ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

เครื่องหมายวรรคตอน


หลักภาษาไทย

               เครื่องหมายวรรคตอนเป็นสัญลักษณ์ที่จะช่วยให้สื่อความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เครื่องหมายที่สำคัญๆ คือ

        ๑. มหัพภาค  .  เป็นเครื่องหมายรูปจุด  มีวิธีใช้ดังนี้

            -  ใช้เขียนหลังตัวอักษรเพื่อแสดงว่าเป็นคำย่อ  เช่น  พุทธศักราช  =  พ.ศ.

            -  ใช้เขียนตำแหน่งแสดงจุดทศนิยม  เช่น  ๐๙.๓๐ น.

            -  ใช้เขียนหลังตัวเลจกำกับข้อย่อย  เช่น  1.   2.  3.

       ๒. จุลภาค , มีวิธีใช้  ดังนี้

            - ใช้เขียนคั่นคำเพื่อแยกข้อความออกจากกัน  เช่น  ผลไม้หลากชนิด เช่น  มะม่วง , มังคุด , ละมุด , ลำไย

            - ใช้คั่นตัวเลข  เช่น  ,๒๐๐ บาท

       ๓. ปรัศนี ? คือ  เครื่องหมายคำถาม  ใช้เขียนหลังประโยคคำถาม เช่น  เธอจะไปไหน ?

       ๔. นขลิขิต (    ) คือ เครื่องหมายวงเล็บ  ใช้เขียนคร่อมข้อความเพื่ออธิบายคำที่อยู่ข้างหน้า เช่น พระเนตร (ตา )

       ๕. อัศเจรีย์  ! คือ เครื่องหมายตกใจ  มีวิธิใช้ดังนี้

                -  ใช้หลังคำอุทาน เช่น  โอ๊ย !

                -  ใช้เขียนหลังคำเลียนเสียงธรรมชาติ   เช่น ปัง!

       ๖. อัญประกาศ "     "  เครื่องหมายคำพูด  วิธีการใช้  คือ

                -  ใช้คร่อมข้อความที่ต้องการเน้น  เช่น  แม่บอกว่า " ลูกต้องเป็นเด็กดี "

                -  เพื่อเน้นข้อความให้เด่นชัดขึ้น 

       ๗. บุพสัญญา  " เป็นเครื่องหมาย  ละ  มีวิธีการใช้ดังนี้

                - ใช้แทนคำหรือข้อความบรรทัดบน  เพื่อไม่ต้องเขียนซ้ำอีก เช่น

                        มะม่วง    กิโลกรัมละ  ๒๐  บาท

                       มังคุด           "         ๒๕ บาท

                       ทุเรียน          "        ๖๐  บาท

       ๘. สัญประกาศ  ____  เครื่องหมายขีดเส้นใต้  ใช้ขีดใต้ข้อความเพื่อให้สังเกตได้ชัดเจน

                     เช่น  ฉันไม่ต้องการอะไรมากไปกว่า ปัจจัยสี่

       ๙. ไปยาลใหญ่ ฯลฯ เป็นเครื่องหมาย ละ ข้อความ  ใช้เขียนหลังข้อความที่ยังไม่จบ  แสดงว่า

            ยังมีข้อความประเภทเดียวกันอีกมาก  เช่น  บ้านฉันปลูกดอกไม้หลายชนิด เช่น มะลิ กุหลาบ ชบา ฯลฯ

       ๑๐. ไปยาลน้อย เป็นเครื่องหมายละข้อความนั้นๆให้สั้นลง   เช่น  กรุงเทพฯ

       ๑๑. ยัติภังค์ เป็นเครื่องหมายแยกพยางค์ เช่น สวรรคต  อ่านว่า  สะ - หวัน - คด

       ๑๒. ไม้ยมก   ใช้เขียนหลังคำเพื่อออกเสียงอ่านซ้ำ  เช่น  ขาวๆ ดำๆ

       ๑๓. เครื่องหมายตก  + เป็นเครื่องหมายตีนกาเล็กๆ เขียนระหว่างคำที่เขียนตกลงไป

       ๑๔. เว้นวรรค  เป็นเครื่องหมายช่องว่างเมื่อจบประโยค เช่น  ในน้ำมีปลาหลายชนิด เช่น ปลาหมอ ปลาช่อน

 

 

       ๑๕. ย่อหน้า  เรียกว่า  มหรรถสัญญา  ใช้เขียนเมื่อเริ่มต้นย่อหน้าใหม่  โดยย่อจา         เครื่องหมายวรรคตอนเป็นสัญลักษณ์ที่จะช่วยให้สื่อความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 272949เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดียามดึกครับพี่แดง

  • ขอบคุณมากๆครับที่แวะมาเยี่ยม  มาทักทาย
  • มาทบทวนเรื่องราวของภาษาไทย
  • ขอให้โชคดีมีสุขนะครับ

 

สวัสดีค่ะ

บางอัน พอลล่าก็ลืมไปแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • ขอบคุณมากๆนะครับ  ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿
  • ที่แวะมาเยี่ยม  มาทักทาย
  • ขอให้มีความสุขนะครับ

โอ้โห

คืนอาจารย์ไปหมดแล้วค่ะ

อิ อิ อิ

สวัสดียามเช้าค่ะ

มีความสุขมากๆค่ะ

สวัสดี ก่อนไปทำงานครับคุณ Your sister.

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม มาทักทาย
  • มาทบทวนความรู้เรื่อง "ภาษาไทย"  มรดกไทย
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ

 

พอดีว่าครูที่โรงเรียนให้ทำรายงานเรื่องนี้พอดี ขอบคุณค่ะดีมากเลยที่เปิดเจอ อ่านแล้ว

เข้าใจง่าย ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

  • ขอบใจนะนู๋แอน
  • ที่แวะมาเยี่ยม มาทักทาย

ขอบคุณค่ะกำลังเรียนพอดีเลยค่ะ

  • ขอบคุณครับคุณ จ๋า
  • ที่แวะมาเยี่ยม

ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท