การบริหารโรงเรียนแบบกระจายอำนาจ "คืออะไร"


กระจายอำนาจ

                        ในปัจจุบันการบริหารโรงเรียนได้เน้นรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบกระจายอำนาจ ซึ่งการบริหารโรงเรียนแบบกระจายอำนาจมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
 ความเป็นอิสระ (Autonomy) และการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม (Participatory decision making)

ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 39  กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ
กระจายอำนาจ การบริหารและการจัดการศึกษา  ทั้งด้านวิชาการ   งบประมาณ  การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป  ไปยังคณะกรรมการการศึกษาเขตพื้นที่และสถานศึกษาโดยตรง เพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ  ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของการปฏิรูประบบบริหารจัดการ โดยการกระจายอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจจากส่วนกลางไปยังแต่ละโรงเรียน โดยอาศัยหลักสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา มีอยู่ 5 ประการคือ
                                1. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)  เป็นการกระจายอำนาจการตัดสินใจในการจัดการศึกษาจากกระทรวงและส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่า โรงเรียนเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
                                2. หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaboration or Involvement)  เป็นการเปิดอำนาจให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วมในการบริหาร ตัดสินใจและร่วมจัดการศึกษาทั้งครู ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน ผู้แทนศิษย์เก่า และผู้แทนเรียน การที่บุคคลมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา     จะทำให้เขาเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและรับผิดชอบในการจัดการศึกษามากขึ้น
                                3. หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน (Return power to people)  การจัดการศึกษาของประเทศไทยในอดีต เป็นการจัดการศึกษาในครอบครัวและในชุมชน โดยครอบครัว วัด หรือองค์กรในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาเมื่อประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัยและพัฒนารูปแบบการปกครองประเทศเป็นแบบรวมศูนย์  โดยการตั้งกระทรวง ทบวง กรม  มาทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ การจัดการศึกษาจึงถูกรวมศูนย์มาอยู่ภายใต้การบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ  แต่ต่อมาเมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการศึกษาที่เพิ่มขึ้น ทำให้การจัดการศึกษาโดยส่วนกลางเริ่มมีข้อจำกัด เกิดความล่าช้า และไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและชุมชนอย่างแท้จริง จึงต้องมีการปฏิรูปการศึกษาและคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ท้องถิ่นและประชาชนอีกครั้ง
                                4. หลักการบริหารตนเอง (Self-management)  ในระบบการศึกษาทั่วไป มักจะกำหนดให้โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลาง  โรงเรียนไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง แต่ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายของส่วนรวม การที่ส่วนกลางทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและเป้าหมาย แล้วปล่อยให้โรงเรียนมีระบบการบริหารด้วยตนเอง โดยให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งอาจดำเนินการได้หลากหลายแนวทาง ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมและสถานการณ์ของโรงเรียน   ผลที่ได้น่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมที่ทุกอย่างกำหนดมาจากส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
                                5. หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and balance)  โดยส่วนกลางมีหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมมาตรฐาน มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามที่กำหนด และเป็นไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ

           สรุปการกระจายอำนาจเป็นสิ่งที่ดี  เพราะนอกจากจะให้การบริหารได้อย่างคล่องตัวแล้ว  ยังทำให้เกิดการถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสม  อำนาจไม่ตกไปอยู่บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
                            (ง่วงหรือยังดืมกาแฟไหมจ๊ะ)

คำสำคัญ (Tags): #บริหารโรงเรียน
หมายเลขบันทึก: 276525เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2009 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ก็เป็นเรื่องที่ดีในเรื่องของการกระจายอำนาจ แต่ว่าโรงเรียนแต่ละแห่งมีความพร้อมมากแค่ไหนที่จะรองรับนโยบายดังกล่าว ขอบคุณสำหรับบทความดี ดี นะค่ะ

การบริหารงานแบบกระจายอำนาจและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมถือได้ว่าเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาที่ดีมาก โรงเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาที่ดีขึ้นทั้งในเรื่องภูมิทัศน์ ตลอดจนการจัดการศึกษา เพราะอำนาจไม่ตกอยู่ที่คนใดคนหนึ่งจึงเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 น้องนางบ้านนา

ขอบคุณค่ะน้องจิ๊บ น้องนางบ้านนา

แวะมาหาความรู้จากบทความดีดีของพี่จ๊ะ มีรูปสวยๆน่ารักๆด้วย ชอบจัง วันเสาร์เรียน นะคะ

แวะมาเยี่ยมแล้ว เก่งจริง ๆ หนูเหงี่ยม

แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ ขอบคุณนะที่ขยันหาบทความดี ๆ มาให้พี่อ่านเสมอ ได้ทั้งความรู้และแนวคิดเพิ่มเติม

ขอบคุณน้องหน่อย พี่เอกและพี่จิ๋มที่แวะมาให้กำลังใจ ขอให้ทุก ๆ คนมีความสุขโอมเพี้ยง

                         

มาเยี่ยมชมผลงาน สมบูรณ์แล้วครับมีบทสรุปด้วย

แวะมาเรียนรู้บทความกับพี่เหงี่ยมค่ะ แต่ตอนนี้คงจะขอกาแฟพี่เหงี่ยมสักแก้วแล้วล่ะ ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับความรู้การกระจายอำนาจ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่กรุณามาให้กำลังใจ และขอบคุณน้องโอ๋ที่มาเยี่ยมชม

เก่งมากนะครูเปิ้ลยกนิ้วให้ ผลงานทะลุเป้าเลย

เพิ่งรู้จากพี่นะเนี่ย ว่า การบริหารโรงเรียนแบบกระจายอำนาจ

เป็นอย่างนี้นี่เอง ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ค่ะ......

ขอบคุณครูเปิ้ล น้องตุ๊ก โดราเอมอนน่ารักจัง

ขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะที่ให้ข้อมูลดีๆขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท