ขุมความรู้ "เทคนิคการสอนนิสิตกลุ่มใหญ่"


สืบเนื่องจาก ประกาย KM คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มน. ที่ดิฉันได้บันทึกไว้แล้ว  ข่าวดีค่ะ  เมื่อวานนี้ ดิฉันได้รับ mail สรุปผลการเสวนาในวันนั้นแล้ว  ส่งมาจากคุณดวงเดือน (ต้า) : นักวิชาการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์  ดังนี้

  • กฎข้อ 1 หา KV ให้ได้ก่อน  :  อะไรคือปัญหาร่วมของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ 
 1. ผศ.ดร.กัลยา  ปรีชานุกูล
 
  •  จำนวนนิสิตเยอะ
  • ไม่มีอิสระในการจัดตารางสอนเอง
 2. ดร.สงกรานต์ เชื้อครุฑ
  • ไม่สามารถเข้าถึงตัวนิสิตได้
  • การ Response ของนิสิตกับผู้สอน ไม่รู้จะใช้กลยุทธ์อะไรให้นิสิตคิดเป็น
 3. ดร.อภินันท์  ลิ้มมงคล
  •  Mass Production
  • นิสิตไม่สามารถนำทฤษฎี มาปฏิบัติได้
  • ไม่ได้ feed back จริง ๆ
 4. อ.ทักษณี  มหาศิริพันธุ์
  • อาจารย์ผู้สอน ประสบการณ์น้อย ขาดกลยุทธ์,วิธี,ตัวอย่างน้อย, ไม่มั่นใจ, Integrate ความรู้ไม่ได้
  • ผู้เรียน เด็กไม่ฝึกคิด, ไม่โต้ตอบ
  • กิจกรรมสำหรับกลุ่มเล็กจะทำได้ดี
 5. อ.ปาริชาต  เทอญชูชีพ
  • Topic มีมาก  เวลาจำกัด
  • มักมี Topic ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามา
  • นิสิตหลากหลายกลุ่ม ความต้องการของแต่ละสาขาไม่เหมือนกัน
 6. ดร.สุขกิจ  ยะโสธรศรีกุล
  • นิสิตเป็น Passive learner
  • นิสิตไม่สามารถ integrate ไม่คิด-วิเคราะห์ เรียนรู้เฉพาะที่อาจารย์สอน
 7. ดร.กรองกาญจน์ ชูทิพย์
  • ส่วนของอาจารย์ไม่ค่อยได้แลกเปลี่ยนกันด้านสาระ และ Topic ที่สอน / เทคนิคการสอน
  • กำหนด KV : What is the main issue you have to deal with?  สรุปได้ว่า

  " เทคนิคการสอนกลุ่มใหญ่ = หัวปลา = KV " 

  • กฎข้อ 2 - พูดคุยกับคนที่มี Tacit Knowledge : - Adapt good practices into your own context
    • ควรเป็นกลุ่มเล็ก ไม่เกิน 10 คน
    • ให้ facilitator ในกลุ่ม อำนวยการกลุ่มให้ได้เล่าเรื่องทุกคน คนละประมาณ 5 นาที
    • ผู้เล่า เล่า โดยไม่ตีความ ให้เห็นตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องเห็นอารมณ์คล้อยตามให้ in บรรยากาศทำงาน ไม่เอาทฤษฎีมาพูด เล่าเรื่องแบบเล่านิทาน : Story telling
    • ให้ facilitator (คุณอำนวย) ช่วยสรุปเป็นระยะ ๆ
    • ให้มีคุณ ลิขิต : Note taker ช่วยบันทึก
    • ผู้ฟังให้ฟังอย่างตั้งใจ : Deep listening
    • ฟังแล้วคิด คิดแล้ววิเคราะห์

ตกผลึกเรื่องเล่า ชาวอาจารย์ วิธีทำให้นิสิตกลุ่มใหญ่สนใจการเรียนรู้มากขึ้น ดังนี้

 ประเด็นเรื่องเล่า  เรื่องเล่า  ผู้เล่า
สอนให้ถาม (ล่อด้วยคะแนนการตั้งคำถาม) จะทำเอกสาร / Out line ให้นิสิตอ่านล่วงหน้า เวลาให้นิสิต Present งาน จะให้คะแนนแก่ผู้ฟังที่ตั้งคำถามด้วย  มีการท้าวความหัวเรื่องให้เชื่อมโยงกัน Follow topic มีการทวนของเก่าก่อนเริ่มสอนใหม่ อ.วิมลรัตน์ หออัษฎาวุธ
     
สอนวิธีการเรียน  และสอนคุณธรรมแก่นิสิตด้วย

ให้รายละเอียดในสื่อการสอน + Topic out line  ให้เวลาเด็กนอกห้องเรียนอย่างเต็มที่  บอกวิธีการเรียนรู้จากการ Take note  เด็กถามวิธีการอ่านหนังสือว่าอ่านอย่างไร  สอนจริยธรรมกับนิสิตด้วย

อ.ปาริชาต เทอญชูชีพ
     

ให้นิสิตสอนกันเอง ผ่อนคลายบ้างถ้าสอนนาน 

วิชาที่เอื้อให้นิสิตมีส่วนร่วม ได้ให้นิสิตที่มีประสบการณ์ตรงมาเล่าประสบการณ์ให้เพื่อนฟัง เช่น การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่  บางครั้งต้องพักคุยนอกเรื่อง ยกประเด็น Hot issue ต้องพักเป็นระยะ เช่น 10 นาที ถ้าต้องสอนหลายชั่วโมง อ.ทิพย์ภาพร บัวเลิง
     
สอนด้วยภาพ คอยตั้งคำถามเป็นระยะๆ  พยายามทำ Power Point ให้มีภาพน่าสนใจ  ถ้าออกนอกเรื่องเด็กจะสนใจ ยกตัวอย่างเพื่อดึงความสนใจโดยเฉพาะ จะชอบ2 แง่ 3 ง่าม ถ้ามี Hand out ให้ก่อน นิสิตจะไม่สนใจ ดร.สงกรานต์  เชื้อครุฑ
     
กระตุ้นด้วยเสียงที่มีพลัง ถ้านิสิตคนไหนหลับก็จะให้เพื่อนปลุก  น้ำเสียงที่สอนมีส่วนอย่างมากที่จะกระตุ้นให้ผู้ฟังสนใจมากน้อยเพียงใด การเรียกชื่อให้ตอบ  การเล่านอกเรื่องบ้าง ก็ช่วยได้  ผศ.ดร.กัลยา ปรีชานุกูล
     
สอนด้วยงานวิจัย ให้เด็กมาเล่าประสบการณ์  ยกตัวอย่างงานวิจัยให้นิสิตได้คิดอย่างมีเหตุผล  ตัวอย่าง การทดลองเกี่ยวกับยาเสพติด  สอดแทรกตัวอย่างใกล้ตัว เช่น ข่าวสารต่าง ๆ เรื่องใกล้ตัว เช่น สุขภาพ อ.ทักษณี มหาศิริพันธุ์
     
สอนด้วยข้อสอบ  หาข้อสอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาไว้ก่อน บอกว่านี่คือ ข้อสอบที่อาจารย์เคยออก เฉลย และอธิบายให้เชื่อมโยง ไม่นั่งสอน แต่จะใช้ Pointer ยืนสอน ดร.อภินันท์ ลิ้มมงคล
     
สอนด้วย Model เชื่อมโยงสิ่งที่พูดและการยกตัวอย่างเป็น Case ให้เด็กเข้าใจ ใช้ไมค์ลอย เพื่อให้เด็กมีส่วนร่วม หากิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำร่วมกัน หา Model จริง ๆ  และขึ้นฉายบนเครื่องฉายแผ่นทึบให้เห็นภาพจริง ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์
     
สอนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่น่าสนใจ ใช้ VDO ของจริง เช่น การคลอด  จ้องมองเด็กไปรอบ ๆ ห้องให้เด็กตื่นตัว  การใช้น้ำเสียง ดร.อรระวี  คงสมบัติ
     
สอนแล้วสอบ ใช้ข้อสอบดีที่สุด บอกนิสิตว่าจะ Quiz ท้ายชั่วโมง  มี Out line  สรุปสิ่งที่ควรจะรู้ตอนท้ายชั่วโมง ดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล
     
กระตุ้นให้สนใจด้วยการแข่งขันระหว่างกลุ่ม สอนห้องใหญ่ยาก ต้องใช้วิธียืนสอน ถามเชิงแข่งขันระหว่างกลุ่ม   ดร.จันทร์จิรา วสุนธราวัฒน์
     
สอนให้เชื่อมโยง สอนให้จับประเด็น สอนให้เห็นความเชื่อมโยงของ slide ต่าง ๆ สรุปประเด็นสำคัญเป็นระยะ  สลับมาใช้แผ่นทึบ  คอยกระตุ้นถามว่า ความรู้ที่มีอยู่ปัจจุบันคืออะไร  อะไรที่รู้แล้ว อะไรที่ยังไม่รู้ ดร.กรองกาญจน์ ชูทิพย์


AAR (After action review)

อ.วิมลรัตน์ หออัษฎาวุธ      จะทำ Blog ของตัวเอง
อ.ปาริชาติ เทอญชูชีพ      พัฒนาตัวเองให้เป็นครูที่ดีกว่าเดิม
อ.ทักษณี มหาศิริพันธุ์      สิ่งที่ทำให้เด็กได้คิด จะทำให้เด็กไม่หลับ
อ.ทิพย์ภาพร บัวเลิง      ได้รู้จัก KM มากขึ้น, ได้เทคนิคนำไปใช้
ดร.อรระวี  คงสมบัติ      ได้รู้จัก KM มากขึ้น, website, Blog, GotoKnow.Com., AAR     ไปใช้ในการสอนในรายวิชา
ดร.อภินันท์ ลิ้มมงคล      เคยปฏิบัติอยู่แล้วแต่ไม่ทราบว่าเป็น KM, เป็นประโยชน์, ยังไม่เคยเห็นบรรยากาศการฟังจริง ๆ ของอาจารย์  จะนำไปใช้    ในลักษณะเปิดใจมากขึ้น
ดร.สงกรานต์ เชื้อครุฑ       ได้เรียนรู้ Process จริง, ได้เทคนิคของอาจารย์แต่ละท่าน,ใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน
ผศ.ดร.กัลยา ปรีชานุกูล    ได้รู้ KM, Session ตอนบ่ายมีความชัดเจนขึ้นในด้าน Process,     ตั้งใจฟังเพื่อยึดเป็นแนว
ดร.วิสาข์   สุพรรณไพบูลย์    อาจารย์พูดได้ดี, ชัดเจน, กระจ่าง, เคยใช้แต่ไม่ทราบรายละเอียด, ทำให้ทราบรายละเอียดมากขึ้น
ดร.จันทร์จิรา วสุนธราวัฒน์    ได้รู้ Process, ได้เทคนิคที่จะนำไปใช้, AAR
ดร.กรองกาญจน์ ชูทิพย์    เข้าใจ KM มากขึ้น, approach สำคัญในการทำ KM
ดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล      เข้าใจ KM มากขึ้น, สิ่งที่คุยกันวันนี้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้
ดร.สุภาพร ชื่นชูจิตร      ไม่เข้าใจ KM มาก่อน ทำให้เข้าใจมากขึ้น จริง ๆ ได้ทำอยู่แล้ว ที่สำคัญคือ KV ต้องกำหนดให้แน่ ๆ บางครั้งประเด็นความสนใจร่วม, ปัญหาร่วมต้องมีแต่ต้องมีความแตกต่างในมุมมอง  ต้องจด และเก็บประเด็นให้ได้  มี Positive Thinking


ปัญหาอื่น ๆ

  • ความไม่ยั่งยืนของ CoPs. แต่อาจเป็นเพราะปัญหาได้ถูกแก้ไปแล้ว อาจต้องยุติ CoPs. และสร้าง CoPs ใหม่ขึ้นมา
  • ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
    • ในรายวิชาที่สอนกันหลาย ๆ คน หลากหลายหัวข้อ มักขาดการพูดคุยกันเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงของเนื้อหาในเชิงบูรณาการ เพราะต่างคนจะต่างสอนในหัวข้อที่ตนเองรับผิดชอบไม่ค่อยได้สนใจว่าคนอื่น ๆ สอนในรายละเอียดอย่างไรและจะให้เกิดความเชื่อมโยงกันอย่างไร
    • ปัญหาเรื่องจำนวนนิสิตที่มาก ทำให้การดูและไม่ทั่วถึง เช่น การฝึกทักษะปฏิบัติต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ

ขอขอบคุณคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์กรองกาญจน์  ชูทิพย์  และคุณดวงเดือน (ต้า) ที่กรุณาเอื้อเฟื้อ สรุปการเสวนานี้มาให้เผยแพร่ใน Gotoknow

 

หมายเลขบันทึก: 27794เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
จักรีสิทธิ์ จินดาวงศ์

เป็นประโยชนน์มากครับอาจารย์ เป็นขุมความรู้จริงๆครับ เพื่อจะได้นำไปปรับใช้ได้เลยครับ

ขอบคุณอาจารย์ครับ

กรองกาญจน์ ชูทิพย์

ในนามของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์มาลินี ธนารุณ เป็นอย่างสูงค่ะที่ทำให้คณะได้เข้าใจ KM มากขึ้น และได้กรุณานำสิ่งดีๆมาเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการคณะคงต้องขออนุญาตนำสิ่งที่อาจารย์สรุปเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันกลับไปเป็นตัวอย่างการทำ KM ให้กับอาจารย์ในคณะอีกครั้งตอนนี้บางภาควิชาของคณะเริ่มเสนอกิจกรรมต่อยอดจากการประชุมในว้นที่อาจารย์ไปช่วยอบรมแล้วนะคะ เช่น ภาควิชาสรีรวิทยากำลังจะทำ KM เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในการพัฒนาการสอนปฏิบัติการสรีรวิทยาค่ะ อาจารย์ในภาควิชาได้พูดคุยกันว่าจะทำ blog การสอนปฏิบัติการสรีรวิทยา ขึ้นมาด้วยค่ะ  ขอขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์มาลินี...                                

  • อ่านแล้วได้ข้อคิดมากมายครับ
  • มีเรื่องการฉีดอากาศ (air) ไปในเครื่องฉีดสารทึบรังสี (infector) มาฝาก เป็นอุบัติเหตุที่คนเก่งช่างแก้ไขได้ทันท่วงที เรื่องร้ายเลยกลายเป็นเรื่องดี อ่านที่นี่ >>>

    http://content.nejm.org/cgi/content/full/354/25/e26?query=TOC

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท