ทำไมจึงต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


มนุษย์ควรมีการพัฒนาด้านศักยภาพควบคู่กับหลักการด้านคุณธรรมจริยธรรม

ทำไมเราจึงต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    

เมื่อกล่าวถึง  “ทรัพยากร” เรามักคุ้นเคยกับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ แหล่งน้ำ สิ่งดังกล่าวเรามองไม่เห็นได้ชัดเจนว่า 

“มีค่า” เกิดประโยชน์และเป็นสิ่งจำเป็นที่ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ในขณะเดียวกัน  ถ้าเราพูดถึง “คน” มักจะมองไม่เห็นว่า เป็นทรัพยากรหรือมองเห็น “คุณค่า” ความจริงแล้ว “คน” คือศักยภาพสูงสุดและเป็นทรัพยากรที่สำคัญ1. ทำไมต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

          ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจของโลกมีผลทางวัตถุสูง  ความเจริญทางเทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งในความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการเตรียมคนเพื่อให้พร้อมในความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  หลักสำคัญของ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ จะต้องให้ความรู้และประสบการณ์ด้านวิชาการ  การฝึกอบรมความรู้ที่ทันสมัยรวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไป เช่น การให้คนมีความรู้ จะต้องฝึกให้มีวินัยในการทำงานควบคู่กันไปด้วย

        การพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นการสร้างรากฐานของระดับการดำรงชีวิตของคนให้ดีขึ้น โดยการให้ความรู้ การฝึกด้าน 

คุณธรรม การส่งเสริมสุขภาพอนามัยการประกอบอาชีพ  รวมกันอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ในประเทศไทยได้มีการสร้างเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพชีวิต  เป้าหมายหลักในการ  “พัฒนาคุณภาพชีวิต”  คือการให้มีความสามารถในการ“พึ่งพาตนเอง

        จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือเริ่มจากการพัฒนา “ตนเอง” ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของสังคม  การพัฒนาตนตามแนวพุทธศาสนา ได้มีการ วิเคราะห์พฤติกรรม (การกระทำของคน) ไว้ในสองลักษณะ   คือ 

          ลักษณะที่ 1  พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดทุกข์ เกิดจากการไม่รู้หรืออวิชาตัณหา เช่น ความโลภอยากได้ของคนอื่นเกิดการลักขโมย   เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดทุกข์

          ลักษณะที่  2 พฤติกรรมสลายทุกข์ (การแก้ปัญหา) เมื่อคนเราเกิดความทุกข์จะก่อให้เกิดพฤติกรรมในการแก้ปัญหาคือสร้างปัญญา  และฉันทะ  

 

           เพื่อให้เกิดการศึกษา รู้วิธีการในการแก้ปัญหาจากพฤติกรรมดังกล่าว แนวพุทธศาสนาจึงได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาตนไว้ดังนี้

           ขั้นที่ 1 นำสู่สิกขา คือ ขั้นของการฝึกฝนตนเองในการศึกษา การฝึกฝนให้เกิดสัมมาทิฏฐิ  ซึ่งเป็นรากฐานของการฝึกและพัฒนาตนเอง ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 2 อย่าง คือ

1.        ปัจจัยภายนอก (ประโตโฆษะ) คือ การกลั่นกรองรับเอาคำอบรมสั่งสอนจากพ่อ แม่ พี่ น้อง สื่อมวลชนต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการรับเอาความรู้ สังคม และวัฒนธรรมที่ดีในการพัฒนาตนเองต่อไป

2.        ปัจจัยภายใน (โยนิโสมนสิการ) คือ การรู้จักเลือกปฏิบัติ เลือกหากัลยาณมิตร ซึ่งคนมองเห็นประโยชน์และสามารถตีคุณค่าได้ ซึ่งจะต้องมีการฝึกฝน ตามองค์ประกอบด้านการมีสติพื้นฐานเป็นผู้มีศีล มีระเบียบ วินัย เป็นผู้มีแรงจูงใจใฝ่สร้างสรรค์  เป็นผู้มีความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ เป็นผู้มีความเชื่อในหลักเหตุผล มีความกระตือรือร้นและการเป็นผู้มีวิจารณญาณหาเหตุผล รู้จักพิจารณาอย่างรอบคอบ

           ขั้นที่  2 ไตรสิกขา เป็นขั้นการพัฒนาคนอย่างสมบูรณ์แบบ และในขั้นนี้ต้องมีการศึกษาเรื่องศักยภาพของมนุษย์  หลักสำคัญในการพัฒนามนุษย์ในขั้นนี้คือ

          1) ศีล เป็นการฝึกพฤติกรรม โดยมีวินัยเป็นเครื่องมือในการฝึก

          2) สมาธิ เป็นการฝึกด้านจิต ฝึกด้านคุณธรรม ความมีจิตเมตตา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ปัญญา เป็นการฝึกในด้านการรู้ การพิจารณา การไตร่ตรองหาเหตุผล ในขณะที่สังคมโลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงสังคมของชุมชน กำลังได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสมัยใหม่ การจะ พัฒนา ตนเอง ให้เกิดความสมดุล สามารถปรับตนเองให้มีชีวิตเป็นสุขนั้น ควรจะเริ่มสร้างค่านิยมที่เหมาะสมดังนี้

1. การพึ่งตนเองการขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ เป็นการฝึกตนเองในความรับผิดชอบ การใช้จ่ายของตนเองและครอบครัว การหารายได้ที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการพึ่งผู้อื่น

2. การประหยัดและอดออม เป็นการฝึกฝนตนเองเรื่องการใช้จ่ายที่เหมาะสมกับฐานะ

3. การมีระเบียบวินัย และการเคารพกฎหมาย เป็นการฝึกฝนตนเองในการเคารพกฎ และกติกา ไม่ละเว้นปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อให้ตนเองสบาย

4. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา หลักศาสนามุ่งให้ทุกคนทำความดี     มีความเมตตากรุณาในแก่นแท้ของศาสนา คือการให้ทุกคนรู้จักวิเคราะห์วิจารณญาณ เพื่อให้เข้าใจวิถีและธรรมชาติของชีวิต

5. ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ชาติหมายถึง กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมเดียวกันมาอยู่รวมกัน ชาติจึงเป็นสมบัติส่วนรวมที่ทุกคนต้องรักและหวงแหนการรวมกันเป็นชาติ การเลือกนับถือศาสนา

 จากบทความดังกล่าวข้างต้น  จะเห็นได้ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น  มิควรมุ่งเน้นแต่การพัฒนาด้านศักยภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งการตอบแทนทางวัตถุ  หรือความต้องการมีชีวิตที่สุขสบาย เพียงอย่างเดียว หากแต่การพัฒนาทางด้านคุณธรรมจริยธรรมที่มนุษย์พึ่งมี ก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่ง ที่จะทำให้มนุษย์มีความสมบูรณ์แบบ ทั้งผลลัพธ์ท้ายสุดก็คือ  " ความมีสันติภาพที่จะเกิดขึ้น " ไม่มีภาพละโมบโลภมากที่มักจะเห็นได้ไม่ยากนักในสังคมปัจจุบัน  จึงมีคำกล่าวที่ว่า " ท่านจะเก่งเพียงไร มีความสามารถมาจากไหน หากท่านไร้ซึ่งคุณธรรม ลุ่มหลงเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนแล้วไซร้  ความเก่งกล้าของท่านก็หามีค่าไม่ "  

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เรื่องทั่วไป
หมายเลขบันทึก: 274714เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2009 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ดีมากชอบจังเลยคะ

เก่งคะที่เอาเรื่องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาผูกโยงสัมพันธกับเรื่องของธรรมะ

ข้อเขียนนี้ขาดหายไปในการศึกษาหรือเปล่า..โดยเฉพาะการฝึกทักษะและความเข้าใจตนกับคำว่าทรัพยกรมนุษย์..(การเล่าเรียนที่มีปัจจัยที่ห้าเป็นตัวตั้ง..คุณธรรมที่ถูกซื้อขาย..วิชาความคิด..ติดอยู่ในตำรา..เรียนคำนวน..เพื่อจะหากำไรอย่างเดียวเป็นสิ่งที่เห็นอยู่ในสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน..ที่แก้ยากขึ้นทุกที)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากในปัจจุบัน แต่ไม่เข้าใจว่าทำไม สันติภาพ ของมวลมนุษยชาติและความเอื้ออาทรต่อโลกต่อมนุษย์ด้วยกันจึงลดน้อยลงทุกที..ทุกที

น้องนางบ้านนา

                              

พี่เอกค่ะอ่านแล้วเห็นด้วยค่ะ ดี ต้องมาก่อนเก่ง โลกจะสันติสุข

บทความดีดีเลยต้องขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยนะค่ะพี่เอก

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือเป็น   กำลังใจค่ะ

 

ทดลองใช้ภาพของครูอำนวยพร....มอบเป็นคำขอบคุณอีกครั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท