ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

ตัวอย่างใบกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบ ELC


หลักการสื่อสารในระหว่าการดำเนินปกิบัติการ(LAB) สื่ออาจจะแตกต่างกันในรายละเอียดและเวลาของแต่ละกลุ่มบ้าง การควบคุมโดยครูนักเรียนก้ยังต้องประสารกันอย่างดี มิเช่นนั้นก็จะตกเป้นภาระที่ครูจะแก้ไขความผิดพลาดด้วยกระบวนการสื่อสารซึ่งไม่แตกต่างจากการสอนโดยบรรยาย

วิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี

 -ขั้นเตรียมการ  ครูนำแผนการสอนที่จัดทำแล้วมาศึกษาและกำหนดแผนการจัดการโดยครู และแยกการจัดการโดยนักเรียน  (นักเรียน)  ในกำรดำเนินกิจกรรมครูได้แจ้งให้นักเรียนได้เตรียมน้ำปูนใส โดยนำปูนเคี้ยวหมาก Ca( OH)2 แล้วนำเฉพาะน้ำใสดังกล่าวมา

ครูเป็นผุ้เริ่มต้นควบคุมก่อน

        เมื่อถึงชั่วโมง นักเรียนเข้าห้อง จัดเก็บกระเป๋าหรือสัมภาระต่างวางที่ในชั้นที่กำหนดให้เท่านั้น เพื่อลดอันตรายจากสัมภาระเกะกะการปฏิบัติการ

นักเรียนแต่ละกลุ่มประจำที่ พร้อมผู้นำกล่าวทักทายสวัสดี ครุทักทายตอบ พร้อมเอ่ยคำว่า ครุหวังว่านักเรียนที่น่ารักของครูนำอุปกรณ์และสิ่งที่กำหนดมาครบทุกกลุ่ม เช่นเคย ถ้ากลุ่มที่ไม่ได้นำมาก็ต้องโดนทำโทษตามที่ตกลงกันไว้ ครุแยกกลุ่มที่ไม่ได้เตรียมอุปกรณ์มา จัดไปนั้งยังโต๊ะที่จัดทำพิเศษ

หวังว่าทุกคนคงพร้อม วันนี้ก็เป็นวันพิเศษเหมือน ๆ วันที่เราเคยทำมา แต่ครั้งนี้มหัศจรรย์ที่ปูนเคี้ยวหมากที่พวกเธอรังเกียจเมือ่เห็นคนชราเคี้ยวหมุบหมับ มันจะทำให้พวกเธอทึ่ง  คงสงสัยละซิ ทึ่งเรื่องอะไร หลายคนคงได้คำตอบในใจแล้ว  ...  และทุกคนจะได้รับแบบบันทึกกิจกรรม นักเรียนรอสัญญาณจากครูให้ดี

ขั้นนักเรียนลงมือปฏิบัติการ นักเรียนเป็นผู้ควบคุม

        นักเรียนศึกษาใบกิจกรรม

        ตัวแทนออกไปหยิบอุปกรณ์

        สื่อสารภายในกลุ่ม(ปรึกษากันอีกครั้งก่อนการลงมือ ว่าจะทำอย่างไร)

       ลงมือปฏิบัติภายใน 10 - 15 นาที

ขั้นการลงสรุปสร้างคอนเซป นักเรียนเป็นผู้ควบคุม

        สื่อสารภายในกลุ่ม(อภิปรายเพื่อหาข้อสรุป)

       นำเสนอเพื่อน ๆ และครู ครูบันทึกภาพไว้เป็นกลักฐาน

ขั้นการนำเสนอ นักเรียนวางแผนการนำเสนอและควบคุมการดำเนินการเอง

       ได้รับข้อเสนอะจากกลุ่มอื่น และครู พร้อมคะแนน เต็ม 10 คะแนน

       เก็บอุปกรณ์และตรวจเช็คว่า คร้งต่อไปต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรเพิ่มอีก

      นักเรียนลาครูและไปเรียนวิชาอื่น ๆ ต่อไป

ขั้นที่ครูดำเนินการอีกครั้ง

       การบันทึกและวิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

เหตุการที่เป็นปกติซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุม

     เสีงคุยกันดังมากขึ้น

     ตื่นกลัว เวลาจะไม่ทันการณ์

    อุปกรณ์ตกแตกเสียหาย

     ผลการทดลองที่เห็นไม่ชัดเจนเท่าใดนัก

     การสรุปผลการทดลองที่ยากแก่การเชื่อมโยงตัวแปรต้นและตัวแปรตาม

    ตอบคำถามหลังการปฏิบัติการได้ไม่ถูกต้องสมบูรณ์

   ปฏิบัติการบางกลุ่มไม่ได้ผล เนื่องจากใช้เวลาในการอภิปรายความคิดที่แตกต่าง

    หรือครูแนะนำเพิ่มเติมกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดนานเกินไป

   สรุปคะแนนที่ได้ของแต่ละกลุ่มและแต่ละคน

 การ ConTrol  แบ่งเป็น ครูและนักเรียน

ในส่วนของครู ได้ควบคุม 2 ประการ คือ

    ควบคุมการสื่อสาร   และควบคุมการดำเนินการ ซึ่งหมายถึงการบริหารจัดการให้การปฏิบัติการของขักเรียนเป็นไปตามแผนที่กำหนด

ในส่วนของนักเรียน

    นักเรียนมีอิสระในการสื่อสารภายใต้การควบคุม (การสื่อสารภายในกลุ่ม และการสื่อสารระหว่างกลุ่มซึ่งหมายถึงรวมการนำเสนอด้วย)   และการดำเนินการปฏิบัติการภายใต้กรอบที่กำหนด

    หลักการสื่อสารในระหว่าการดำเนินปกิบัติการ(LAB)  สื่ออาจจะแตกต่างกันในรายละเอียดและเวลาของแต่ละกลุ่มบ้าง การควบคุมโดยครูนักเรียนก้ยังต้องประสารกันอย่างดี มิเช่นนั้นก็จะตกเป้นภาระที่ครูจะแก้ไขความผิดพลาดด้วยกระบวนการสื่อสารซึ่งไม่แตกต่างจากการสอนโดยบรรยาย

 

หมายเลขบันทึก: 277413เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท