การฝึกงานในวันที่ 9 พฤษภาคม 2549


โปรแกรม "KUI"

          ในวันนี้ได้เข้ารับฟังการบรรยายในหัวข้อ "โปรแกรม KUI" โดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช  

ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณ (TCL), NICT Asia Research Center

ที่ห้อง 102 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. หาดใหญ่

KUI เป็นโปรแกรมทำงานบนเวบ คุณสมบัติเด่นๆเช่นการแปลศัพท์ การโหวตที่แสดงความคิดเห็น

ได้

       ทางหน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณ(TCL) ได้สร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับการสร้างแหล่งความรู้ แบบใหม่ขึ้นมา โดยตั้งใช้ชื่อว่า Knowledge Unifying Initiator หรือเรียกย่อๆ ว่า KUI หรือ "คุย" ในภาษาไทยหมายถึงการสนทนา ซึ่งคาดว่าจะมีประโยชน์ในการสร้างความรู้แบบใหม่ๆ ภายในโปรแกรมคุยนี้ประกอบด้วยคอมโพเนนต์หลายส่วน ตัวอย่างเช่น ดิกชันนารีศัพท์เทคนิค หรือประโยคทางการแพทย์ ประมวลกฏหมาย ฯลฯ มีการโต้แย้งถกเถียงได้คล้ายเว็บบอร์ด มีการ chat ยังผู้ที่ล็อกอินอยู่ในขณะนั้นได้ นอกจากนี้ในแต่ละหัวข้อที่มีการออกความเห็น ยังสามารถดูรายระเอียดของการ สนทนาในหัวข้อนั้นได้ด้วย ผู้สนใจสามารถลองใช้งานได้ที่ http://www.tcllab.org/kui

***เกร็ดความรู้เพิ่มเติมที่ได้***

*ในปัจจุบันนี้ opensource ไม่ได้หมายถึงเพียง source code เพียงอย่างเดียว แต่กลับมีทั้งส่วนของ source code เอกสาร และข้อมูลอีกด้วย และในปัจจุบันนี้ก็มี opensource  จำนวนมาก จึงต้องมีมาตรฐานของ opensource  เหล่านั้นขึ้น ที่เรียกว่า  open standard ซึ่งเป็นมาตรฐานเปิดที่ยอมรับร่วมกัน  ไม่ใช่ของเพียงองค์กรใดองค์กรหนึ่ง  เพราะปัญหาที่พบคือ ก่อนหน้านี้หากองค์กรที่ได้จดทำ opensource  ขึ้นมาตัวหนึ่ง แต่ในภายหลังคิดจะเลิกทำไป ผู้อื่นก็ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่ได้ เนื่องจากอาจมีมาตรฐานคนละตัวกัน 

*การพัฒนาความรู้

1. หาหัวข้อที่ตนสนใจ ถือเป็นการเริ่มต้นในการใช้ความคิด

2. มีการพูดคุยถึงปัญหา เสนอแนะ และแสดงความคิดเพื่อแก้ปัญหา

3. นำไปประยุกต์ใช้กับชุมชน และนำความรู้ต่างๆที่เหมาะนำมาใช้กับชุมชนมาประยุกต์ใช้

4. ตั้งประชาพิจารณ์ เพื่อฟังคำพิจารณ์จากผู้อื่น หรืออาจตั้งเป็นกระทู้นั่นเอง

*Wiki ผู้ใดสามารถที่จะเขียน หรือทำการแก้ไขอะไรก็ได้ โดยจะเก็บในส่วนของ history ไว้ สามารถจัดการได้ค่อนข้างยาก แต่จะไม่มีการโหวตให้คะแนนและไม่มีส่วนของเจตนารมณ์

*ในโปรแกรม KUI นั้น หากมีการแก้ไขในหัวข้อตนได้ post ลงไป จะส่งผลให้คะแนนโหวตถูก clear ค่าไปด้วย โดยเจ้าของความคิดนั้นๆสามารถแก้ไขและลบได้

*StarDict มีข้อดีคือ

สามารถเปิดได้แบบออนไลน์ และสามารถใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว เพียงแค่ click และวาง mouse ก็จะมีคำแปลของศัพท์คำดังกล่าวขึ้นมา สามารถใช้ได้ทั้งบน Windows และ ลินุกซ์ และสามารถ search คำตามที่เราสะกดได้อีกด้วย เป็นการช่วยป้งกันการสะกดคำผิดอีกทางหนึ่งด้วย

*บางเว็บไซต์มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเซตค่า charset เพราะหากมีการเซตค่าผิดไปนั้น ก็จะทำให้ browser ไม่สามารถอ่านภาษานั้นๆได้ และสำหรับในภาษาไทยไม่ควรจะเซตเป็น windows 874 เนื่องจากไม่ค่อยได้มาตรฐานและมักมีปัญหาในการอ่านภาษา ควรจะใช้แบบ UTF-8 หรือ ISO

สามารถศึกษารายละเอียดต่างๆเพิ่มเติมได้จากบทวคามของคุณ dankejung http://gotoknow.org/archive/2006/05/09/18/18/31/e27731

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27833เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท