“ท่านเป็นผู้บริหารปัญหาหรือบริหารข้อมูล”


กรณีของผู้บริหารปัญหา ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลากับการแก้ปัญหาทุก ๆ วัน แต่กรณีของผู้บริหารข้อมูล ส่วนใหญ่มักจะพบในเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้นำในตลาด

กรณีศึกษา SMEs

ท่านเป็นผู้บริหารปัญหาหรือบริหารข้อมูล

               

                ผู้บริหารทั้ง 2 แบบนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงถ้าเราลองมาสังเกตจากแนวคิดและกรณีศึกษาที่จะนำเสนอและยกตัวอย่าง  ท่านทั้งหลายจะเห็นได้อย่างชัดเจนดังนี้

กรณีของผู้บริหารปัญหา 

ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลากับการแก้ปัญหาทุก ๆ วันไม่สามารถเงยหัวขึ้นมาและมองไปข้างหน้าได้เลย  อยู่ในสถานการณ์ของการตั้งรับตลอดเวลาและปัญหาที่ต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลาพอจะยกเป็นตัวอย่างได้ดังนี้เช่น

1.   ยอดขายตก  ต้องกลุ้มใจและเผชิญกับปัญหาของรายได้ที่ลดลง ๆ และกำไรก็ลดตามลงมา  ผลก็คือธุรกิจอยู่ในสถานการณ์ขาลงและอาจถึงกับเกิดสภาวะวิกฤตได้

2.   ขาดเงินหมุนเวียน  กรณีนี้ถ้าใครมีประสบการณ์จะเข้าใจได้ดีว่ามีความทุกข์มากขนาดไหน  มีเพื่อนนักธุรกิจคนหนึ่งพูดว่า ผมไม่อยากตื่นนอนเลยครับ  เพราะจะเจอลูกน้องมาบอกว่าวันนี้ขาดเงินเท่าไหร่และตัวเลขก็มากขึ้น ๆ ทุกวัน ๆ จนเราไม่รู้จะไปขอยืมใครแล้วครับ

3.   เวลาเจอคู่แข่งทีไรเราแพ้ทุกที  เมื่อมีผู้ขายมากกว่าหนึ่งรายมาเสนอขายลูกค้ารายเดียวกัน   ไม่ว่าเราจะอธิบายข้อดีอย่างไร,ไม่ว่าเราจะลดราคาลงมาอย่างไร   เราก็แพ้ทุกทีนี่คือสันญาณของความหายนะชัด ๆ

4.   พนักงานลาออกบ่อยมาก  เราก็จะสูญเสียโอกาสต่าง ๆ มากมายเนื่องจากการขาดบุคคลกรมารองรับถ้ามีโอกาสเข้ามาเพราะเราไม่พร้อม  ทั้งๆ ที่โอกาสก็หายากมากขึ้น ๆ ในปัจจุบันที่มีการแข่งขันอย่างสูงในทุก ๆ ธุรกิจ

5.   เกิดการทุจริต  เราจะมักพบว่าของหาย, เงินหายและหาสาเหตุไม่ได้  หรือบางครั้งโอกาสทางธุรกิจหายไปกับลูกน้องหรือพนักงานนำโอกาสไปทำเองหรือส่งให้คู่แข่งเพื่อขอค่านายหน้า เป็นต้น

 

ถ้าท่านกำลังเผชิญปัญหาแบบนี้   หรือถ้าท่านพบเห็นเพื่อน ๆ ที่กำลังมีปัญหาแบบนี้  และมีอาการเหล่านี้เช่น  นัดทีไรไม่ว่างทุกที, การงานยุ่งมากทุกวันหมกมุ่นกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย,หน้าอมทุกข์ตลอดเวลา, เหน็ดเหนื่อยกับการบริหารปัญหาและแนวโน้มของธุรกิจเป็นขาลง   ท่านต้องรีบเตือนเพื่อนของท่านให้มีสติ  คิดทบทวนและต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิด  วิธีบริหารงานอย่างรีบด่วนที่สุด  โดยอาจจะต้องหาตัวช่วยเช่นเพื่อน ๆ ที่มีความรู้  หรือคนที่มีประสบการณ์มาให้คำแนะนำ  หรือท่านสามารถติดต่อ ฝ่ายประสานงานและบริการ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรามีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านเช่น  การขาย, การตลาด, การเงิน, การวางแผนทางธุรกิจ, การออกแบบผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ เพื่อคอยบริการให้คำปรึกษาโดยสามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-278-8800 ต่อ 400 เพื่อนัดหมายโดยท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย   เนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐที่ตั้งขึ้นมาให้บริการโดยตรง  สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม

 

กรณีของผู้บริหารข้อมูล

สำหรับกรณีนี้ส่วนใหญ่มักจะพบในเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้นำในตลาด  หรือส่วนใหญ่มักจะเป็นธุรกิจที่อยู่ในช่วงขาขึ้น  หรือกำลังประสบความสำเร็จ  และจะขอยกตัวอย่างสภาวะที่เขากำลังเผชิญอยู่ดังนี้คือ

1. ศึกษาข้อมูลลูกค้าในอดีต  โดยมีแนวคิดที่ว่าเราเลือกลูกค้าที่เราสามารถขายได้มาจัดเป็นกลุ่มและจะสามารถมองเห็นได้ว่ากลุ่มไหนที่เราขายได้บ่อย ๆ หลังจากนั้นเราก็มาเลือกใช้กลยุทธ์ที่เจาะจงเฉพาะกลุ่ม  เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  จะขอยกตัวอย่างธุรกิจ IT บริษัทหนึ่งเขาจำหน่าย s/w มาหลายปี  พอเรานำลูกค้าเก่ามาจัดกลุ่มดูปรากฏว่ามีประมาณ 3 กลุ่มที่เป็นลูกค้าซึ่งทำธุรกิจเหมือนกันเช่น  กลุ่มธุรกิจรถยนต์ 3 ราย, กลุ่มลูกค้าธนาคาร 5 ราย, กลุ่มลูกค้าประกันภัย  4 ราย เป็นต้น  เมื่อเราทราบว่าลูกค้ากลุ่มเหล่านี้มีความต้องการสินคาของเรา  เราก็แนะนำให้เซลของเราพยายามเข้าหาลูกค้าที่เหลือเช่น  กลุ่มรถยนต์ยังมีอีกอย่างน้อย 5 รายที่เราน่าจะเข้าไปนำเสนอ, กลุ่มลูกค้าธนาคารอีก 10 รายที่เราสามารถเข้าไปนำเสนอ, กลุ่มลูกค้าประกันอีก 20 รายที่เราสามารถเข้าไปนำเสนอ เป็นต้น   และเรายังมีจุดขายในการนำเสนอได้หลายเหตุผลและประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้นเช่น  เรามีประสบการณ์ทำให้ลูกค้าที่ดำเนินธุรกิจที่เหมือนกันเมื่อนำไปใช้แล้วมีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  สามารถสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย  เป็นต้น

2. ศึกษาข้อมูลลูกหนี้  ถ้าเรามีรายละเอียดลูกหนี้ว่าค้างชำระเท่าไหร่, มีลูกหนี้ที่เกินกำหนดการชำระเงินหรือไม่และอย่างไร, วิธีการจัดเก็บเงินรัดกุมและรวดเร็วหรือไม่อย่างไร  เป็นต้น เราจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเงินทุนหมุนเวียนขาดมือได้  โดยจะขอยกตัวอย่างธุรกิจขายส่ง IT ที่มีลูกค้าทั่วประเทศบริษัทหนึ่ง   เขามีการปรับปรุงการจัดเก็บเงินโดยมีระบบคอยเตือนลูกค้าเมื่อใกล้จะถึงเวลาชำระเงิน  สามารถทำให้ลูกหนี้ชำระตรงตามเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ทำให้เรารู้ล่วงหน้าว่ามีเงินจะเข้ามาเมื่อไหร่ , เขามีส่วนลดให้ลูกค้าที่ชำระตรงเวลาพร้อมโอนเงินผ่านธนาคารโดยตรง  ช่วยให้ป้องกันไม่ให้เซลนำเงินไปใช้และดึงเวลา  นอกจากนี้ยังทำให้เงินเข้ามาบริษัททันทีไม่ต้องรอเซลกลับมาหรือเสียเวลาผ่านเช็คระหว่างจังหวัด , เสนอส่วนลดเงินสดให้ลูกค้าที่ชำระเป็นเงินสด  ทำให้เราได้เงินเร็วขึ้นและทันที  เป็นต้น   นอกจากนี้เรายังจะได้ลดค่าใช้จ่ายเนื่องจากเราเสียดอกเบี้ยแพงกว่าค่าใช้จ่ายหรือส่วนลดที่ให้ลูกค้า  และที่สำคัญที่สุดเราไม่ต้องไปหายืมเงินคนอื่นซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ในสภาวะปัจจุบัน    

3. ต้องคอยเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี่ใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงสินค้าให้ดีขึ้น  หรือต้องคอยมองหาสินค้าใหม่ ๆ มาเพิ่มให้มีตัวเลือกและยอดขายมากขึ้น หรือต้องคอยมองหาสินค้าทดแทนมาเสริม  หรือต้องคอยดูคู่แข่งขันว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการอย่างไรเพื่อจะนำมาปรับปรุงสินค้าของเราให้สามารถต่อสู้หรือเหนือกว่าคู่แข่งอยู่ตลอดเวลา   หรือต้องคอยศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไรเพื่อปรับปรุงสินค้าหรือช่องทางจัดจำหน่ายของเราให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค  เช่นในปัจจุบันลูกค้านิยมไปซื้อของตามห้างขายส่งหรือราคาส่งจากห้างใหญ่ ๆ มากกว่าไป สำเพ็ง  เราก็ต้องนำสินค้าไปวางในห้างใหญ่ ๆ ด้วยเหมือนกันเพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสที่ดี  หรือเสียส่วนแบ่งการตลาด หรือเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด  และเราต้องพยายามหาช่องทางติดต่อลูกค้าโดยตรงเพื่อป้องกันความผิดพลาด  หรือข้อมูลไม่ถึงลูกค้าเช่น  การส่ง Fax ถึงลูกค้าโดยตรงเกี่ยวกับยอดหนี้  หรือรายการส่งเริมการขาย  หรือการโทรศัพท์จากสำนักงานใหญ่โดยตรง  หรือการส่งทางจดหมายก็ยังเป็นช่องทางที่ยังคงได้ผลดี เป็นต้น 

4. การสร้างวัฒนธรรมองค์ที่ดีและการสร้างระบบการประเมินผลงานของพนักงานให้มีความเป็นธรรม  องค์กรที่ดี  น่าอยู่  จะมีส่วนอย่างมากที่จะดึงให้พนักงานทำงานดีและอยู่กับเราได้นาน  นอกจากนี้ยังต้องใช้หลักการให้ความเป็นธรรมต่อพนักงานเช่น  การจ่ายผลตอบแทนตามเนื้องาน , การให้คุณกับคนที่ทำดีและให้โทษกับคนที่ทำความผิด  จะสามารถชี้นำให้ทุกคนอยากทำความดีและมีความพึงพอใจ

5. การตรวจสอบข้อมูลระบบสินค้าคงคลัง( Stock) อยู่เสอมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดของหาย  หรือเสีย  เนื่องจากว่าการตรวจสอบคือการปรามไม่ให้เกิดการทุจริต, , การจัดการที่ดีจะช่วยลดของเสียหรือหมดอายุ  และจะช่วยให้เราพร้อมอยู่เสมอเพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสที่กำลังจะเข้ามา

จะสังเกตได้ว่าการบริหารข้อมูลคือการป้องกันและการทำการตลาดเชิงรุก  ไม่ใช่การแก้ปัญญาเฉพาะหน้า   และยังมีวิธีการต่าง ๆ และข้อมูลสำคัญ ๆอีกมากที่จะนำมาใช้เป็นตัวช่วย  หรือตัวชี้วัดที่ดีแล้วแต่ว่าเป็นธุรกิจอะไร  อย่างไร  ทำไมและเมื่อไร  ของให้ผู้ประกอบการใช้ตัวอย่างเป็นแนวคิดและลองมองหาข้อมูลที่เป็นสาระสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  ป้องกันการสูญเสีย  ปรับปรุงสินค้าและองค์กรให้ดีกว่าคู่แข่งขัน    พัฒนาและดำเนิต่อไปได้ด้วยดีในอนาคต

 

ธนพล  ก่อฐานะ

ที่ปรึกษา SMEs ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ

ฝ่ายประสานและบริการ SMEs

02-278-8800 ต่อ 400

หมายเลขบันทึก: 274464เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เป็นเส้นผมบังภูเขาท่านอยู่และท่านมองไม่เห็น ถ้านำเส้นผมที่บังตาออกจะเห็นว่าท่านไม่เคยนำข้อมูลมาใช้บริหารเลย

นึกถึงเรื่องการทำ data mining เลยค่ะท่านอจ.ธนพล

ยังไม่ค่อยมีใครเขียนบทความดีดีเรื่องนี้เลยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

เรียนอาจารย์ dr-ammy

ผมตั้งใจจะรวบรวมเรื่อง Data Mining และเขียนเพราะเป็นองค์ความรู้ที่ทีมงานของพวกผมกำลังทำให้ธนาคารบางแห่งอยู่และเราเป็นทีมที่ดีที่สุดในประเทศในขณะนี้

ถ้าต้องการข้อมูลด่วนรบกวนเขียน mail หาผมนะครับ

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยมชม

ธนพล ก่อฐานะ

ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

เข้ามาเป็นปัญหาของผู้ประกอบการอีกครั้งในช่วงเศรษฐกิจช่วงนี้

บทความนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ประกอบการทุกๆท่านนะครับ

ดร.ธนพล ก่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท