หลักทศพิธราชธรรมกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


หลักทศพิธราชธรรมกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

         

 

       ทศพิธราชธรรม แปลว่า “หลักธรรมสำหรับทำให้ผู้อื่นรักใคร่พอใจ ๑๐ อย่าง” ดังต่อไปนี้ <p class="MsoNormal" style="text-align: justify; margin: 7.5pt 0cm;">                 ๑. ทาน หมายถึงการให้ (Charity) นักบริหารหากไม่มีการให้แล้ว อย่าริคิดอ่านการใหญ่เป็นนักบริหารเลย โดยเฉพาะนักบริหารระดับชาติ คือนักการเมือง การให้เป็นคุณธรรมข้อแรกของนักบริหารตามหลักทางพุทธศาสนา การให้นั้นมีอยู่ ๒ อย่างคือ อมิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุสิ่งของ เช่นให้เงินทองเสื้อผ้า ให้ที่อยู่อาศัย ให้อาหาร ธรรมทาน ได้แก่ การให้ธรรมหรือความรู้ ให้สติปัญญา ให้กำลังใจ ให้อภัย ให้ความรัก ให้ความเอื้อเฟื้อให้ความเมตตา</p> <p class="MsoNormal" style="text-align: justify; margin: 7.5pt 0cm;">                 ๒. ศีล หมายถึงความมีระเบียบวินัย (Self – Discipline) นักบริหารทุกระดับ เป็นบุคคลแบบอย่างที่จักต้องมีความ “งามด้วยศีล” ได้แก่ต้องเป็นบุคคลที่มีระเบียบวินัย เคร่งครัด ระมัดระวัง ควบคุมตนเองได้จะต้องรู้จักบริหารคน บริหารงานและบริหารบ้านเมือง</p> <p class="MsoNormal" style="text-align: justify; margin: 7.5pt 0cm;">                 ๓. ปริจาคะ หมายถึงการเสียสละ (Self – Sacrifice) คือการเสียสละ ละ ทิ้ง ความหมายเชิงปฏิบัติว่า ให้ ในลักษณะของ “ทาน” เป็นการให้สิ่งที่ตนมีอยู่และในเพียงบางส่วน แต่การให้ลักษณะของ “บริจาค” เป็นการให้ทั้งหมด ให้ไม่มีส่วนเหลือ นักบริหารที่ดีย่อมต้องมีความพร้อมในการเสียสละ คือการเสียสละทั้ง ๔ คือ เสียสละทรัพย์ เสียสละอวัยวะ เสียสละชีวิต เสียสละทั้งหมด ทั้งทรัพย์ อวัยวะและชีวิตเพื่อรักษาความถูกต้องดีงามของบ้านเมือง</p> <p class="MsoNormal" style="text-align: justify; margin: 7.5pt 0cm;">                 ๔. อาชวะ หมายถึงความซื่อตรง (Honesty) ความซื่อตรงเป็นหลักธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งของนักบริหารอีกประการหนึ่ง นักบริหารต้องเป็นบุคคลที่ซื่อตรง ไม่คดโกง โปร่งใส ตรวจสอบได้ จึงสามารถนำคน นำงาน นำบ้านเมือง วิ่งตรงไปสู่เป้าหมายได้อย่างปลอดภัยรวดเร็วตรงกันข้ามที่นักบริหารที่ไร้คามซื่อสัตย์สุจริต ไม่ซื่อตรง คดโกง คิดคด ทรยศต่อชาติบ้านเมอง พระพุทธศาสนาเปรียบเทียบไว้ว่าเป็น “มหาโจร” ปล้นชาติปล้นแผ่นดิน ตามวิสัยของมหาโจร</p> <p class="MsoNormal" style="text-align: justify; margin: 7.5pt 0cm;">                 ๕. มัททวะ หมายถึงความอ่อนโยน (Gentleness) เป็นคุณธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักบริหาร เพราะนักบริหารทุกระดับที่เป็นที่ยอมรับนับถือว่าเป็นบุคคลระดับ “ยอดคน” เปรียบไปแล้วก็เหมือนยอดต้นไม้ต้องอ่อน ถ้าไม่อ่อนก็ไม่ใช่ยอดคน ผู้ที่ถือว่าเป็นยอดคนก็ต้องเป็นบุคคลที่อ่อนโยนนุ่มนวลไม่หยาบคาย ไม่แข็งกระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ยโสโอหัง มีบังอาจทำตนเป็นเหมือน “คางคกขึ้นวอ” ให้ลดมานะละทิฐิ</p> <p class="MsoNormal" style="text-align: justify; margin: 7.5pt 0cm;">                 ๖. ตปะ หมายถึงการระงับยับยั้งข่มใจ (Self – Austerity) นักบริหารที่ดีต้องมี “ตปธรรม” คือการแผดเผากิเลสตัณหามิให้เข้ามาครอบงำย่ำยีจิตใจของตนเองอยู่เสมอ คือละความชั่วภายในตอนเองให้หมดไป หล่อหลอมเอาแต่ความดีงามใส่ตัว มีความดีเป็นแบบอย่าง มีความพากเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส</p> <p class="MsoNormal" style="text-align: justify; margin: 7.5pt 0cm;">         ๗. อักโกธะ หมายถึงความไม่โกรธ (Non – Anger) นักบริหาร คือบุคคลผู้มีบทบาทมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการโดยเฉพาะ การตัดสินใจ (Decision– Making) ให้ทำหรือไม่ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในสถานการณ์อย่างนี้ นักบริหารจะมีอารมณ์โกรธไม่ได้เลย ต้องมีความสุขสงบ เยือกเย็น เห็นตน เห็นคน เห็นงาม เห็นบ้านเมืองอย่างแจ่มใสไม่ขุ่นมัว</p> <p class="MsoNormal" style="text-align: justify; margin: 7.5pt 0cm;">                 ๘. อวิหิงสา หมายถึงการไม่เบียดเบียน (Non – Violence) นักบริหารที่ดีต้องไม่เบียดเบียนทั้งคนและสัตว์ รวมทั้งไม่เบียดเบียนธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามหลักพระพุทธศาสนา คือไม่มีความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ความเท่าเทียมกัน เหมือนกันเสมอภาคกัน เคารพในกฎหมาย ไม่ทะเลาะวิวาท บาดหมางกนด้วยความคิดเห็นที่แตกต่างกัน นำความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาสร้างความสามัคคี</p> <p class="MsoNormal" style="text-align: justify; margin: 7.5pt 0cm;">                 ๙. ขันติ หมายถึงความอดทน (Tolerance) ความงามของนักบริหารอยู่ที่การมีความอดทน หรือการมีขันติ และการมีความสงบเสงี่ยมเจียมตัว หรือการมีโสรัจจะ นักบริหารที่ดีจึงจำเป็นจะต้องฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นคนมีความอดทนและความเสงี่ยมเจียมตัวอยู่เสมอ</p> <p class="MsoNormal" style="text-align: justify; margin: 7.5pt 0cm;">                 ๑๐. อวิโรธนะ หมายถึงความไม่คลาดธรรม (Non - Opposition) คือมีความหนักแน่นในธรรม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหวสถิตมั่นในธรรม นักการบริหารทุกระดับ ตั้งแต่บริหารตน บริหารบุคลากร บริหารงาน และการบริหารบ้านเมือง ไม่ว่าจะระดังใดจะต้องไม่มีความผิดพลาด ความเสียหายต้องไม่มีพิรุธใด ๆ เพราะหากมีความผิดพลาดมีพิรุธบกพร่อง ย่อมเป็นช่องทางให้เกิดความหายนะสะสมทับถมต่อเนื่องและเรื้อรัง จะแก้ไขลำบากอยากที่จะกำจัดได้ และเป็นการแสดงให้เห็นว่า นักบริหารคนใดโว่ซ้ำซาก นักบริหารที่ดีจะต้องมีหลักการ หลักวิชา และหลักธรรมในการบริหารการทำงานใด ๆ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็กจะต้องไม่มีข้อผิดพลาด ไม่หลงทิศ ไม่ผิดทางห่างเป้าหมาย</p> <p class="MsoNormal" style="text-align: justify; margin: 7.5pt 0cm;">  </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> จากหลักทศพิธราชธรรมกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ดิฉันได้อ่านสรุปก็คือหลักในการที่นักบริหาร จะต้องมีไว้ในตัวเอง นั้นคือ นักบริหารจะต้องมีการเสียสละทรัพย์สินของตนเองเพื่อบำรุงเลี้ยงผู้อื่น เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดีงาม งามกาย งามวาจา และงามพร้อมด้วยจิตใจ มีการเสียสละหรือบริจาคสิ่งของต่าง ๆ ต้องเป็นบุคคลผู้ที่ซื่อตรง คือการมีความซื่อสัตย์ ปฏิบัติภารกิจหน้าที่โดยสุจริต มีความจริงใจ มีอัธยาศัยไมตรี อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่งในตน และในงานนั้น เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งเดช คือการแผดเผากิเลสตัณหามิให้เข้ามาครอบงำย่ำยีจิตใจ ระงับยับยั้งข่มใจ โดยการใช้เมตตาธรรม คือความไม่โกรธ ไม่เบียดเบียน การให้อภัยบุคคลอื่น เป็นผู้ที่มีความอดทนในการทำงาน อดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย และอดทนต่อการกล่าวว่าติเตียนของผู้อื่นและคนรอบข้าง และข้อสุดท้ายควรเป็นผู้ไม่คลาดธรรม คือมีความหนักแน่นในธรรม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว สถิตมั่นในธรรม                  </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">ที่มา : สำนักงานพระพทธศาสนา  จังหวัดสุรินทร์</p>

หมายเลขบันทึก: 276432เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2009 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ครูนวย...เอาพระมาขู่หรือ? พี่ไม่สู้นะเพราะเสาร์นี้ดร.ดิศกุลสอนตามปกติ ...ขอหมีถือดอกกุหลาบบ้างนะ (จะเอาไปสู้กับอาจารย์เสาร์นื้)

                         ขอขอบคุณพี่แอ๊วที่เข้ามาเยี่ยมเยือนใน blog เสมอนะคะ ส่วนหมีถือดอกกุหลาบที่ขอก็จัดไปอย่าให้เสียยยยย...... ครูนวยเองค้า 

คนที่เป็นผู้บริหารควรมีไว้ในใจเสมอ เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ พี่นางสอนเอารูปการ์ตูนดุ๊กดิ๊กลงบ้างซิ อยากทำเป็นมั้ง บอกวิธีทำมาเลย ไม่บอกโกรธนะ จริงๆ นะ

จัดให้เลยค่ะ

 1. พิมพ์ข้อความให้เสร็จเรียบร้อย

2. กดเรียกใช้งานตัวจัดการข้อความ

3. กดคลิกเลือกภาพด้านล่างในไฟล์อลบั้มของเรา

4. วางเคอเซอร์ตรงตำแหน่งที่ต้องการวางภาพ

5. กดเลือกภาพที่ต้องการ 1 ครั้ง

6. กดบันทึก

7. รับโทรศัพท์แฟนได้แล้วค่ะ เรียบร้อยยยยย.....

ครูนวยขา ช่วยจัดลงบล็อกพื่หน่อยซิจะ จะนำไปฝากผอ.ประเสิฐ เพราะท่านไม่ค่อยมีฃองเล่น

ธรรมะย่อมชนะอธรรม หลัก 10 ประการจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในขีวิต น้องนางจ๊ะพี่อยากได้รูปสวยๆบ้างขอจดขั้นตอนวิธีทำหน่อนนะ

เห็นด้วยกับแนวคิดของน้องนางบ้านนาค่ะ นั่นน่ะใช่เลยคุณธรรมที่ผู้บริหารทุกคนพึงมี

ขอขอบคุณทุกๆกำลังใจนะคะ นางบ้านนาค่ะ

                     

มาเยี่ยมชมผลงาน สมบูรณ์แล้วครับมีบทสรุปด้วย

    ปลื้มสุดๆก็คำชมและคำแนะนำดีๆของอาจารย์ค่ะ Am fine thank you.

P                                

อ้อ! ต้องไม่ลืมขอบคุณท่านประธาน วิรัช ของเรายังคงเข้มแข็งเหมือนเดิม ชายชาติ (ลูกเสือ) ข้อยเอง น้องนางบ้านนาเด้อ!

                               

เป็นบทความที่ยอดเยี่ยมมาก ...หลักทศพิธราชธรรมมีความสำคัญมากกับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน

แวะเขามาอ่านบทความแต่พอมาเจอถามตอบถามตอบบล็อกนี้แล้วอดยิ้มไม่ได้ ไม่น่าเชื่อน้องนางผู้เรียบร้อยในสายตาพี่จะมีมุกเยอะขนาดนี้อ่านแล้วก็คิดถึงเพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆแล้วพี่จะแวะมาเยี่ยมใหม่นะจ๊ะ

ขอบคุณพี่เอก พี่โอ๋ และอาจารย์ JJ มากนะคะที่เข้ามาให้กำลังใจเสมอ

PP  P

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท