บรรพบุรุษคนทั้งโลกอาจมาจากพม่า-ไทย-จีน


 

...

 [ Google ]

ภาพที่ 1: หลักฐานมนุษย์เก่าแก่ที่โลกเราเชื่อกัน คือ อยู่ทางตะวันออกของอาฟริกา ใกล้แม่น้ำในเอธิโอเปีย > Thank [ Google ]

...

 [ Google ]

ภาพที่ 2: หลักฐานหนึ่งที่ใช้ตามล่าหาความจริง คือ DNA ซึ่งสืบทอดกันมา 2 กลุ่มได้แก่ DNA ทั่วไปมาจาก 2 ฝ่าย (แม่ + พ่อ) > Thank [ Google ]

DNA ในไมโตคอนเดรีย (mitochondria) หรือโรงงานสร้างพลังงานขนาดจิ๋วในเซลล์ มาจากแม่ฝ่ายเดียว สันนิษฐานว่า น่าจะมีการขยายกำลังพลจากด้านตะวันออกของอาฟริกา > ไปตอนกลางอาฟริกา > ตะวันออกกลาง > เอเชียกลาง > ยุโรปตอนกลาง + ยุโรปเหนือ + อินเดีย + ไปทางจีน

...

 [ Google ]

ภาพที่ 3: การอพยพข้ามไปมาระหว่างเอเชีย-อเมริกาเหนืออยู่ในยุคน้ำแข็ง แสดงไว้ด้วยแถบสีด้านล่าง (หน่วยพันปี) > Thank [ Google ]

มีการอพยพกลับไปกลับมาหลายรอบ และอพยพลงไปยังเม็กซิโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้ ผ่านชายทะเลด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ ทำให้อินเดียนแดงมีลักษณะคล้ายคนเอเชีย

...

 [ theimmoralminority ]

ภาพที่ 4: ทฤษฎีวิวัฒนาการจากลิงมาเป็นคนมีทั้งคนเชื่อและไม่เชื่อ แถบสีแสดงร้อยละ [ ดำ = เชื่อ; เขียว = ไม่แน่ใจ; แดง = ไม่เชื่อ > Thank [ theimmoralminority ]

คนในประเทศที่ไม่ค่อยเชื่อจากการสำรวจในตาราง คือ ตุรกี สหรัฐฯ กรีซ ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์

...

 [ freerepublic ]

ภาพที่ 5: เส้นประแนวดิ่งแสดงยุคไดโนเสาร์สูญพันธุ์ [ หน่วยล้านปี ] > Thank [ freerepublic ]

หลังจากนั้น 10 กว่าล้านปีมีลิงรุ่นแรก (early monkeys) เกิดขึ้น และพัฒนาไปเป็นสัตว์ 3 สายพันธุ์ได้แก่ ลิงโลกใหม่(4), ลิงโลกเก่า(5), ลิงเอพส์และคน(6)

...

 [ imageshack ]

ภาพที่ 6: ภาพสรุปเรื่องวิวัฒนาการที่เชื่อกันตอนนี้ คือ คนอาฟริกา (A. africanus) พัฒนาไปเรื่อยๆ จนเป็นคนทุกวันนี้ (H. sapiens) > Thank [ imageshack ]

...

 [ compuserve ] 

ภาพที่ 7: คนเรามีพัฒนาการมาหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะสูญพันธุ์ไป ที่รอดมาตอนนี้คือ สายอาฟริกา (All africanus) เมื่อเกือบ 3 ล้านปีก่อน สืบทอดต่อไปเป็นคนปัจจุบัน (H. sapiens) > Thank [ compuserve ]

...

 [ uiowa ]

ภาพที่ 8: แผนที่พม่าบริเวณที่มีการเก็บซากฟอสซิลจากแถบภูเขาปอนยาเดาก์ (Ponyadaung) ตั้งแต่สมัยอาณานิคมอังกฤษ > Thank [ uiowa ]

...

 [ uiowa ]

ภาพที่ 9: อาจารย์บาร์นัม บราวน์ (Barnum Brown) นั่งเท่บนหลังม้า เดินทางไปสำรวจ และเก็บฟอสซิลในเขตภูเขาปอนยาเดาก์ พม่า ปี 1923 หรือ พ.ศ. 2466 > Thank [ uiowa ]

คนรับใช้บนเกวียน คือ คุณมาริ (Mari) ตายด้วยโรคไข้จับสั่น (มาลาเรีย) ระหว่างการเดินทาง

... 

จากวันนั้นถึงวันนี้ 86 ปี... เกวียนและโคแบบนี้ยังมีใช้ในพม่า ต้นตาลแบบนี้ก็ยังมีจนทุกวันนี้ แม้จะน้อยลงไปบ้าง

พม่าจึงเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ธรรมชาติสูงมากชาติหนึ่งในโลก

...

 [ uiowa ]

ภาพที่ 10: แผนที่โลก แสดงว่า ถ้าสมมติฐานนี้เป็นจริง... โลกเราจะมีการอพยพของไพรเมทส์ชั้นสูง หรือสัตว์คล้ายลิง-คนจากเอเชียไปยังอาฟริกา และอเมริกาใต้ (ลูกศรสีแดง) > Thank [ uiowa ]

อีกสมมติฐานหนึ่ง คือ มีไพรเมทส์ชั้นสูง หรือสัตว์คล้ายลิง-คนกระจายทั่วไปทั้งโลกเก่า (เอเชีย-อาฟริกา-ยุโรป) และโลกใหม่ (อเมริกาเหนือ-กลาง-ใต้) ซึ่งเป็นไปได้ยาก เพราะยังไม่มีการค้นพบหลักฐานไพรเมทส์ชั้นสูงในทวีปอเมริกา

...

อ.คริสโตเฟอร์ เบียร์ด (Christopher Beard) และคณะจากสหราชอาณาจักร (Britain's Royal Society) เปิดเผยการค้นพบโครงกระดูกไพรเมทส์ (primates - Ganlea megacanina - แกนเลีย เมกาคานินา; mega = ล้าน ใหญ่; canina = เขี้ยว) หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูง ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของลิงเอพส์และคน อายุ 38 ล้านปีในพม่า

คณะทำงานประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์จากพม่า, ฝรั่งเศส (U Poitiers & U MOntpellier), สหรัฐฯ (Carnegie Museum of Natural History), และกรมทรัพยากรธรณี (Mineral Resources) ของไทย

...

ขุดค้นกันนาน ในที่สุดก็ขุดพบท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ เดือนธันวาคม 2548 ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของพม่า

โครงกระดูกแบบนี้พบใน 3 ประเทศเท่านั้น คือ "พม่า ไทย และจีน" ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า บรรพบุรุษของคนทั้งโลกน่าจะมาจาก 3 ประเทศนี้ กระจายไปทางตะวันตกจนถึงอาฟริกา แล้ววกกลับมาทางตะวันออกอีกรอบหนึ่ง ไม่ได้มาจากอาฟริกาอีกต่อไป

...

ถ้าทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับ... คนทั่วโลกคงต้องเรียกชาว "พม่า-ไทย-จีน" ว่า ท่านปู่ชวดของชวด และท่านย่าทวดของทวดไปอย่างน้อยหลายหมื่นรอบ จึงจะสมเกียรติ

โครงกระดูกและฟันของท่าน "แกนเลีย เขี้ยวใหญ่" พบว่า มีลักษณะเด่น คือ เขี้ยวใหญ่ และฟันสึกมากจากการใช้เขี้ยวขบกัดพืชเขตร้อน

...

ลักษณะฟันเช่นนี้พบในลิงซากิ (Saki) ทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งปรับตัว เพื่อกินอาหารในเขตลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ใช้ฟันขบกัดอาหารจากพืชจนฟันสึกคล้ายๆ กัน

โครงกระดูกชุดนี้มีชื่อรวมกลุ่มที่พบในอาเซียนว่า 'Amphipithecidae' ประกอบด้วย 3 แหล่งใหญ่ได้แก่

  • (1). สายพันธุ์พี่หม่องหรือ 'Pondaungia' & 'Myanmarpithecus' ซึ่งตั้งชื่อตามเมืองตอนกลางค่อนไปทางเหนือของพม่า (Pondaung) และชื่อประเทศพม่า (Myanmar)
  • (2). สายพันธุ์พี่ไทยหรือ 'Siamopithecus' > ตั้งชื่อตามประเทศ "สยาม" หรือไทย
  • (3). โครงกระดูกอีกสายพันธุ์หนึ่งพบทางตะวันออกของจีน คือ 'anthropoid Eosimias' อายุ 40-45 ล้านปี ในปี 2537

... 

การค้นพบนี้นำไปสู่การทบทวนความเชื่อที่ว่า โครงกระดูกและฟัน "คุณลูซี (Lucy)" อายุ 3.2 ล้านปีที่พบในปี 2537 อาจจะไม่ใช่บรรพบุรุษของคนเรา

จุดอ่อนของการค้นพบในพม่า คือ ค้นพบเฉพาะส่วนขากรรไกร ไม่ได้พบโครงร่างทั้งตัว

...

เดือนพฤษภาคม 2552 นักวิจัยค้นพบโครงร่างทั้งตัวของ "คุณอิดา (Ida)" ในเยอรมนี อายุ 47 ล้านปี

ไม่ว่าคนเราจะมาจากเผ่าพันธุ์ไหน หรือจากแหล่งกำเนิดใด... ยังไม่มีวี่แววว่า คนบนโลกเบี้ยวๆ ใบนี้จะเลิกรบราฆ่าฟัน หรือเข่นฆ่ากันได้ ทั้งๆ ที่คนเราน่าจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน

... 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ > [ อ้างอิงที่มาที่นี่ ]

 นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > Thank Irrawaddy; DiscoveryNewsBoston.com 

...

หมายเลขบันทึก: 274011เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท