โครงการพัฒนางาน สำนักงานอธิการบดี มอ.
เกิดขึ้นด้วยนโยบายที่จะเพิ่มผลผลิตเชิงคุณภาพและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่งเสริมให้คนหน้างานคิดพัฒนางานที่ทำอยู่
รายละเอียดโครงการกำหนดไว้ว่าแต่ละคนสามารถส่งโครงการผ่าน
ผู้บังคับบัญชาตามลำดับมายัง งานพัฒนา กจ. แบ่งกลุ่มโครงการเป็น
ประเภท
A เพื่อการเพิ่มคุณภาพผลผลิตหรือการพัฒนาสิ่งใหม่
ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ หน่วยงาน องค์กร
ประเภท B การเพิ่มผลผลิตหรือการบริการของงาน เน้นประหยัด ลดการใช้ทรัพยากร แรงงาน วัสดุ หรือประเภทพยายามบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงาน เพื่อประโยชน์ต่อผู้รับบริการ หน่วยงาน องค์กร
ประเภท C การพยายามจัดระบบการทำงานของงานให้เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัว การหาแนวทางปรับปรุงกิจกรรม หรือทำกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพ
ในโครงการมีเงินสมนาคุณตอบแทนตามมูลค่าโครงการ เรียกว่า "เงินติดปลายนวม" ไม่มาก ตอบแทน โดยมีเพดานการจ่าย ต่อรอบปีของโครงการ (ปี พ.ศ.) หลักเกณฑ์พิจารณามูลค่าโครงการมุ่งเน้นตามประเภท A B C ข้างต้นแล้ว จุดที่พิจารณาอีกจุดคือโครงการที่มีผู้ร่วมเป็นทีมงานหลายคนสร้างการทำงานร่วมกันเป็นทีม งานชิ้นนี้รับผิดชอบโดยรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาระบบบริหาร (ประธานคณะกรรมการฯ) ตรงนี้ค่ะชมและที่สำคัญเมื่อผ่านพ้นปีของโครงการที่ดำเนินการแล้ว จะต้องกลายเป็นงานประจำและริเริ่มโครงการใหม่ในรอบปีใหม่ โครงการ "ก่อตั้งชุมชนงานสารบรรณ มอ" เป็นหนึ่งในผลิตผลของโครงการพัฒนางานสำนักงานอธิการบดี ที่ทำให้ดิฉันหวั่นใจเชื่อมโยงกับบันทึกของท่าน ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด KMแบบจัดตั้งหรือใจสั่งมา ซึ่งกำลังเฝ้ามองและพร้อมที่จะประคับประคองให้เป็นแบบใจสั่งมาให้จงได้
ไม่มีความเห็น