ปฏิรูปการศึกษากับ ๘ คุณธรรมพื้นฐานที่ควรปลูกฝัง


ตัวอย่างปฏิรูปการศึกษากับ ๘ คุณธรรมพื้นฐานที่ควรปลูกฝัง

 ได้เข้าไปอ่านและคิคว่ามีประโยชน์ก็เลยนำมาไว้ให้ได้อ่านและศึกษากัน(น่าสนใจมากครับ)

วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง



ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีแก่ชนชาวไทยโรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ทุกคนกลับมามอง คิดวางแผนการใช้ชีวิต ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว ในสังคมและได้แบ่งปันเอื้อเฟื้อกันมากขึ้น และที่สำคัญได้เรียนวิธีการปลูกพืชจากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ดังนั้นในปี ๒๕๕๐ โรงเรียนมีโครงการที่จะขยายหลักปรัชญาแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ไปสู่นักเรียนและชุมชนโดยให้นักเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ เมื่อดำเนินการแล้วจะมีการคัดเลือกตัวแทนครอบครัวที่เป็นตัวอย่างมอบเกียรติบัตร เพื่อเป็นการทำความดีถวายพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสแห่งปีมหามงคลและเพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศรอดพื้นจากภาวะวิกฤติที่รุมเร้าอยู่ในขณะนี้ จากสภาพดังกล่าวโรงเรียนวรคุณอุปถัมถ์จึงมีความสนใจที่จะนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างความตระหนักโดยปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้และองค์ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่นักเรียนและชุมชน ในปีการศึกษา ๒๕๕๐ นำผลดำเนินการการไปศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ร่วมกับนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ในการนำแบบอย่างและองค์ความรู้ที่จะดำเนินวิถีชีวิต โดยกระบวนการเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป


พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง


“ขอให้ทุกคนมีความปรารถนา ที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกินมีความสงบ และทำงาน ตั้งอธิษฐาน ตั้งปณิธานในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพอกิน ไม่ใช่ว่า จะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่มีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ ฉะนั้น ถ้าทุกท่าน ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิด และมีอิทธิพล มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวม ให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่ พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่า อยู่ตลอดกาล”

พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

“เพราะความพอเพียงหมายถึง การที่มีความพอ คือ มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดนี้ คนเราก็อาจจะเป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีความหรูหราได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔

 

หลักการ แนวคิด ของเศรษฐกิจพอเพียง



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐ ซึ่งต่อมาได้มีการนำแนวความคิดไปปฏิบัติกันหลายหน่วยงาน แต่คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรเท่านั้น ซึ่งแท้จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น ก็สามารถน้อมนำแนวพระราชดำรัสไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งสิ้น หลักสำคัญคือ ปรัชญา ๓ ห่วง 2 เงื่อนไข ประกอบด้วย หลัก ๓ ห่วง คือ ๑.)ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ๒.) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับความพอเพียงนั้น ๆ จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น อย่างรอบคอบ ๓.) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ กับ หลัก ๒ เงื่อนไข คือ ๑.) ความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) ๒.) คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน ) "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๔๐ ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ในด้านการศึกษา ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ยึดทางสายกลางที่อยู่บนพื้นฐาน ของความสมดุล พอดีพอประมาณอย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนไทยเพื่อมุ่งให้เกิด “การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย” (แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕- ๒๕๕๙) ด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประเทศในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภาพนอกได้เป็นอย่างดี (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙) และต่อเนื่องถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔) มีแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นแนวทางปฏิบัติควบคู่ไปกับการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม “ที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” เพื่อการพัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปในทางสายกลาง บนพื้นฐานดุลยภาพเชิงพลวัตของการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการเมือง โดยมีการวิเคราะห์ “มีเหตุผล” และใช้หลัก “ความพอประมาณ” ให้เกิดความสมดุลระหว่างมิติทางด้านวัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ความสมดุลระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง โดยมีการเตรียม “ระบบภูมิคุ้มกัน” ด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เพียงพอพร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ขับเคลื่อนการพัฒนาใช้ความรู้คู่คุณธรรม (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔) และนโยบายรัฐบาลเน้นคุณธรรมนำความรู้ และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข จากการศึกษาพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง หลักการ แนวคิด ของเศรษฐกิจพอเพียง หากนำไปสู่การปฏิบัติจะก่อเกิดความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี แก่ตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยโรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์นำแบบอย่างในการเรียนรู้วิถีชีวิต โดยกระบวนการเศรษฐกิจพอเพียงขยายหลักปรัชญาแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ไปสู่นักเรียนและชุมชน ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนด้วยคุณธรรมนำความรู้ โดยเฉพาะ ๘ คุณธรรมพื้นฐานการนำแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ซึ่งจะเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิตให้สังคมไทยเกิดความสงบสุข เนื่องจากปัจจุบันประชาชนคนไทยได้รับผลกระทบจากหลาย ๆด้านที่ทำให้เกิดปัญหา เช่นผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ส่งผลให้ครอบครัวเกิดความห่างเหิน ขาดความสามัคคี และไม่รู้จักการเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม จึงเกิดผลต่อความประพฤติที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กไทย เยาวชนไทยไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา สนใจแต่วัตถุนิยม ไม่รู้จักการประมาณตน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่ออนาคตของชาติถ้าหากนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จะเกิดประโยชน์ทางตรงในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม เพราะ หากสถาบันครอบครัวมีความอบอุ่น ย่อมส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เมื่อชุมชนเข้มแข็งย่อมทำให้ประเทศเกิดความสงบสุขรอดพื้นจากภาวะวิกฤติที่รุมเร้าอยู่ในขณะนี้

นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเผยแพร่สู่นักเรียนและชุมชน



๑. สร้างความตระหนักโดยปฏิบัติเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้

๑.๑ จัดกิจกรรมประกวดการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในบริเวณบ้านพักครูภายในโรงเรียน โดยมีการประเมินจากคณะกรรมการที่เป็นบุคลากรในโรงเรียนออกเยี่ยมชมและให้คะแนน ๓ ครั้ง สรุปผลมอบเกียรติบัตร ๓ รางวัล มอบโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

๑.๒ จัดกิจกรรมเปิดศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและจัดกิจกรรมการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มอบเกียรติบัตรให้นักเรียน

๑.๓ พิธีเปิดศูนย์วิชาการเศรษฐกิจพอเพียงและเชิญกรรมการสถานศึกษาผู้ปกครอง ชุมชน หัวหน้าส่วนราชการมาเยี่ยมชมการจัดกิจกรรมเศรษฐกิจของบ้านพักครู พร้อมแจกจ่ายผลผลิตของแต่ละบ้าน

๒. นำองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่นักเรียนและผู้ปกครอง ในปีการศึกษา ๒๕๕๐ โดยมีเป้าหมายของการนำนวัตกรรมสู่การปฏิบัติก่อเกิดผลดังนี้

ผลที่เกิดกับนักเรียน


โดยธรรมชาติของนักเรียนที่อยู่ในช่วง ๑๓-๑๘ ปี จะไม่ชอบการออกคำสั่ง หรือการบังคับ ดังนั้นการปลูกฝังคุณธรรม ถ้าหากใช้วิธีการเดิม ๆ คือ การอบรมคุณธรรม จริยธรรม ย่อมไม่เกิดผลตามวัตถุประสงค์จึงต้องใช้วิธีการทางอ้อมในการสร้างเสริมคุณธรรม โดยใช้แรงจูงใจทางบวกให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นและภูมิใจในตัวเอง การปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่นักเรียนย่อมเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นแรงจูงใจที่ดี เมื่อมีการส่งเสริมให้ทำและสร้างแรงจูงใจด้วยการมอบเกียรติบัตร สิ่งที่ได้จาการทำกิจกรรมโดยตรง คือความสามัคคีและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัว ระหว่างครูกับนักเรียน ระหว่างครูกับชุมชน และระหว่างคนในชุมชนด้วยกัน ผลทางอ้อมคือเป็นการเสริมสร้างคุณธรรมให้กับนักเรียนควบคู่กับการทำกิจกรรม ซึ่งไม่เป็นการฝืนความรู้สึกของนักเรียนที่อยู่ในวัยนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโดยเริ่มจากความสัมพันธ์และความสามัคคีจากสถาบันที่สำคัญและใกล้ชิดกับเยาวชนไทยมากที่สุด คือครอบครัว หากครอบครัวมีความอบอุ่น มีเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เด็กก็จะได้รับการเพาะบ่มนิสัยและจิตใจที่ดีเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันจากสิ่งที่เป็นอันตรายทั้งหลาย ประโยชน์ทางอ้อมคือ เป็นการปูลกฝังคุณธรรมให้เกิดขึ้นในจิตใจของเยาวชนโดยไม่รู้ตัว เพราะการดำเนินกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จได้นักเรียนต้องมีคุณธรรมทั้ง 8 ประการ คือ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ คุณลักษณะเหล่านี้ย่อมส่งผลให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน

ผลที่เกิดกับโรงเรียน


เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพื่อการประสานสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและเพื่อความก้าวหน้าในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนในอนาคต ดังนั้น ถ้าโรงเรียนที่พัฒนาจนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณภาพตามที่คาดหวังแล้ว สิ่งที่ติดตามมาคือ ความรักและความศรัทธา ของผู้ปกครอง ชุมชนที่มีต่อโรงเรียนซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการสนับสนุนช่วยเหลือให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

ผลที่เกิดกับผู้ปกครองและชุมชน


การนำแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ซึ่งจะเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิตให้สังคมไทยเกิดความสงบสุข เนื่องจากปัจจุบันประชาชนคนไทยได้รับผลกระทบจากหลาย ๆด้านที่ทำให้เกิดปัญหา เช่นผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ส่งผลให้ครอบครัวเกิดความห่างเหิน ขาดความสามัคคี และไม่รู้จักการเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม จึงเกิดผลต่อความประพฤติที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กไทย เยาวชนไทยไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา สนใจแต่วัตถุนิยม ไม่รู้จักการประมาณตน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่ออนาคตของชาติถ้าหากนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จะเกิดประโยชน์ทางตรงในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม เพราะ หากสถาบัน ครอบครัวมีความอบอุ่น ย่อมส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เมื่อชุมชนเข้มแข็งย่อมทำให้ประเทศเกิดความสงบสุข

ด้วยหลักการ แนวคิด ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักสำคัญคือ ปรัชญา ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ประกอบด้วย ๓ ห่วง คือ ๑.) พอประมาณ ๒.) มีเหตุผล ๓.) สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีจากผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ว่าจากภายนอกหรือภายใน ๒ เงื่อนไข คือ ๑.) ความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) ๒.) คุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน ) ซึ่งจะเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิตให้สังคมไทยเกิดความสงบสุข จากวิถีชีวิต โดยกระบวนการเศรษฐกิจพอเพียง (ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง) สถานศึกษาจึงมีความสนใจที่จะนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างความตระหนักโดยปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้และนำองค์ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่นักเรียนและชุมชน โดยมีเป้าหมาย ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง ครู มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกิดขวัญกำลังใจ นักเรียน มีคุณธรรมพื้นฐาน ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ ชุมชน มีความสามัคคี เกิดความสงบสุข ซึ่งวิกฤติการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ หากทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกชุมชน ทุกสังคม ทุกภาคส่วนน้อมนำไปปฏิบัติเชื่อว่าวิกฤติใดๆ ก็จะผ่อนคลายไปอย่างสิ้นเชิง เกิดฐานครอบครัวที่อบอุ่น ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง เมื่อชุมชนเข้มแข็งย่อมทำให้ประเทศเกิดความสงบสุข หากคนไทยทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและเข้าถึงแก่นแท้ การดำเนินตามวิถีชีวิต โดยกระบวนการเศรษฐกิจพอเพียง นี้แล้ว นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ยังช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศเพราะคุณประโยชน์ที่แฝงไว้ โดยเฉพาะความสามัคคี สามารถช่วยให้คนในชาติมาปรองดองกันและผ่อนคลายวิกฤติของสังคมไทยต่อไป


อ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). ๘ คุณธรรมพื้นฐาน. (โปสเตอร์).

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง. ค้นคว้าจาก
www.fda.moph.go.th/depart/FDAClear/enoughtheory.pdf

พระราชดำรัสเศรษฐกิจแบบพอเพียง. ค้นคว้าจาก http://www.mamalover.com/mamalifestyle_king.php

โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์, (2550). วารสารฉบับพิเศษ. ปีที่ 3 ฉบับที่ 4

วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก. ค้นคว้าจาก http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=332

สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. แผนการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2545-2559.

สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9. พ.ศ. 2545-2549.

สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. พ.ศ. 2550-2554.

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่, ศูนย์สารสนเทศ. เศรษฐกิจแบบพอเพียง. ค้นคว้าจาก http://www.prdnorth.in.th/The_King/justeconomic.php



ค้นคว้าเพิ่มเติม.

กระทรวงศึกษาธิการ
http://www.moe.go.th/

นโยบายรัฐบาล
http://www.onec.go.th/policy/policy_g.htm

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
http://www.obec.go.th./index.htm

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
http://www.onec.go.th

อ้างอิงนำมาจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/32103
ต้องขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ
หมายเลขบันทึก: 278252เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 01:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

  • การสอนคุณธรรมนักเรียนไม่ค่อยได้ผล  เพราะขาดการฝึกปฏิบัติจริงอย่างสม่ำเสมอ
  • เมื่อฝึกแล้วควรติดตามผลอย่างต่อเนื่อง  ใช้วินัยเชิงบวก ไม่ลงโทษด้วยวิธีการที่รุนแรง  เพราะจะทำให้เด็กเกิดความไม่ศรัทธาแ

สวัสดีค่ะ

  • ทดลองใช้ซิมสำหรับเน็ตความเร็วสูง
  • เขียนยังไม่เสร็จ  ไม่ทราบมือโดนส่วนไหน  ส่งไปแล้ว
  • ขอตอ่นะคะ...และเกิดการต่อต้านภายใน
  • ขอขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากคะสำหรับเนื้อหาและสาระที่นำมาเป็นวิทยาทาน

ดีมากคะ

สวัสดีครับ

ผอ.บวรP
P
 ครูคิม 
 P
ครูกรรณิการ์ จินดารมย์ 
ขอบคุณที่มาทักทายครับ
และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ...ด้วยความยินดี
 



 

สวัสดีค่ะคุณประเสริฐ

เรามีกิจกรรมดีดีมาให้สมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนกันอย่างต่อเนื่องค่ะ

และถ้าจัดเมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบนะค่ะ ^_^

ทางทีมงานได้ประสานงานเรื่องการส่งของที่ระลึกไปทางอีเมลแล้วนะค่ะ และจะรออีเมลตอบกลับค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ควรเป็น ๙ ประการ

เพิ่มกตัญญู

ข้อนี้ขาดไม่ได้นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท