รัชดาวัลย์
นาง รัชดาวัลย์ แอ๊ว สวนจันทร์

การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) (5/5)


การบริหารความขัดแย้ง

การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)

หลักการสำคัญเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้ง
วิธีจัดการกับความขัดแย้งสามารถทำได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ หรือสไตล์ในการบริหารของนักบริหาร ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบของการบริหารความขัดแย้งได้ดังนี้
1. การหลบหลีกความขัดแย้ง (Avoiding Style)
                  ผู้ที่เกี่ยวข้องจะใช้ความเพิกเฉยในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยจะไม่มีการให้ความสนใจทั้งประโยชน์ของตนเองและประโยชน์ของผู้อื่น หรือไม่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายตรงข้าม และพยามหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง ซึ่งแม้วิธีการนี้จะเป็นการลดภาวะตรึงเครียดได้ระยะหนึ่ง   แต่จะไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้อย่างแท้จริง แต่หากความขัดแย้งเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ และเป็นความขัดแย้งที่ไม่รุนแรงและไม่มีความชัดเจน การบริหารความขัดแย้งโดยการวางเฉยจะมีความเหมาะสมอย่างมาก หรือในกรณีที่สถานการณ์ที่รุนแรงและเป็นอันตรายหากเข้าไปเกี่ยวข้องการหลีกเลี่ยงก็เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้
2. ารให้ความช่วยเหลือ (Accommodating Style)
                การจัดการความขัดแย้งวิธีนี้คือการให้ความช่วยเหลือฝ่ายตรงข้าม หรือการให้ความร่วมมือ โดยไม่สนใจว่าฝ่ายของตนเองจะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้าง การใช้กลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือจะเหมาะกับสถานการณ์ที่ความขัดแย้งค่อนข้างรุนแรงหรือวิกฤติ
3. รแข่งขัน (Competing Style)
                 การใช้กลยุทธ์การแข่งขันเป็นกลยุทธ์ที่ฝ่ายที่ใช้กลยุทธ์จะแสวงหาช่องทางที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด หรือแสวงหาความได้เปรียบ นอกจากนี้ยังมีการให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาน้อยมาก เนื่องจากฝ่ายที่ใช้กลยุทธ์นี้จะยึดเป้าหมาย และวิธีการของตนเองเป็นหลัก และการแข่งขันจะมานำไปสู่การแพ้ ชนะ   การใช้วิธีนี้ผู้บริหารจะต้องมั่นใจว่าสุดท้ายจะทำให้เกิดการชนะ แพ้ และต้องมีข้อมูลที่มากพอและถูกต้อง และมีอำนาจมากพอ และการใช้วิธีนี้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจะทำให้ไม่มีการติดต่อสัมพันธ์กับฝ่ายตรงข้ามอีกในอนาคต
4. ารให้ความร่วมมือ (Collaborating Style)
                 การใช้กลยุทธ์ในการให้ความร่วมมือจะทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์สูงสุดมากกว่าวิธีที่กล่าวมา เป็นวิธีการจัดการความขัดแย้งที่ทำให้ต่างฝ่ายต่างมีความพอใจในผลที่ได้รับจากการแก้ปัญหา และทั้งสองฝ่ายต่างให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ซึ่งค่อนข้างเป็นกลยุทธ์ที่เป็นอุดมคติ   เนื่องจากต่างฝ่ายต่างเห็นว่าการแก้ปัญหาความขัดแย้งจะทำให้เกิดการชนะทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้แต่ละฝ่ายจะต้องรู้ข้อมูลของอีกฝ่ายเป็นอย่างดี และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งที่ไม่รุนแรง แต่การแก้ปัญหาโดยวิธีนี้จะมีการใช้ระยะเวลาพอสมควร

                  จกบทความที่ยกมานี้  เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตประจำวันมากที่สุด  เพราะการทำงานหรือการอยู่ร่วมกับบุคคลทั้งในองค์กร  ในสังคม  ตามหลักธรรมชาติของมนุษย์ที่อาจมีความคิดเห็นไม่เหมือนกัน  ต่างจิตต่างใจฉันใดก็ฉันนั้น  เมื่อเราได้ศึกษาให้ถ่องแท้แล้วก็จะทำให้การขัดแย้งก็จะลดลงหรือน้อยลง   จะเป็นประโยชน์ทั้งตนเองและคนอื่น  ทำให้องค์กรและสังคมมีความราบรื่น  สงบสุขและมีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานอย่างแน่นอน

 

Create Date : 25 ตุลาคม 2550

Last Update : 27 ตุลาคม 2550 0:25:29 น.

 

0 comments

 

หมายเลขบันทึก: 274876เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

บทความน่าสนใจมากค่ะพี่แอ๋ว บริหารความขัดแย้งยังงัยไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีกให้แง่คิดเยอะมากค่ะ

น้องโอ๋จ๊า

พี่แอ๋วผมมาอ่านแล้วครับบทความดีมาก

ถ้าเราตัดใจเอาข้อ 3ออกเชื่อว่าจะลดปัญหาลงกึ่งหนึ่ง ขอบคุณน้องโอ๋ และท่านประธาน

ครับผม ....

พี่ แอ๊ว (ใช้ วรรณยุกต์ ตรี )

สวัสดีครับคุณรัชดาวัลย์ มาเรียนทฤษฎี การแก้ปัญหาความขัดแย้งครับ

ขอบคุณค่ะแล้วจะแวะไปเยี่ยมค่ะ

การบริหารความขัดแย้งเป็นประเด็นและเรื่องราวที่น่าขบคิดครับ เพราะเป็นความท้าทายและควรได้รับการเอาจริงเอาจังให้มากครับ

ขอบคุณค่ะ คงต้องใช้เวลากับคนที่มีอัตตาสูง

เห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่บางข้อควรนำมาประสมประสานกันจะได้ลดความขัดแย้งได้บ้าง

เรื่องความขัดแย้งในองค์การแก้ปัญหายากนะคะ แต่ทำอย่างไรจะไม่เกิดหรือเกิดได้น้อย เกิดแล้วยังทำงานด้วยกันได้ ก็ถือว่าบริหารความขัดแย้งได้จริงมั๊ยคะพี่

เร็ตติ้งสูงนะค่ะพี่แอ๊วมีคนมาเยี่ยมชมเยอะเลย ขอบคุณสำหรับบทความนี้จะนำไปใช้ใน

ชีวิตประจำวันค่ะ

เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตประจำวันมากที่สุด  ขอบคุณมากคะ  ครูนางเองคะ

                                 

                             

มาเยี่ยมพี่แอ๊วนะคะ ที่ใดมีคนที่นั่นย่อมมีความขัดแย้ง บวกการแข่งขัน นับว่าเป็นสัจธรรม

ดืใจจังน้องนางน้องณื น้องเหงี่ยม ที่จริงอยู่คนเดียว....ขายังขัดกันได้เลย(ล้อเล่น)

มีคนมาเยี่ยมเยอะแยะเลย ผ่านมาทางนี้พร้อมกับกระเช้ากุหลาบครับ

ขอบคุณมากน้องทุกคน พี่แอ๊วมีข่าวดีมาบอก วันเสาร์นี้( 18ก.ค.52)

ดร.ดิศกุล มาสอนตามปกติ ....แง ๆๆๆๆๆ(ที่นัดกันไว้เคลียกันเอาเอง) โสน้าหน้าอดเลย ( อาจารย์ขาพวกเรานัดไปทำบุญที่......กันค่ะ)

แวะมาเยี่ยมค่ะ บางครั้งการขัดแย้งก็ยากที่หลีกเลี่ยงนะค่ะ เมื่อหลีกเลี่ยงไม่พ้นก็ต้องเกิดการเผชิญหน้าระหว่างกัน และลงเอยด้วยความขัดแย้ง

สวัสดีค่ะอาจารย์แวะมาขอบคุณที่ไปทักทายค่ะ

บางทีความขัดแย้งก็นำมาซึ่งความสร้างสรรค์สิ่งดีๆ...

เอาดอกไม้มาฝากค่ะ...

 

ขอบคุณค่ะคุณแดง ดอกไม้สวยมาก เห็นดอกไม้ที่ไหน เกิดความรักที่นั่น

อ.อุไรวรรณ อยู่ชา สอนหลักสูตรการบริหารความขัดแย้ง ได้ดีมาก ๆ

เริ่มต้นจากทัศนคติในการทำงานร่วมกัน มีกิจกรรมและตัวอย่างที่ชัดเจนมาก

เรียนแล้ว อยากให้พี่ ๆ น้อง ได้เข้าอบรมจัง เพราะ ได้ประโยชน์มากค่ะ

ตูน คิดว่า นอกจากการอ่านบทความแล้ว หากเราได้เรียนและลองฝึก

กันจริง ๆ จะชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ ทำอย่างไรจึงจะเชิญอาจารย์มาสอนพวกเรา

ได้นะ

ขอบพระคุณสำหรับข้อเสนอแนะที่มีคุณค่า ขอบคุณ .....และ ขอบคุณจริงๆๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท