แปล. BL สร้างโปรแกรมการเรียนแบบผสมผสานที่มีประสิทธิภาพ 3


ทำไมจึงต้องผสมผสาน?  Why Blend?

ผลประโยชน์ของการผสมผสาน The Benefits of Blending

 

Singh. 2003 กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนแบบผสมผสานไม่ได้เป็นวิธีการใหม่   แต่อย่างไรก็ตาม  แม้ในอดีตนั้นก็มีการจัดองค์ประกอบทางกายภาพในชั้นเรียนแบบผสมผสาน  ได้แก่ ผู้สอน  ห้องปฏิบัติการ หนังสือ หรือ คู่มือต่างๆ   สำหรับในปัจจุบันนี้นั้นมีตัวเลือกในองค์ประกอบอีกมากมายที่สามารถใช้ในการจัดการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้    จากตารางที่ 1 เป็นแนวคิดของการจัดการเรียนแบบผสมผสานในระดับรากฐานของความคิดในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกรูปแบบ   การจัดการเรียนรู้จึงจัดเป็นกระบวนการที่ดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง   ความหลากหลายของการจัดการเรียนแบบผสมผสานจึงก่อให้เกิดผลกำไรต่อการเรียนรู้ และการขนถ่ายสื่อต่างๆ ได้ด้วย 

 

การขยายขอบเขต  Extending the Reach

ในรูปแบของการส่งข้อมูลรูปแบบเดียวนั้นมีข้อจำกัดในการเข้าถึงโปรแกรมการเรียนรู้ หรือ การถ่ายโอนความรู้ที่ต้องมีการระมัดระวังเป็นพิเศษ หากเกิดความผิดพลาดขึ้น  ตัวอย่างเช่น   โปรแกรมสอน/ฝึกอบรมในชั้นเรียนปกติมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ต่างๆ   การร่วมกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมนั้นมีขอบเขตจำกัดทั้งด้านเวลา และสถานที่   ในขณะที่ ห้องเรียนเสมือนจริงซึ่งเป็นที่รวมในการเข้าถึงข้อผู้ฟัง และ สามารถติดตามความรู้ได้ตลอดเวลาตามที่ตนเองต้องการ ทั้งการฟังซ้ำ หรือ การติดต่อข้อมูลแบบสด หรือ แบบทันทีทันใด   สิ่งเหล่านี้ช่วยขยายโอกาสให้ผู้ที่ไม่สามารถเข้าเรียน หรือ อบรมในชั้นเรียนปกติได้  

 

เพื่อสร้างให้เกิดจุดที่เหมาะสมที่สุดของต้นทุน และ เวลา

การรวมเอาวิธีการขนส่งข้อมูลที่แตกต่างกันมาใช้ร่วมกันนี้ก่อให้เกิดศักยภาพซึ่งนำไปสู่ความสมดุล และจุดที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้  และพัฒนาด้านต้นทุนและเวลา   ซึ่งเป็นผลรวมของการเรียนรู้ออนไลน์  การเรียนรู้แบบควบคุมอัตราจังหวะการเรียนด้วยตัวเอง  การใช้สื่อที่หลากหลาย  บทเรียนการสอน/อบรมบนเว็บ ที่ช่วยทำให้เกิดทักษะ และแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  แต่การรวมกันของการเรียนรู้ร่วมกันในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง และ การสอนแบบชี้แนะนั้นจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ร่วมกันเพื่อช่วยในการเรียนรู้แบบควบคุมอัตราจังหวะการเรียนด้วยตนเอง  ตัวอย่างเช่น  รูปแบบของเว็บฝึกอบรมด้วยตนเองที่ประกอบด้วย เอกสาร  กรณีตัวอย่าง  การบันทึกเหตุการณ์ในอีเลิร์นนิง   การบ้าน  และ ไฟล์นำเสนองานด้วยPowerPoint  (เพื่อให้สร้างงานนำเสนอได้ง่ายและลดทักษะเวลาในการผลิต)  สิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ และ อาจมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นมาก 

 

สิ่งที่ปรากฏให้เห็นของการทำงานแบบผสมผสาน  Evidence that Blending Works

เราเห็นได้ว่าการแผ่ขยายของการจัดการเรียนแบบผสมผสานนั้นได้มีรูปแบบงานวิจัยยังมีไม่มากนัก  ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของการออกแบบโปรแกรมการผสมผสานที่จะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด   แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีงานวิจัยจากสถาบันต่างๆ เช่น Stanford University and the University of Tennessee  ได้มีการนำเอาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาใช้เพิ่มมูลค่าในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมสานโดยได้รวมเขาวิธีการสอนแบบปกติและรูปแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางเทคโนโลยีอีเลิร์นนิง งานวิจัยนี้ทำให้เรามั่นใจได้ว่า การจัดการเรียนแบบผสมผสานไม่เพียงก่อให้เกิดประสิทธิผล และประโยชน์ในการขนส่งข้อมูลเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วย 

 

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด  มีประสบการณ์ในโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนบนเว็บแบบผู้เรียนควบคุมอัตราการเรียนได้ด้วยตนเองสำหรับเยาวชน  มากว่า 10 ปี    ปัญหาที่เขาพบก็คือ เพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของนักเรียนทั้งหมดเท่านั้นที่ให้มีแรงกระตุ้นในการสนใจในการเรียน   พวกเขาจึงหาสาเหตุของปัญหาและพบว่ามี มีการจับคู่ที่ผิดพลาดระหว่าง รูปแบบความต้องการเรียนรู้ของนักเรียน  ด้านปฏิสัมพันธ์  สังคม  การเรียนรู้ด้วยการปรึกษา  กับการใช้งานผ่านเทคโนโลยี   พวกเขาต้องการให้มีการเพิ่มการให้คำแนะนำแบบสดในระบบอีเลิร์นนิงเพิ่มขึ้นอีก 94%   ดังนั้น ในการปรับปรุงและพัฒนาจึงเชื่อว่าจะสร้างแรงจูงใจให้เกิดต่อผู้เรียนด้วยการจัดตารางการคุยสดเพิ่มเข้าไปนอกเหนือจากการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือในการเรียนรู้แบบควบคุมอัตราการเรียนรู้ด้วยตนเอง  เป็นการเพิ่มช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ของผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียน  และ ทำให้ประสบการณ์ในการติดตามผลเป็นไปในระดับคุณภาพสูง   จากการวิจัยอย่างเข้มข้นของมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ดมีข้อแนะนำวา การใช้เครื่องมือในการเรียนแบบควบคุมอัตราการเรียนรู้ด้วยตนเอง  แล้วเสริมด้วยการติดต่อสื่อสารแบบสดในอีเลิร์นนิงควรที่จะคำนึงถึงผลที่ครอบคลุมอัตราการใช้ และ การแข่งขัน    การจัดการความสามารถเหล่านี้ช่วยเพิ่มความรวดเร็ว และทำให้ได้รับผลตอบแทนในการใช้บทเรียนเรียนด้วยตนเองบนเว็บ 

 

ส่วนงานวิจัยโดยผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยเทนนิสสี (The University of Tennessee’s Physician’s Executive MBA (PEMBA))  นั้น ได้จัดทำโปรแกรมสำหรับ เสริมอาชีพแพทย์  ซึ่งเป็นการสาธิตการปฏิบัติที่ใช้โปรแกรมการเรียนแบบผสมผสานได้อย่างสมบูรณ์โดยสามารถใช้เวลาเพียงครึ่งหนึ่งของเวลาเดิมได้อย่างเหมาะสม   ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดต้นทุนได้มาก   พร้อมทั้งได้ผสมอีเลิร์นนิงแบบสดเข้าไปด้วย   มีการสอนแบบผู้เรียนควบคุมอัตราการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และ การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ ส่งผลให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น   เหล่านี้เป็นโปรแกรมการออกแบบที่ดี โดยใช้การสาธิตทั้งหมดประมาณ 10% ซึ่งทำให้ได้รับผลตอบแทนในประสิทธิภาพการเรียนรู้มากกว่าการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ   รูปแบบการเรียนครั้งแรกนั้นแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มจากการใช้อีเลิร์นนิงแบบเดิมก่อให้เกิดผลที่ความสมดุลยิ่งขึ้น ผลจากการวิจัยทำให้เชื่อมั่นยิ่งขึ้น โดยได้มีการเพิ่มการจัดประสบการณ์ผสมผสานเข้าไปด้วย  รวมถึงการใช้รูปแบบทางกายภาพที่หลากหลาย และรวมการเรียนรู้แบบสดเสมือนจริงรวมเข้าไปด้วย ซึ่งทำให้นักศึกษามีความสามารถสูงขึ้น  จากการทดสอบผลการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานตามบริบทเนื้อหาที่เรียน และยังใช้การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน ซึ่งถูกปรับให้เหมาะกับบริบทต่างๆของนักศึกษา  

ที่มา  : http://www.asianvu.com/bookstoread/framework/blended-learning.pdf

แปลโดย ปทุมารียา  ธัมมราชิกา

คำสำคัญ (Tags): #blended learning
หมายเลขบันทึก: 279150เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท