นำชมอาคารพระราชเขมากร(ศูนย์รียนรู้สัจจะฯจ.ตราด)1


       อาคารพระราชเขมากรที่เป็นที่ตั้งของศูนย์เรียนรู้เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์จังหวัดตราด   มีการเคลื่อนกิจกรรมหลากหลายมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดขึ้นจากการมองการณ์ไกลจากพระอาจารย์สุบิน  ประณีโต ที่ท่านไม่ต้องการให้อาคารที่สร้างขึ้นมาแล้วใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า
          กิจกรรมที่เคลื่อนไหวนับไล่ดูจากชั้นล่างของอาคาร  ส่วนแรกถูกใช้เป็นจุดรวมซื้อสินค้าที่สมาชิกสัจจะฯทั้งจังหวัดตราด รวบรวมยอดและสั่งผ่านตัวแทนกลุ่มขึ้นมา  สินค้าหลักคือข้าวสารที่มียอดสั่งต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 9,000 ถัง สามารถเกิดกำลังต่อรองมากมายมหาศาลจนกระทั่งวันนี้เริ่มมีการทำถุงข้าวเป็นของสัจจะฯเองแล้ว  แต่ไม่ใช่ต้องการโฆษณายี่ห้อตนที่ต้องทำเพราะขายยี่ห้อของคนอื่นถูกกว่า(เพราะไม่มีส่วนต่างราคา)  แต่แล้วโดนโจมตีว่าเป็นข้าวปลอมปน  จึงนำมาขายถูกได้  เมื่อคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้มีมติทำถุงข้าวของตัวเองปัญหาการกดดันด้านราคาหมดไป 
          นอกจากข้าวสารแล้ว ยังมีสินค้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ประเภทน้ำปลา น้ำตาลทราย กะปิ น้ำมันพืช รวมไปถึงสินค้าลดต้นทุนชีวิต(ทำเองก็ได้ง่ายจัง)  เช่น หัวเชื้อน้ำยาล้างจาน  หัวเชื้อน้ำยาปรับผ้านุ่ม หัวเชื้อน้ำยาซักผ้า ที่ทางศูนย์เป็นตัวแทนสั่งมาจำหน่ายเพื่อลดต้นทุนให้แก่สมาชิก 
          จากแนวคิดที่เรารู้กันอยู่ว่า การรวมตัวกันซื้อสินค้ากันครั้งละมากๆ เราจะได้ของราคาถูกกว่าการวิ่งซื้อทีละชิ้นสองชิ้น แต่นิสัยของชาวบ้านไม่เคยคำนึงถึงแม้คำนึงแต่ด้วยเขาต้องหาเช้ากินค่ำ จะให้เอารายได้ของวันนี้ ไปซื้อของที่ยังไม่ได้ใช้มาตุนไว้หรือ?
          จากการติดตามพระอาจารย์สุบิน  ปณีโต ลงเยี่ยมกลุ่มในวันครบรอบปีของทีมงานคณะกรรมการเครือข่ายสัจจะฯโดยเฉพาะพี่จำรัส  สนจิตร์ ที่ทุ่มเทตัวเองเพื่อจะสร้างกระบวนการ “การรวมซื้อรวมขาย”ให้เกิดกำลังการต่อรองอย่างเป็นปึกแผ่นและมีแนวร่วมชัดเจน  ขณะนี้ในปี 2548 มีการขับเคลื่อนงานในส่วนของการรวมซื้อได้ประมาณ 80 กลุ่ม จากกลุ่มสัจจะฯทั้งหมด 163 กลุ่ม โดยมีรูปแบบที่สอดประสานกับกลุ่มสัจจะฯของหมู่บ้านคือ
(ชาวบ้าน(ความต้องการสินค้า)) + (กลุ่มสัจจะ(ทุนซื้อสินค้า))  = (การรวมซื้อ)
          โดยมีเงื่อนไขบ้างอย่างที่น่าสนใจคือ
·       ไม่จำเป็นต้องมีร้านค้า  ใช้วิธีนัดหมายมารับสินค้าเช่นที่ทำการกลุ่ม จึงไม่ต้องใช้งบประมาณในการสร้างร้านค้า  การจ้างคนดูแลสินค้า
·       นัดวันรับสินค้าเดือนละครั้ง   เป็นการฝึกให้สมาชิกวางแผนการสั่งสินค้าให้สามารถใช้ได้ชนเดือน  บางกลุ่มให้สินเชื่อโดยนำไปกินก่อน 1 เดือนแล้วค่อยจ่ายเงิน
·       นัดเวลามารับสินค้าให้แน่นอนไม่มีพันธะแก่ผู้ที่ทำหน้าที่ขนส่งมากเกินไปในการดูแลสินค้า
ในส่วนของกิจกรรมรวมซื้อนี้  ในวันข้างหน้าทางศูนย์เรียนรู้ฯมีเป้าหมายที่จะเชื่อมร้อยเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชุมชนต่อไป 
หมายเลขบันทึก: 27335เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2006 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท