เรื่องเล่าเสาร์ อาทิตย์ (กับภารกิจที่ อ.จะนะ จ.สงขลา) ตอน ๒


กลับมาแล้ว กลับมาด้วยความตั้งใจ ว่าจะบันทึกเรื่องราวภารกิจที่ไปทำมาวันเสาร์ อาทิตย์ให้เสร็จเพราะงานต่อไปที่จะต้องดำเนินการนั้นรอเราอยู่ (ทำจดหมายสรุปข่าว ประสานชักชวนสารชาวง่ามยวน ชวนอ่าน ให้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนในบล็อค อีกทั้งนำเสนอเรื่องราวดีดีที่คุณยศวิลิต จากอ้อมใหญ่ นครปฐมส่งมาแลกเปลี่ยนเรื่อง กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง  และงานอื่น ๆ อีกจิปาฐะ อดใจรออีกนิดนะคะ) เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ถึงตอนที่พี่ดา (กรรมการ)เข้ามาร่วมเสวนาด้วย ช่วงนั้นหนูเคเอ็ม(พี่แป้น)ก็นั่งดูบัญชีให้กับทางทีมสงขลาที่จัดทำไว้ว่าเป็นอย่างไรเดี๋ยวพี่แป้นคงมาบันทึกประเด็นเฉพาะนี้สู่กันอ่านนะคะ            

                พี่ดาเล่าให้ฟังว่าตอนนี้การทำงานก็ดี ราบรื่นในส่วนของเครื่องมือที่เพิ่มเติมเข้ามาดำเนินการในเวทีการจัดการความรู้ทุกวันที่ ๗ ของเดือนในตำบลน้ำขาวนั้นก็จัดให้มีกิจกรรม เกมเข้ามาเสริมเพิ่มเติมด้วย ไม่ว่าจะเป็น

 เกมส์เป็ด         วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ

เกมส์บอกต่อ  เพื่อชี้ให้เห็นว่าสารที่รับมานั้นเกิดความเปลี่ยนแปลงได้หากผ่านช่วงมาหลายคน ฉะนั้นพยายามเข้ามารับฟังสารนั้นโดยตรง โดยเฉพาะเรื่องการทำสัจจะวันละ ๑ บาท หากมาเข้ารับฟังแนวคิด กระบวนการ ก็จะชัดเจน เป็นต้น

(ขณะนั่งบันทึกอยู่พอดีได้คุยกับพี่ภีมเรื่องของการประชุมวันที่ ๓๐ มิ.ย ๑ ๒ ก.ค.ว่าให้ดำเนินการประกาศกำหนดการ เชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมประชุมตาม วัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว และให้ประสานกับพี่เช ที่มูลนิธิฯ ดำเนินการออกหนังสือเชิญประชุม ส่วนหนูเคเอ็มจะอำนวยความสะดวกในเรื่องของรายชื่อภาคี เครือข่าย บันทึกช่วยจำไว้ก่อนคะ ) ต่อเรื่องเก่าเลยนะคะ

เกมส์เขียนความรู้สึก                เพื่อรับฟังเรื่องราวจากใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ผลลัพท์ที่เกิดจากการฝึกกิจกรรมสัจจะลดรายจ่าย

๑)      เกิดเข้าใจในกระบวนการลดรายจ่ายวันละ ๑ บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน

๒)    ลดรายจ่ายได้จริง เช่น เมื่อก่อนพี่จะซื้อกับข้าวมากักตุนไว้เยอะจนเสียต้องทิ้งไป ก็ต้องปรับใหม่เป็นซื้อไว้พอดีแต่ละมื้อ จะได้กินอาหารสด ผักสด ๆ ดีต่อสุขภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายแบบง่าย ๆ ด้วยคะ

๓)    เพิ่มความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น พี่ไปไหนมาไหน คนโน้นก็ตะโกนทักทาย คนนี้ก็ทักทาย

๔)    ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกัน

๕)    มีงานอะไรก็บอกปากกันในที่เวทีประชุม ใช้เวทีประชุมเกิดประโยชน์ เช่น งานบุญ งานบวช บอกในเวทีไม่ต้องแจกบัตรเชิญ คนก็ไปกันทุกคนแล้ว แต่บางกรณี เช่นงานแต่งงานตามธรรมเนียมอาจจะต้องแจกบัตรเชิญบ้างเป็นต้น แต่งานอื่น ๆ ไม่ต้องเสียค่าบัตรเชิญให้สิ้นเปลือง บอกในที่ประชุมก็เรียบร้อยแล้ว

ผลสำเร็จ

คนมีความสุข

๑)      ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสิน

๒)    ได้ช่วยเหลือเพื่อน รู้จักคำว่าให้

๓)    รู้จักจ่าย

ดังกล่าวข้างต้นนี้ก็มีความสุขแล้ว ส่วนสังคมดี คนจิตใจดี ร่างกายดี ช่วยเหลือสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ก็ส่งผลให้สังคมดีแล้ว สังคมน้ำขาว ถือว่าเป็นสังคมดีแล้ว ที่นำกิจกรรมสัจจะลดรายจ่ายมาดำเนินการ (บางคำที่บันทึกอาจจะขัดเกลาเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ต้องขออนุญาตด้วยนะคะพี่อภิญญา และพี่ดา)

                คุยกันจนได้ประเด็นพอสมควรถึงแม้ว่าขณะนั่งคุยจะมีขนมขบเคี้ยวมาให้ทานบ้างเป็นระยะ ๆ แต่หุ่นอย่างหนูเคเอ็ม ไม่พอคะ ท้องไส้เริ่มปั่นป่วน พอดีกับพี่อภิญญา และพี่ดาก็ชวนกันไปรับประทานส้มตำที่ร้านสมาชิกที่เอาเงินไปลงทุน ดีใจมากคะ....อิ่มอร่อย ได้เวลาเดินทางกลับที่พัก ลืมบอกไปคะว่าครั้งนี้ไปพักที่ มูลนิธิ ดร.ครูชบ-ปราณี ยอดแก้ว ถึงที่พักประมาณ ๑๙.๓๐ น.ดูทีวี อาบน้ำชำระล้างร่างกาย พร้อมกับทำสมาธิชำระล้างจิตใจ กลับมานั่งถอดเทปบันทึกจากเวทีประชุมจังหวัดวันที่ ๔ พ.ค.ถอดไปด้วยดูหนังไปด้วย ช่างได้บรรยากาศจริง ๆ คะ (ส่วนที่ถอดได้ลงบันทึกในบล็อคคงได้อ่านกันก่อนหน้านี้แล้วใช่ไหมคะ ..หวังว่าอย่างนั้นเนอะ)

                พอแค่นี้ก่อนนะคะเดี๋ยวขออนุญาตตระเตรียมเรื่องการประชาสัมพันธ์งานประชุมปลายเดือนมิถุนายน ต้น กรกฎาคม ก่อนนะคะแล้วค่อยมาบันทึกต่อ กับภารกิจกิจกรรมในวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ เร็ว ๆนี้

หมายเลขบันทึก: 27843เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท