกรมจะสามารถทำให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความหมาย

 

สถาบัน / หน่วยงาน / องค์กร (Institutional)

การเตรียมการในมิติขององค์กรนั้นเกี่ยวข้องกับ การจัดตั้งองค์กร    ผู้บริหาร   ครู /นักการศึกษา และ ฝ่ายให้บริการนักศึกษา  ผู้ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนโปรแกรมการจัดการเรียนรู้สามารถที่จะถามคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของการจัดตั้ง  อันรวมไปถึงด้านเนื้อหาวิชา และ โครงสร้างพื้นฐาน  รวมไปถึงความต้องการของผู้เรียน   เช่น การถามถึงความสามารถในการจัดการอบรมหรือการเรียนรู้ได้อย่างอิสระ ว่าเป็นโปรแกรมการผสมผสานที่จะสามารถทำให้เกิดผลดีจริงหรือไม่?    มีการวิเคราะห์ความจำเป็น ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เข้าใจถึงควาต้องการของผู้เรียนทุกคน

 

หลักการสอน  Pedagogical

มิติทางหลักการสอน จะเกี่ยวข้องกับการรวมเอาองค์ประกอบด้าน  เนื้อหาวิชาที่จะทำการส่งถ่ายแก่ผู้เรียน  (การวิเคราะห์เนื้อหา  ,  วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน  และ เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้  )

มิติของศาสตร์การสอนนั้นจะรวมเข้าไว้ในการออกแบบและการกำหนดกลยุทธ์อีเลิร์นนิงด้วย   มิติการสอนนี้จะเป็นการเตรียมสถานการณ์ที่เป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดในการเรียนรู้จากการใช้โปรแกรมที่ตั้งไว้ แล้วจึงมีการคัดเลือกวิธีการขนถ่ายข้อมูลที่เหมาะสมที่สุด    ตัวอย่างเช่น  ถ้าผู้เรียนคาดหวังว่าจะมีการสาธิตผลิตภัณฑ์ (ในการอบรมการขาย)   ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดผลิตภัณฑ์จำลองในส่วนของการผสมผสานให้เหมาะสม   ถ้าผู้เรียนคาดหวังที่จะได้รับรูปแบบในการนำเสนอราคาผลิตภัณฑ์ใหม่  การใช้การอภิปรายจะเป็นรูปแบบหนึ่งในตัวเลือกของการผสมผสาน

 

เทคโนโลยี  Technological

ครั้งหนึ่งเราได้มีการแสดงไว้ว่า  วิธีการการขนถ่ายหรือช่องทางในการถ่ายโอนความรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสาน  ประเด็นของเทคโนโลยีนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมการ   โดยรวมถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้และเครื่องมือในการส่งมอบไปยังโปรแกรมการจัดการเรียนรู้    การเตรียมการในมิตินี้มีความจำเป็นสำหรับการนำ ระบบการจัดการความรู้ (Learning Management System : LMS) มาใช้  ซึ่งจะช่วยในการจัดการประเภทของการจัดการช่องทางที่หลากหลาย  และมีระบบการจัดการเนื้อหาการเรียน  (Learning Content Management  System  :  LCMS)   ซึ่งใช้เนื้อหาจริงๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้ออนไลน์ ของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้    นอกจากนี้ ความต้องการด้านเทคนิค  เช่น  การให้บริการและการสนับสนุนโปรแกรมจัดการเรียนรู้  การเข้าถึงเครื่องให้บริการ (Server)    ความเร็วและความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล และระบบรักษาความปลอดภัย  รวมไปถึงความพร้อมในการจัดเตรียมอุปกรณ์ด้านฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  และ โครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ

 

การออกแบบการใช้งาน   Interface Design

มิติของการออกแบบการใช้งานนั้นในการเตรียมการจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ในองค์ประกอบแต่ละอย่างในการจัดโปรแกรมการจัดการเรียนรู้   เป็นความจำเป็นที่จะต้องมีการออกแบบทุกองค์ประกอบที่นำมาผสมผสานกันนั้นจะต้องสามารถสนับการใช้งานของผู้ใช้ได้    

ลักษณะการใช้งานนั้นจะต้องมีความเป็นสมัยนิยมอย่างเพียงพอ  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่จะใช้งานในตัวเลือกต่างๆ ที่แตกต่างกันได้   ส่วนของการใช้งานของผู้ใช้นี้จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์  ในด้านโครงสร้างเนื้อหา  การนำทาง กราฟิก และ การให้ความช่วยเหลือ  ตัวเลือกเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องตระเตรียมในมิติการออกแบบการใช้งาน

สำหรับตัวอย่าง  การจัดรายวิชาในระดับอุดมศึกษา  ผู้เรียนอาจจะใช้การเรียนรู้ออนไลน์ และ ตั้งใจฟังผู้สอนเพื่อความเชี่ยวชาญ    รายวิชาที่จัดการเรียนรู้ผสมผสานควรที่จะให้ผู้เรียนสามารถเลือกที่จะเรียนรู้แบบออนไลน์ และ การสอนบรรยายที่ดีในมหาวิทยาลัย

 

การประเมินผล  Evaluation

            มิติของการประเมินผลเกี่ยวข้องกับการวัดผลการใช้ประโยชน์ของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ผสมผสาน   โปรแกรมการจัดการเรียนแบบผสมผสานควรมีความสามารถในการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ  โดยมีการประเมินคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน    วิธีการประเมินผลที่เหมาะสม ในการจัดการเรียนแบบผสมผสานควรถูกนำมาใช้สำหรับใช้ในประเภทของการขนถ่ายแต่ละวิธี

 

การจัดการ   Management

            มิติของการจัดการมีจำนวนมากในประเด็นที่เกี่ยวข้องในการจัดการโปรแกรมการเรียนแบบผสมผสานได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน และ การขนส่ง เพื่อที่จะจัดการช่องทางในการนำส่งหรือสื่อสารที่หลากหลาย   โปรแกรมการส่งสารในการเรียนแบบผสมผสานนั้นมีความหมายมากกว่าการขนส่งบทเรียน   มิติของการจัดการเพื่อเตรียมการยังรวมถึงประเด็นการลงทะเบียน  และ ประกาศแจ้งให้ทราบ  และ กำหนดการขององค์ประกอบที่แตกต่างของการผสม

 

แหล่งทรัพยากรสนับสนุน  Resource Support

มิตของแหล่งทรัพยากรที่สนับสนุนนั้นมีมากมายซึ่งมีลักษณะแหล่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  ทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์   (offline and online)  เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด   แหล่งสนับสนุนนั้นหากเป็นไปได้ควรมีผู้ให้คำปรึกษา หรือ ผู้ช่วยสอน ที่เป็นคนด้วยเสมอ  โดยผ่านทางอีเมล์ หรือ ระบบสนทนาออนไลน์

 

จริยธรรม  Ethical

            มิติด้านจริยธรรมเป็นประเด็นที่มีความจำเป็นในการเตรียมการ สำหรับการพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนแบบผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียมในการสร้างโอกาส   รวมถึงการคำนึงถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย และความเป็นชาตินิยมที่ควรเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา

 

บทสรุป

ขณะที่เทคโนโลยีการเรียนรู้ และช่องทางการสื่อสารนั้นดำเนินอย่างกว้างขวาง และเจริญก้าวหน้า  สิ่งหนึ่งที่จะต้องมั่นใจ คือ องค์กรที่เกี่ยวข้อง  (องค์กรความร่วมมือ, องค์กรภาครัฐ , และ การจัดการศึกษา)  สามารถอำนวยการให้การจัดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานดำเนินการได้ตามโปรแกรม

 

อ้างอิง : http://www.asianvu.com/bookstoread/framework/blended-learning.pdf

แปลโดย ปทุมารียา  ธัมมราชิกา

คำสำคัญ (Tags): #blended learning
หมายเลขบันทึก: 279152เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท