ตอบคำถาม
ผมได้รับ อี-เมล์จาก ดร. จันทวรรณ เมื่อวันอาทิตย์ ดังนี้
เรียน อาจารย์หมอวิจารณ์
ดิฉัน Forward ข้อความจากผู้อ่านจาก GotoKnow.org
ที่ฝากข้อความถึงอาจารย์ผ่านมาทางแบบฟอร์มเพื่อการติดต่อใน GotoKnow.org
มาให้คะ
ขอบคุณคะ
จันทวรรณ
Name: นายธเนศ มณีศรีขำEmail: [email protected]
General Topic: cooperation
Specific Topic: ถอดบทเรียนการทำงาน 3 ปี
Message:
เรียนอาจารย์วิจารย์ พานิชที่เคารพ
ผมได้ติดตามสนใจกิจกรรมการจัดการความรู้และอาจารย์ประพนธ์
ได้กรูณานำเอางานของชุมชนแพรกหนามแดงไปจัดกิจกรรมการจัดการความรู้
นำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างได้ผล
ปัจจุบันทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมีงานวิจัย อยู่อีก 5 โครงการ
เช่น โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูปูแสมโดยโรงเรียนและชุมชนวัดศรีสุวรรณ
,โครงการศึกษาแนวทางลดผลกระทบจากช้างกินพืชไร่ จ.ประจวบ ,
โครงการศึกษาการพัฒนาและฟื้นฟูกลุ่มเยาวชนรักแม่กลอง และอื่น ๆ ครับ
ทางทีมงาน Node ทำงานมาจะครบ 3 ปี
แต่ปัจจุบันด้วยภาระกิจที่มากขึ้นไม่ว่าจะการดูงาน การรับงานมากมาย
ทางทีมงานจึงต้องการมีกิจกรรมถอดบทเรียนและประเมินผลการทำงานที่ผ่าน
ผมจึงใคร่ขอคำแนะจากทางอาจารย์ครับว่าทางผมและทีมงานควรดำเนินกิจกรรมอย่างไรหรือควรทำอะไรบ้างครับที่จะทำให้เราบรรล!เป้าหมายการถอดบทเรียนและการประเมินผลการทำงานในรอบ 3 ปีเพื่อเป็นบทเรียนกับพวกเราและสาธาณะครับ ฝากอาจารย์ให้คำแนะนำด้วยครับ
ตำตอบ
คุณธเนศ และทีมงานคงต้องคิดให้ชัดครับว่า คำว่า “บรรลุเป้าหมาย” ของทีมคุณธเนศ
หมายความว่าอย่างไร กรณีแพรกหนามแดงนั้นผมเห็นประเด็นเชิงการจัดการความรู้จากเอกสาร
เล่มเล็กของ สกว. ท้องถิ่น ว่ามีการจัดการความรู้ที่ดีมากในกลุ่มชาวบ้านกันเอง เพื่อแก้ไข
ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการจัดการน้ำ โยงสู่ประตูน้ำ จึงคิดจัดการประชุม ให้ทีมแพรกหนาม
แดงมาเล่า ทาง สคส. มองว่าทางกรมชลฯ เกี่ยวข้องด้วย จึงหาทางเชิญมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ด้วย โชคดีที่ ดร. ประพนธ์มีเพื่อนเป็นวิศวกรในกรมชลฯ จึงขอให้ช่วยพูดกับอธิบดีขอให้มาร่วม
ให้ได้ หรือถ้าไม่ได้จริงๆ ก็ขอให้ส่งรองอธิบดีที่ “มีใจ” ต่อชาวบ้าน และรับฟังความเห็น/ข้อมูล
ที่ต่างจากความเชื่อเดิมของตน ในที่สุดเราได้ รองอธิบดีที่คุณสมบัติตรง สเป็ค ที่เราแจ้งไป
หรือดีกว่าด้วยซ้ำ จึงเกิดผลต่อการดำเนินการเชิงนโยบาย ประกอบกับสื่อมวลชนช่วยลงข่าว
ด้วย แต่ผมว่าจุดสำคัญที่สุดคือตัวผลงานเองครับ ต้องมีคุณภาพและต้องชัดเจน จึงจะหวัง
ผลแบบแพรกหนามแดงได้ ทางผมไม่เคยไปช่วย “ถอดความรู้” (ซึ่งผมไม่ทราบว่าแปลว่าอะไร)
แก่ทางแพรกหนามแดงเลย ส่วนที่ต่างประเทศไปดูงาน ก็เพราะทางแพรกหนามแดงดำเนินการ
แก้ปัญหาความขัดแย้งได้อย่าง “สุดยอด” โดยที่เขาเองก็ไม่รู้ว่ามันยอด ผมก็ไม่รู้ แต่เมื่อผม
เล่าให้ ศ.. นพ. วันชัย วัฒนศัพท์ ฟัง ท่านบอกว่านี่เป็นวิธีการที่ คลาสสิค ตามตำราเลย จึงพา
ฝรั่งที่มาดูงานเรื่องแก้ปัญหาความขัดแย้ง จะเห็นว่าความสำเร็จของแพรกหนามแดงอยู่ในตัว
เรื่องราวของเขาเองโดยที่เขาเองก็ไม่รู้ว่ามันเยี่ยม แต่เมื่อเขาเล่าคนฟังก็บอกว่าเยี่ยม คือทีม
แพรกหนามแดงได้ “จัดการความรู้” กันเอง โดยใช้สามัญสำนึกร่วมกัน ประกอบกับการเก็บข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมอย่างครบถ้วน
จะเห็นว่า สคส. มีบทบาทนิดเดียวที่ปลายทางครับ ผลงานจริงๆ เป็นของทีมวิจัย และ สกว.ภาคนั้นเอง ถ้าคุณธเนศ อยากปรึกษาลงไปในเนื้อเรื่องของงาน ติดต่อคุณอ้อม (อุรพิณ) ได้
ครับ ที่ [email protected] เพราะจะต้องทำความเข้าใจลงลึกในเนื้อเรื่องครับ
วิจารณ์ พานิช