brochill
วราวรรณ จันทรนุวงศ์(ศิริอุเทน)

Science and Philosophy


Science and Philosophy

วิทยาศาสตร์ (science) เกี่ยวข้องกับปรัชญา (philosophy) อย่างไi

จะเห็นได้ว่าในอดีตไม่มีการกล่าวถึงวิทยาศาสตร์เลย พูดถึงแต่เฉพาะปรัชญา

ยังไม่ได้กล่าวถึงว่าทั้งสองสิ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน หรือมีอิทธิพลต่อกัน จนกระทั่งในประวัติศาสตร์การศึกษาการเคลื่อนที่ของ Pendulum ได้มีการกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ (science) กับปรัชญา (philosophy) ว่าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ต้องไปด้วยกัน มีการอธิบายถึงการจำกัดเวลา, ความสัมพันธ์ระหว่างการสังเกตกับการทดลอง, ความแตกต่างระหว่างความจริงภายใน (reality) กับความจริงภายนอก (truth), กฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์, และการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตลักษณะต่างๆ ภายนอกในการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น จนกระทั่งถึง ปี ค.ศ. 1834 จึงมีการใช้คำว่าวิทยาศาสตร์ (scientist) จึงดูเหมือนนักวิทยาศาสตร์เป็นนักปรัชญาในเวลาเดียวกัน เรียกนักวิทยาศาสตร์สมัยนั้นว่า นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher) หรือ “a philosopher in workingman’s clothes” การทำงานของนักวิทยาศาสตร์มีการอธิบายถึงปรัชญาเกี่ยวกับศาสตร์ที่ว่าด้วยความจริงตามธรรมชาติ (metaphysics) ว่าความเป็นจริงคืออะไร ความจริงที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นคืออะไร ความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์คืออะไร แต่ก็ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่หลายประการ เช่น อริสโตเติลกับกาลิเลโอ เกี่ยวกับเรื่องเหตุและผล, กาลิเลโอกับเคปเลอร์เกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง, นิวตาเนี่ยนกับคาร์เทเชี่ยนเกี่ยวกับระยะทาง, นิวตันกับเบิร์กเลย์เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของช่องว่างกับเวลา, นิวตันกับเฟรสเนลเกี่ยวกับทฤษฎีของแสง, ปาเลย์กับดาร์วินเกี่ยวกับการออกแบบและเลือกตามธรรมชาติ, มาชและพลังก์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของทฤษฎีอะตอม, ไอน์สไตน์กับโคเป็นเฮเก็นเกี่ยวกับการตีความเกี่ยวกับทฤษีอะตอมของควันตัม ทั้งหมดเหล่านี้นำไปสู่ประเด็นการอภิปรายเกี่ยวกับศาสตร์ที่ว่าด้วยความจริง (metaphysics) ซึ่งมีอยู่ในตัววิทยาศาสตร์อยู่แล้ว (Metaphysics is inherent in science) วิทยาศาสตร์อยู่ภายใต้กรอบของปรัชญา และถ้าไม่มีกรอบหรือความรู้ที่มีอยู่ก่อนจะสามารถเกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ได้หรือไม่ หรือมีโอกาสที่จะเกิด “free will” ได้หรือไม่ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วแทบไม่มีเลยเนื่องจากที่ผ่านมาทุกเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ (paradigm shift)ย่อมมีสิ่งที่จะทำให้เกิดขึ้นสะสมมาเรื่อยๆ  เช่น นิวตันพบความรู้ใหม่เกี่ยวกับกฎการเคลื่อนที่เพราะการศึกษาเรื่องเวลาของกาลิเลโอ  หรือถ้าไม่มีโคเปอร์นิคัส เคปเลอร์ และกาลิเลโอก็ไม่มีเรขาคณิตของยุคลิด

                ดังนั้น การสอนวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนต้องรู้และเข้าใจในปรัชญาวิทยาศาสตร์ ครูต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ต้องสามารถแยกแยะให้ได้ว่าสิ่งนั้นเป็นจริงหรือเท็จ ถูกหรือผิด มีข้อพิสูจน์อะไรบ้างที่ช่วยสนับสนุนความรู้นั้น มีอะไรที่ขัดแย้ง มีการคิดไตร่ตรอง รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ใหม่ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น สามารถนำบริบทอื่นๆ เข้ามาช่วยอธิบาย ช่วยในการตัดสินใจว่าเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ปรัชญาช่วยปรับมโนมติของครูเกี่ยวกับความเป็นจริง จากนั้นเมื่อครูเข้าใจในปรัชญา ครูจึงจะสามารถ ชี้แนะ กระตุ้น ส่งเสริมนักเรียนให้รู้จักพิจารณาเหตุการณ์ มีการใช้คำถามที่เป็นเชิงปรัชญา เช่น นักเรียนหมายความว่าอย่างไร นักเรียนสามารถรู้ได้อย่างไร ควรทำการศึกษาเรื่องนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด หรือเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พิจารณาความรู้นั้นด้วยเหตุด้วยผล สามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมด้วย

หมายเลขบันทึก: 278246เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท