แปล. BL สร้างโปรแกรมการเรียนแบบผสมผสานที่มีประสิทธิภาพ 2


มิติของการผสมผสาน

            จุดเริ่มต้นของการใช้คำว่า “การจัดการเรียนแบบผสมผสาน” (blended learning)  นั้นเกิดจากการการฝึกอบรมในชั้นเรียนปกติ กับการจัดกิจกรรมต่างๆ ในระบบอีเลิร์นนิง ของสมาคมต่างๆที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ  เช่น การทำงานแบบไม่ประสานเวลา (เป็นลักษณะของการเข้าข้อมูลโดยผู้เรียนที่อยู่นอกชั้นเรียนโดยการควบคุมจังหวะและเวลาด้วยตัวเขาเอง)  แต่อย่างไรก็ตาม  ยังมีส่วนส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรวมสิ่งต่างๆ เพื่อความสะดวกไว้ด้วยกันของกลยุทธ์อีเลิร์นนิง หรือ ในมิติที่หลากหลาย   ในปัจจุบันนี้โปรแกรมการจัดการเรียนแบบผสมผสานอาจเป็นการรวมของหนึ่ง หรือ มากกว่าของมิติต่างๆ ตามที่กล่าวมา   แม้ว่าจะมีคุณลักษณะของหลากหลายองค์ประกอบก็ตาม 

 

การผสมผสานของการเรียนรู้แบบออฟไลน์ และออนไลน์

            เป็นการผสมผสานในระดับที่ง่ายที่สุด   การจัดประสบการณ์การเรียนแบบผสมผสานที่รวมเอารูปแบบการเรียนรู้ออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกัน   ทั้งนี้ การเรียนรู้แบบออนไลน์โดยปกติจะมีความหมายครอบคลุมทั้งอินเทอร์เน็ต และ  การจัดการเรียนรู้แบบออฟไลน์นั้นก็มีความหมายมากกว่าการการรู้ในชั้นเรียนแบบปกติ   เราสมมติได้ว่า การจัดการเรียนรู้ออฟไลน์สามารถนำเสนอการจัดการผ่านทางระบบการเรียนรู้ออนไลน์ได้  ยกตัวอย่างในประเภทของการผสมผสานที่เป็นการรวมเอาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดให้มีสื่อการเรียนรู้ และ แหล่งทรัพยากรทางการวิจัยหรือศึกษาค้นคว้าทั่วทั้งเว็บ  ขณะที่มีการใช้การฝึกอบรมในชั้นเรียนซึ่งเป็นเรียนรู้ที่ผู้สอนนำ การผสมผสานของการเรียนรู้แบบควบคุมอัตราการเรียนรู้ด้วยตนเอง และ การเรียนรู้แบบสด  การเรียนรู้ร่วมกัน  (Blending Self-Paced and  Live, Collaborative Learning)

 

            การจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนสามารถควบคุมอัตราการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง     การจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้ร่วมกันเป็นการใช้ลักษณะการสื่อสารแบบโต้ตอบระหว่างผู้เรียนด้วยกัน และนำไปสู่การแบ่งปันความรู้ (knowledge sharing)     การผสมผสานกันของการเรียนรู้แบบผู้เรียนสามารถควบคุมอัตรการเรียนด้วยตนเอง และ การเรียนแบบเรียนรู้ร่วมกันนั้นอาจนจะรวมถึงการทบทวนของวรรณกรรมที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงของผู้วางกฏเกณฑ์นั้นๆ  หรือ การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆโดยผู้คิดค้น  ได้แก่  การเรียนรู้แบบสด   การเรียนรู้ออนไลน์  การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน  การอภิปรายของการประยุกต์ใช้สื่อในการเรียนรู้จากงานและลูกค้า

 

 

 

การจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
Blending Structured and  Unstructured Learning

            ไม่ใช้รูปแบบของการเรียนรู้ทั้งหมดที่คิดไว้ก่อน a premeditated   แบบมีโครงสร้าง  หรือ โปรแกรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ ซึ่งเป็นการจัดการเนื้อหาในลักษณะเป็นลำดับเฉพาะที่มีลักษณะเป็นบทเรียนในหนังสือ   ในความเป็นจริงแล้ว  การจัดการเรียนรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นในที่ทำงาน ในรูปแบบที่ไม่มีโครงสร้างผ่านทางพูดคุย พบปะสังสรรค์  หรือ การติดต่อกันทางอีเมล์     การออกแบบโปรแกรมผสมผสานจึงอาจดูเหมือนเป็นกิจกรรมที่จับเอาการสนทนาต่างๆ และ รูปแบบเอกสารที่ไม่มีโครงสร้างต่างๆ มาใช้เป็นเหตุการณ์ในการเรียนรู้เพื่อนำมาใช้สร้างให้เป็นองค์ความรู้ตามความสนใจ  ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถสนับสนุนให้ความรู้ และ สร้างให้เกิดการทำงานร่วมกัน 

 

การผสมผสานเนื้อหาที่เลือกเองกับเนื้อหาที่ถูกแบ่งลำดับไว้แล้ว
Blending Custom Content with Off-the-Shelf Content

            การแบ่งโครงสร้างของเนื้อหาสามารถกระทำได้โดยการให้คำจำความทั่วไป  เป็นลักษณะของการจัดการเนื้อหาให้เป็นหน่วยการเรียนเดียว รวมถึงความต้องการในเนื้อหาที่ไม่คาดคิดไว้ก่อน   อย่างไรก็ตาม  เนื้อหาทั่วไปนั้นจะถูกสร้างไว้ก่อนซึ่งช่วยลดความสิ้นเปลืองด้านการผลิตและระยะเวลาได้มาก เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่ใช้บ่อย    เนื้อหาทั่วๆ ไปนั้นสามารถให้ผู้เรียนเรียนโดยควบคุมอัตราจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และผสมผสานเข้ากับประสบการณ์ที่เป็นจริง (ทั้งในห้องเรียน และ ออนไลน์)  หรือ การจัดสรรเนื้อหาสาระ   ทั้งนี้ในมาตรฐานของอุตสาหกรรมมีการใช้ SCORM  (Shareable Content Object Reference  Model)    เพื่อเป็นการเปิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างยืดหยุ่นในหลายๆ ทาง ทั้งแบบหน่วยการเรียนที่แบ่งเป็นชั้นความรู้ และ หน่วยการเรียน เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้ให้กับผู้ใช้ในขณะที่สามารถประหยัดต้นทุนได้   

 

การจัดการเรียนแบบผสมผสาน  การฝึกปฏิบัติ และสนับสนุนทักษะในการฝึกปฏิบัติ
(Blending Learning, Practice,and Performance Support)

          น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในรูปแบบการจัดการเรียนแบบผสมผสานเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้  (จุดเริ่มต้นของภาระงานใหม่) กับการฝึกปฏิบัติ (การกำหนดภาระงาน หรือ รูปแบบการจำลองสถานการณ์ในกระบวนการามดำเนินธุรกิจ )และ การส่งเสิรมทักษะในการปฏิบัติงานโดยการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสะดวกเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน  ทั้งนี้ เป็นการใช้เครื่องมือที่ผสมสานที่เหมาะกับสิ่งแวดล้อมในการทำงานเข้าโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน  กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และ การใช้เครื่องมือต่างๆ ในการสนับสนุนการทำงาน

 

ตารางที่ 1  ทางเลือกในรูปแบบการเรียนรู้

รูปแบบการใช้การสื่อสารแบบประสานเวลาทางกายภาพ

Synchronous physical  formats

 

·     เป็นการสอนแบบผู้สอนนำการเรียนรู้ในชั้นเรียน Instructor-led Classrooms &Lectures

·     การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ และการฝึกปฏิบัติจริง
Hands-on Labs & Workshops

·     การศึกษาดูงานนอกสถานที่  Field Trips

รูปแบบการใช้การสื่อสารแบบประสานเวลาในระบบออนไลน์ หรือ การสื่อสารอีเลิร์นนิงแบบสด

Synchronous online formats  (live e-learning)

·     การพบปะสังสรรค์ออนไลน์   Online Meetings

·     ห้องเรียนเสมือน  Virtual Classrooms

·     เว็บสัมมนา และบอร์ดแคส (Web Seminars and  Broadcasts)

·     การสอนแนะบนเว็บ  (Coaching)

·     การใช้การสื่อสารแบบสนทนาโต้ตอบ  (Instant Messaging)

·     การประชุมออนไลน์ (Conference Calls)

รูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควบคุมอัตราการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  และการสื่อสารแบบไม่ประสานเวลา   Self-paced, asynchronous formats

 

เอกสาร และเว็บเพจ (Documents & Web Pages)

เว็บ หรือ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการฝึกอบรมแบบโมดุล  (Web/Computer Based  Training Modules)

การประเมินผล หรือ การทดสอบ และ การสำรวจ (Assessments/Tests &Surveys)

การใช้สถานการณ์จำลอง (Simulations)

เพิ่มประสิทธิภาพงาน และการใช้งานระบบเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  (Job Aids & Electronic Performance Support  Systems (EPSS))

การบันึกเหตุการณ์สดในการเรียนรู้ในสังคมออนไลน์ และการใช้กระดานอภิปรายต่างๆ รวมทั้ง การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่  (Recorded Live Events

Online Learning Communities and Discussion Forums Distributed and Mobile Learning)

 

ที่มา : http://www.asianvu.com/bookstoread/framework/blended-learning.pdf

แปลโดย ปทุมารียา  ธัมมราชิกา

คำสำคัญ (Tags): #blended learning
หมายเลขบันทึก: 279148เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท