GotoKnow

การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับชาวนา (๒๕)

Prof. Vicharn Panich
เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2548 09:26 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 13:56 น. ()

การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับชาวนา (๒๕)


           ขอนำรายงานของมูลนิธิข้าวขวัญ ตอนที่ ๒๕ มาลงต่อนะครับ    ต่อไปนี้จะเป็นรายงานที่บันทึกโดยผู้ใหญ่บุญมา  ชาวนาตัวจริงปฏิบัติจริง    ผมไปดูมาแล้ว น่าชื่นชมมากครับ    มีการสร้าง “ความรู้” ขึ้นใช้เพียบ    แต่ตอนที่ ๒๕ นี้ยังเป็นเพียงคำนำและสารบัญ    ตัวเนื้อเรื่องจริงๆ อยู่ในบันทึกคราวหน้าครับ

 



สมุดจดบันทึกกับทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนชาวนา
เรื่อง  ชีวิตคือการเรียนรู้
เอกสารประกอบ  1     ในโครงการ  ส่งเสริมการจัดการความรู้ 
เรื่องการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
มูลนิธิข้าวขวัญ  จังหวัดสุพรรณบุรี
สนับสนุนโดย
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม  (สคส.)


คำนำ


             สมุดจดบันทึกกับทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนชาวนา  เรื่อง  ชีวิตคือการเรียนรู้  เป็นเอกสารประกอบ  เล่มที่  1  และเป็นส่วนหนึ่งของการประมวลผลงานในโครงการ  ส่งเสริมการจัดการความรู้  เรื่องการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน  ช่วงที่  1  ระยะเวลา  6  เดือน  (เมษายน – กันยายน  2547)  ของมูลนิธิข้าวขวัญ  โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม  (สคส.)
             เอกสารประกอบเล่มนี้  เป็นสมุดจดบันทึกของนักเรียนชาวนา  โดย  คุณบุญมา  ศรีแก้ว  นักเรียนชาวนาในโรงเรียนชาวนาบ้านโพธิ์  ตำบลบ้านโพธิ์  อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี        งานเขียนของคุณบุญมา  ศรีแก้ว  เป็นทั้งบันทึกความจำ  บันทึกสาระความรู้  และบันทึกการทดลองสูตรสมุนไพรต่างๆ  ข้อมูลได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้จากชีวิตจริงที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง  และได้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ  ข้อมูลบางอย่างมีความเก่าแก่หลายสิบปี  เพราะได้บันทึกข้อมูลเอาไว้ตั้งแต่ปี  พ.ศ.2516  ข้อมูลในสมุดบันทึกดังกล่าวนี้  จะทำให้เราๆท่านๆสามารถเรียนรู้รูปแบบของการคิดและการใช้ชีวิตของนักเรียนชาวนาธรรมดาๆ  ที่ไม่ธรรมดา  มุมมองของความคิดสามารถนำมาเป็นแบบอย่างเพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นได้
             เนื้อหาที่นำมาจัดพิมพ์ในครั้งนี้  ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่มีการแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็นตอนต่างๆไว้อย่างชัดเจนแล้ว  และต้นฉบับเดิมได้มีการเรียงลำดับในตอนต่างๆก่อนหลังมาแล้วเช่นกัน  เมื่อจัดพิมพ์ใหม่ในครั้งนี้  จึงเพียงแต่ได้เพิ่มเติมเนื้อหากับข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของนักเรียนชาวนาตามความเหมาะสม  คือ  ตอนแรก  (ตอนที่  1)  กับตอนท้ายสุด  (ตอนที่  17)
             ส่วนหนึ่งจากสมุดบันทึก  ยังสามารถบอกเราๆท่านๆได้ว่า  ก่อนมาเป็นนักเรียนชาวนาเคยได้เรียนรู้อะไรมาบ้างแล้ว  ?  ซึ่งเป็นความรู้เดิมและเป็นประสบการณ์สะสมผ่านชีวิตของคนหนึ่งคน  และเมื่อมาเป็นนักเรียนชาวนาแล้ว  ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติม  ?  วิถีชีวิตเป็นอย่างไร  ?  ความคาดหวังเป็นอย่างไร  ?  เนื้อหาในสมุดบันทึกมีคำตอบที่ผสมผสานเอาความรู้เดิมกับความรู้ใหม่เข้าไว้ด้วยกัน  โดยผ่านนักเรียนชาวนาที่ชื่อบุญมา  ศรีแก้ว
                                                                มูลนิธิข้าวขวัญ
                                                                ธันวาคม  2547
                                                                จังหวัดสุพรรณบุรี


สารบัญ

<p align="right">
                                                                                                                                                                          หน้า</p>
<p align="left">
ความหวังของเราชาวนาอยู่กันแบบไท                                                                        1  </p><p align="left">                                                                                                      
ตอนที่  1     ชีวิตคือการเรียนรู้                                                                                 2
</p><p align="left"> ตอนที่  2     “เราคนของแผ่นดิน  เราต้องอนุรักษ์ภักดิ์น้ำดิน”                                          4</p><p align="left">                                                               
ตอนที่  3     พิธีการทำนาแบบดั่งเดิม                                                                         5</p><p align="left">
ตอนที่  4     การทำนาแบบลดต้นทุนหรือเกษตรทางเลือก                                               9</p><p align="left">
ตอนที่  5     กำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าว                                                                      10 </p><p align="left">                                                                                            
ตอนที่  6     การทำจุลินทรีย์สูตรธรรมชาติ                                                                11</p><p align="left">                                                                                              
ตอนที่  7     ทำหัวเชื้อจุลินทรีย์สลายฟางแบบใช้มูลสัตว์                                              12
  </p><p align="left">ตอนที่  8     สมุนไพรไล่แมลงรวมมิตรเพื่อลดต้นทุน                                                   13
     </p><p align="left">ตอนที่  9     การออกฤทธิ์ของสมุนไพรแต่ละชนิด                                                       14
</p><p align="left">ตอนที่  10   ฮอร์โมนไข่ใช้เร่งตาดอกกับไม้ผล                                                           16</p><p align="left">                                                                                        </p><p align="left">ตอนที่  11   น้ำหมักฮอร์โมนข้าวสูตรพิเศษ                                                                17
</p><p align="left">ตอนที่  12   สูตรน้ำหมักฮอร์โมนน้ำนมข้าว                                                                18</p><p align="left">
ตอนที่  13   สูตรน้ำหมักฮอร์โมนน้ำนมข้าว                                                                19</p><p align="left">
ตอนที่  14   วิธีดูแลสุขภาพและบริหารร่างกาย                                                            21</p><p align="left">
ตอนที่  15   การบริหารร่างกายในเวลาอันสมควร                                                         22</p><p align="left">
ตอนที่  16   เกษตรกรทางเลือกเพื่อพึ่งพาตนเอง                                                         23</p><p align="left">
ตอนที่  17   ค่าใช้จ่ายทำนา  จากนาข้าว  22  ไร่                                                        24
</p>

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 

ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย