37. การเสริมแรงบวก(Positive Reinforcement) :ด้วยการเล่นหุ่นยนต์ทำมือ


การเสริมแรงบวก (Positive Reinforcement) เป็นการเสริมความต่อเนื่องของพฤติกรรมโดยการให้ผลกรรมเป็นตัวเสริมแรงบวก คือ สิ่งตอบแทนที่ดึงดูดใจหรือพอใจเป็นรางวัล เมื่อบุคคลนั้นมีพฤติกรรมหรือปฏิบัติการเป็นที่ต้องการ เช่น คำยกย่องชมเชย คำขอบคุณ ฯลฯ ตัวเสริมแรงบวกที่นิยมใช้กันในการจูงใจการทำงาน เช่น การจ่ายเงิน การเลื่อนตำแหน่ง การเพิ่มสถานภาพ การได้สิทธิพิเศษ การได้หยุดพักผ่อน ฯลฯ การเสริมแรงบวกเป็นตัวจูงใจที่ใช้ได้ผลที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

     จากบันทึก โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้วยหุ่นยนต์ ที่ผู้เขียนได้เล่าไว้ในบันทึกก่อนๆ ที่ได้นำกลุ่มแกนนำนักเรียน จำนวน 10 คน ไปศึกษาดูงานเชิงปฏิบัติการ  เรื่องการทำหุ่นยนต์ทำมือ  ที่โรงเรียนบ้านอินแปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ในวันที่ 28-29 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา นั้น

     ช่วงเวลาที่ผ่านมานับเป็นการจุดเชื้อไฟแห่งการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ แกนนำเป็นอย่างมาก ที่มีความกระตือรือล้นกับผลสำเร็จจากฝีมือของตนเอง สังเกตจากการเข้ามาแวะเวียนถามถึงการสั่งซื้อวัสดุ-อุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อทำผลงานให้ครบเตรียมพร้อมกับสนามการแข่งขันที่จะมาถึง...

      มีนักเรียนคนหนึ่งพูดว่า "อาจารย์ครับ ...ผมอยากทำที่ตักขยะในสระน้ำบริเวณเสาธง แต่ผลอยากได้มอเตอร์ที่มีขนาดแรงขึ้น เราจะหามาได้ไหมครับ...ผมคิดว่าผมทำได้" ครูฟังแล้วก็อึ้งคะ ...ด้วยความดีใจที่เด็กคิดต่อยอดได้...แต่ความรู้ของครูเรื่องมอเตอร์มีน้อยมาก ...เลยตอบนักเรียนไปว่า  "ลองหามอเตอร์ที่อาจหาได้ในหมู่บ้านเรามาประยุกต์ก่อนได้ไหม... ถ้าไม่ได้จริงๆ ไว้ไปกรุงเทพ ครูจะพาไปเดินหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่บ้านหม้อ" นี่คือคำตอบของครู  เด็กได้ยินก็ยิ้มรับ ตาดูมีความหวัง ^_^ ครูก็ปลื้ม *_* เหมือนกันคะ

     มาถึงเช้าวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 หลังผ่านไปได้เกือบสองสัปดาห์ เด็กๆ แกนนำหุ่นยนต์มีโอกาสนำหุ่นยนต์ที่ไปซุ่มเรียนกันมา ออกมาอวดสายตากระตุ้นความอยากรู้ของนักเรียนทั้งโรงเรียน ด้วยการแสดงการทำงานของหุ่นยนต์ "สำรวจดาวนพเคราะห์" และ "หุ่นยนต์ไตรกีฬา" บริเวณหน้าสนามเคารพธงชาติ เป็นการแสดงสั้นๆ ที่เรียกความสนใจจากนักเรียนทุกระดับ ที่สำคัญเด็กทั้งโรงเรียนได้ตระหนักรู้ว่า โรงเรียนเชียงกลมวิทยาเป็น "ศูนย์หุ่นยนต์ สพฐ. จังหวัดเลย" และได้เห็นการทำงานของหุ่นยนต์กับแบบพร้อมเพียง

สาธิตการทำงานของหุ่นยนต์สำรวจดาวนพเคราะห์

   หลังจากแสดงวิธีการทำงาน การควบคุมหุ่นยนต์ทำมือ ก็เป็นพิธีมอบเกียรติบัตร กิจกรรมเรียบง่ายที่ผู้เขียนคิดว่า นี่คือการเสริมแรงบวกที่เด็กๆ ผู้ได้รับรู้สึกภาคภูมิใจ...ตั้งแต่

  • การได้แสดงผลงานของตนเอง (ที่ตั้งใจทำกันสองวันสองคืน)

  • การได้รับเสียงปรบมือจากคนอื่น

  • การได้รับความสนใจ (ทุกคนต่างตั้งใจดูการทำงานของหุ่นยนต์)

  • และได้รับวุฒิบัตรแสดงความสามารถของเขา

สาธิตการทำงานของหุ่นยนต์ไตรกีฬา

    รางวัลเล็กๆ เหล่านี้ ผู้เขียนคิดว่าจะสร้างความภาคภูมิใจให้กับเด็กๆ เป็นอย่างมาก  เพื่อเป็นพลังที่จะสานต่อเป็นแรงขับให้กับพวกเขาได้ตั้งใจแสวงหาความรู้  ริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อเติมความคิด กระตือรือล้นในการเรียนรู้การทำหุ่นยนต์ และพัฒนาให้ดีขึ้นในอนาคต   

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

คำสำคัญ (Tags): #หุ่นยนต์ทำมือ
หมายเลขบันทึก: 275674เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2009 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ชื่นชมมาก แม้ว่าติดราชการอื่นไม่สามารถอยู่ร่วมในวันดังกล่าว
  • พัฒนาต่อไป การแข่งรอบสุดท้ายยังพอมีเวลา
  • ส่งเสริมเด็กกลุ่มนี้เขียนบล็อกของตนเองเล่าเรื่องเทคนิคต่าง ๆ แลกเปลี่ยนกันด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท