ระบบสุขภาพภาคประชาชน


สุขภาพภาคประชาชน

ระบบสุขภาพภาคประชาชน

..........ระบบสุขภาพภาคประชาชน หมายถึง กระบวนการที่สมาชิกของสังคม หรือชุมชนนั้นมีความรู้ ความเข้าใจ ร่วมมือกันดูแล และบริหารจัดการให้เกิดสุขภาวะที่ดีขั้นพื้นฐานด้วยตนเอง ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยีและทรัพยากรที่จำเป็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

..........ระบบสุขภาพภาคประชาชน เป็นวัฒนธรรมการดูแลความสุขสมบูรณ์ทางสุขภาพกายและใจของตนเอง สมาชิกในครอบครัว สมาชิกในชุมชนและสังคมของตน ระบบสุขภาพภาคประชาชนจึงเป็นระบบสุขภาวะทุกมิติในลักษณะองค์รวม ซึ่งรวมถึงระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบอาหาร ระบบยา ระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา วิถีชุมชน และวัฒนธรรม

..........แนวคิดระบบสุขภาพภาคประชาชนที่กล่าวในข้างต้นเป็นภาพของระบบสุขภาพภาคประชาชนที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่น จึงเป็นภาพการทำงานของประชาชนที่เป็นเครือข่าย มีกระบวนการดำเนินงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มีนโยบาย เป้าหมาย ตัวชี้วัด และกลวิธีที่ประชาชน เป็นผู้กำหนด ภายใต้ความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ตามสภาวะแวดล้อม บริบทเชื่อมโยงเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมท้องถิ่นและครอบครัว ใช้ทุนทางสังคมที่เป็นของตน มีรูปแบบการทำงานแบบองค์รวม สมผสานภูมิปัญญา ท้องถิ่นและภูมิปัญญาสากล มีนโยบายและกลไกการสนับสนุนจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการกระตุ้นจากองค์กรภายนอก และภายในช่วยขับเคลื่อนกระบวนการ

..........ระบบสุขภาพภาคประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของระบบการดำเนินงาน เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ การดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพภาคประชาชน จึงมิได้หมายความว่าจะต้องสร้างระบบการดำเนินงาน ที่มาทำงานด้านสุขภาพแยกจากการทำงานด้านอื่นๆ แต่ควรเป็นระบบการดำเนินงานที่มีศูนย์กลางการบริหารจัดการเดียวกันของทุกๆ สาขา ทั้งด้านสุขภาพ เกษตร อาชีพ การศึกษาและอื่นๆ เพื่อการบูรณาการของการพัฒนาที่ยึดการแก้ปัญหา สร้างความเป็นอยู่ และ คุณภาพชีวิตที่ดีตามความต้องการของชุมชนท้องถิ่นเป็นประการสำคัญ

........เหนือขึ้นมาจากระดับชุมชนท้องถิ่นในภาพของสังคมและประเทศสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นมีความสลับซับซ้อนกว่าแต่ก่อนมาก ปัญหาด้านสุขภาพเองก็มิได้เกิดขึ้นเป็นปัญหาเดี่ยวๆ แต่มีความเชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผลกับปัญหาอื่นๆ ที่มีความสลับซับซ้อนมากเกิน กว่าที่จะแก้ไขด้วยกลยุทธ์ทางด้านสุขภาพเพียงประการเดียว รวมทั้งบางปัญหาก็เกิน กำลังที่ชุมชนท้องถิ่นจะสามารถจัดการได ้เพียงลำพังในชุมชนท้องถิ่นเดียวได้ ดังนั้นระบบสุขภาพภาคประชาชนแต่ละชุมชนท้องถิ่นจึงต้องมีการถักทอ เชื่อมโยงกันเป็นกลไก ที่เชื่อมต่อกับระบบสุขภาพในระดับต่างๆ รวมถึงระบบการพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อให้มีบทบาทกำหนดทิศทางและนโยบาย การพัฒนา สุขภาพในระดับต่าง ๆ จนถึงระดับประเทศอันมีพื้นฐานมาจากสภาพปัญหาและความ ต้องการของประชาชนที่ส่งต่อกัน มาเป็นลำดับ ในขณะเดียวกันก็เป็นเครือข่ายที่มีขุม พลังอันมหาศาลในการจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาด้านอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ต้องอาศัยความร่วมมือ การผนึกกำลังอย่างมีเป้าหมาย

หมายเลขบันทึก: 274010เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท