ใช้บล็อกในการเรียนการสอนระดับปริญญาโท


http://kmknowledge.gotoknow.org

มหาวิทยาลัยเพิ่งเปิดเทอมได้ไม่นานคะ เทอมนี้ดิฉันมีสอนวิชาการจัดการความรู้ให้กับนักศึกษา MBA ดิฉันหยุดสอนปริญญาโทไปนานปีครึ่งเพราะมุ่งใช้เวลากับการสร้างงานด้านการพัฒนาซอฟท์แวร์ร่วมกับดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์

กลับมาสอนครั้งนี้ ดิฉันลองทดลองใช้บล็อกกับการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทคะ นักศึกษาในชั้นเรียนนี้มีประมาณ 50 คน ซึ่งตอนแรกดิฉันคาดว่ามีประมาณ 30 คนเท่านั้น ดิฉันคิดว่าตัวเลขนี้ชึ้บ่งความต้องการในการศึกษาเรียนรู้ด้านการจัดการความรู้ได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจคะ

ดิฉันลองคิดและทดลองแนวการสอนโดยใช้บล็อกเป็นสื่อกลางการเรียนรู้ดังนี้คะ

  1. นักศึกษาทุกคนต้องสร้างบล็อกที่ GotoKnow.org และสมัครเข้าอยู่ในบล็อกชุมชนของ class ซึ่งมี URL คือ http://kmknowledge.gotoknow.org แต่ละอาทิตย์ต้องบันทึกเล่าประสบการณ์ความรู้ของแต่ละคนตามหัวข้อที่กำหนดไว้ เช่น สัปดาห์นี้นักศึกษาจะเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กรที่ทำงาน เป็นต้น
  2. ในชั้นเรียนแต่ละสัปดาห์
    1. ชั่วโมงเรียนจะเริ่มต้นด้วย Session ที่ดิฉันเรียกว่า Blog-Talk ซึ่งเป็นการสรุปพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่นักศึกษาได้เขียนบันทึก ได้อ่าน และได้แสดงความคิดเห็นไว้ในบล็อก
    2. ชั่วโมงที่สองดิฉันจะ Lecture เกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ซึ่งดิฉันเน้นใช้ Textbook ชื่อว่า Knowledge Management เขียนโดย E.M. Awad และ H.M. Ghaziri
    3. ส่วนชั่วโมงสุดท้ายจะเป็นการชม VCD ที่ดิฉันสั่งซื้อจาก สคส. ไม่ว่าจะเป็น การบรรยายของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช หรือ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด หรือ การประชุมวิชาการต่างๆ ที่ทางสคส. ได้จัดทำขึ้น แล้วก็ให้นักศึกษาทำการวิเคราะห์ถึงแก่นความรู้ที่ได้เขาได้จากการชม VCD แต่ละครั้งคะ
  3. ดิฉันเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ในชั้นเรียน และ การเขียนเล่าประสบการณ์ความรู้ลงในบล็อกเป็นหลักคะ ดิฉันไม่มีการสอบ Midterm หรือ Final คะ แต่มีสอบย่อยอยู่พอสมควร ดิฉันไม่คิดว่าสำหรับการศึกษาในระดับ Higher Education การสอบ Midterm อะไรทำนองนี้จะสามารถพิสูจน์การเรียนรู้ของนักศึกษาได้ อย่างน้อยคนที่มาเรียน อายุอานามก็ใช่น้อย การจะให้นั่งเขียนตอบในเวลาที่จำกัด คงไม่ได้เป็นการพิสูจน์การเข้าใจถึงแก่นแท้ของเนื้อหาวิชาคะ
  4. ชั้นเรียนเราจะมีการทำ KM Workshop ในชั้นเรียนหนึ่งครั้ง
  5. สุดท้าย เราจะมีการเชิญวิทยากรมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับนักศึกษาคะ ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นช่วงภายหลังจากที่นักศึกษาได้ลองทำ Workshop แล้วคะ

ดิฉันอยากเห็นองค์กรภาคเอกชนโดยเฉพาะองค์กรขนาดย่อมและขนาดกลาง ได้มีความรู้ความเข้าใจและได้มีการริเริ่มการจัดการความรู้ อย่างที่ทีมงาน สคส. ได้พยายามช่วยกันสร้างขีดความสามารถในด้านการจัดการความรู้ในกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ของไทยมาโดยตลอดคะ

ดิฉันบอกนักศึกษามาตลอดว่า การจัดการความรู้ต้องเริ่มที่การ ให้ อย่างบริสุทธิ์ใจก่อนคะ ดิฉันก็ไม่ทราบได้ว่าผลลัพธ์ของการเรียนการสอนด้วยวิธีที่คิดนี้จะได้ผลเลิศหรือไม่ ดิฉันก็แค่หวังไว้เล็กๆ ว่า อย่างน้อยความรู้ประสบการณ์ต่างๆ ของนักศึกษา MBA คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เขียนไว้ในบล็อกที่ GotoKnow.org แห่งนี้ คงเป็นคลังความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกๆ ท่าน

ดร.จันทวรรณ น้อยวัน

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 279เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2005 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมชื่นชมการริเริ่มนี้มากครับ  น่าจะมีรายวิชาต่เนื่อง ให้ นศ. ไปทดลองตั้งวง KM ในหน่วยงานของตน   แล้วเล่าเหตุการณ์/ประสบการณ์/Knowledge Assets (ถ้าไม่เป็นความลับ) ลง บล็อก

วิจารณ์

ขอบคุณมากคะอาจารย์ ดิฉันจะนำประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินการสอนวิชาการจัดการความรู้โดยใช้บล็อกเป็นสื่อ มาเขียนเล่าลงในบล็อกอย่างสม่ำเสมอคะ

ส่วนคำแนะนำที่อาจารย์ให้มา ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งคะ คาดว่ารอผลตอบรับจากการเรียนการสอนแบบนี้จากนศ.ก่อนซักช่วงหนึ่ง แล้วคงนำเสนอผลความพึงพอใจและข้อแนะนำต่อทางผู้บริหาร MBA คะ

    ชื่นชม และเห็นด้วยกับวิธีการที่นำเสนอครับ ผมสอนเรื่อง Blog และแนะนำ gotoknow ให้นักศึกษาทุกกลุ่มที่เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการและ ICT. ทั้ง ป.ตรี และ โท
    เทอมนี้ มีหลายกลุ่มหน่อย ป.โท 2 กลุ่ม ป.ตรี 1 กลุ่ม และพิเศษ กลุ่มผู้บริหาร รร. ที่เรียนหลักสูตรพิเศษ ป.บัณฑิตบริหารการศึกษา ในชุดวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ อีกกว่า 50 คน เพิ่งเชิญ ดร.ประพนธ์ไป หว่านเมล็ด นวัตกรรมสำคัญคือ KM ไปเมื่อ 24 มิย. ที่ผ่านมาครับ ทุกคนพอใจมาก ผมรีรอในการให้ผู้เรียนมี Blog เพราะเห็นว่าผู้สอนบางรายเข้ามาใช้แล้ว ออกอาการที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เป็นที่ให้นศ.เก็บ "ขยะความรู้" มาวางให้อ่านกันโดยไม่มีวี่แววของการใช้ความคิด หรือปัญญาแต่อย่างใด  บางทีก็เป็นที่แสดงความชื่นชมอาจารย์ผู้สอนจน "เกิน พอดี" แนวทางที่ผมทำตอนนี้ได้แก่การ ตั้ง Keyword มา 4-5 ตัวคือ สื่อสาร  สืบค้น/จัดเก็บ ประยุกต์/สร้างสรรค์ และ เผยแพร่ ประเมินผลจากงานที่ปฏิบัติเป็นสำคัญ  อาศัยการเรียนรู้แบบ Problem Based เป็นหลัก คือให้เขาทำงานตามวิธีการที่เห็นว่าดี มีประสิทธิภาพที่สุด  เอาผลงานมาดูและวิพากษ์วิจารณ์กัน เพื่อค้นหาความผิดพลาด บกพร่องและ หาทางออกหรือวิธีการที่ดีที่สุดในการทำงานนั้นๆ ทุกอย่างมีเหตุผลรองรับอย่างชัดเจนว่าทำไมต้องทำแบบนั้น ถ้าไม่ทำจะมีผลเสียหายอย่างไร ก็สนุกดีครับ ทุกคนต้องมี blog แต่ผมมีสนามย่อยให้ลงก่อน ได้แก่การใช้พื้นที่ ฟรีของ geocities บ้าง ของ pantown บ้าง สร้าง website ง่ายๆ มี board ให้ตั้งและตอบกระทู้กัน ต่อเมื่อเห็นว่ามีความพร้อมสักระยะหนึ่งจึงค่อยให้เข้ามาใช้ blog ผลจะเป็นอย่างไรคงได้นำมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท