นวัตกรรมสาธารณสุขจังหวัดน่าน


สิ่งที่ควรทำคือ การคิดประเด็นหัวข้อหรือโจทย์วิจัยที่แหลมคม โดยคิดวิเคราะห์จากงานประจำที่มีอยู่มาพัฒนาเป็นโจทย์ แล้วค้นคว้าองค์ความรู้และผลงานวิจัยเรื่องนั้นๆ ให้แตกฉาน และหาพี่เลี้ยงที่มีความรู้ประสบการณ์ เช่นคนที่จบปริญญาโทหรือผู้ที่เคยทำงานวิจัยมาก่อนมาเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ

ทุกๆ ปี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ร่วมกับชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยสาขาจังหวัดน่าน จะจัดให้มี เวทีประกวดนวัตกรรมสาธารณสุขระดับจังหวัด ขึ้น เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมสาธารณสุข และคัดเลือกนวัตกรรมเด่นแต่ละสาขาไปร่วมประกวดนวัตกรรมสาธารณสุขในระดับเขตและประเทศต่อไป

ปีนี้จัดกันวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ ณ โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน มีผลงานเข้าร่วมทั้งหมด....เรื่อง โดยมีนี้ได้เพิ่มสาขาผลงานนวัตกรรมและวิชาการของโรงพยาบาลขึ้นอีก ๑ สาขา เพื่อให้กลุ่มบุคลากรในโรงพยาบาลได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

และปีนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่เข้าร่วมนำเสนอผลงานทุกชิ้นได้จัดนิทรรศการด้วย ทำให้บรรยายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นไปอย่างคึกคัก

ผลงานวิชาการ ทั้งหมด ๔๓ เรื่อง แยกเป็นแต่ละสาขาดังนี้

๑)    กลุ่มโรงพยาบาล จำนวน ๑๗ เรื่อง ชนะเลิศได้แก่ เรื่อง การพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลมารดาและทารกของงานห้องคลอด รพร.ปัว โปรแกรม MADAM รพร.ปัว

๒)    สาขาส่งเสริมสุขภาพ จำนวน ๑๐เรื่อง ชนะเลิศได้แก่ เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในงานศพ ศพสุขคติ : คนอยู่ปลอดภัยคนตายได้บุญสถานีอนามัยตำบลเมืองลี อ.นาหมื่น

๓)    สาขาควบคุมโรคและสิ่งแวดล้อม จำนวน เรื่อง ชนะเลิศได้แก่ เรื่อง มอเตอร์ไซค์ชุมชน  สอ.บ้านถ้ำเวียงแก อ.สองแคว

๔)   สาขาบริการ จำนวน เรื่อง ชนะเลิศได้แก่ เรื่อง การประยุกต์ใช้รองเท้ายาง Night splints รักษาอาการปวดส้นเท้า สอ.ต.ปิงหลวง อ.นาหมื่น

๕)   สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน เรื่อง ชนะเลิศได้แก่ เรื่อง มหัศจรรย์โคมไฟไล่ยุง สอ.ต.ชนแดน อ.สองแคว

๖)    สาขาคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ.) จำนวน เรื่อง ชนะเลิศได้แก่ เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา อ.บ้านหลวง คปสอ.บ้านหลวง

๗)   สาขาป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุ จำนวน เรื่อง ชนะเลิศได้แก่ เรื่อง แข่งเฮือบ่มีเหล้า เบียร์ลดอุบัติเหตุและเหตุร้ายตำบลน้ำปั้ว สอ.น้ำปั้ว  อ.เวียงสา

ช่วงท้าย นพ.พิศิษฐ์  ศรีประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน ได้ให้ข้อคิดว่า

...การพัฒนานวัตกรรมและวิชาการต้องทำอย่างต่อเนื่อง ผลงานวิชาการที่ได้นำเสนอวันนี้ต้องกลับไปแก้ไขพัฒนาตามที่ทีมวิพากษ์และผู้เข้าร่วมเวทีได้แนะนำ เพื่อพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพมากขึ้น แล้วคัดเลือกผลงานที่ดีไปนำเสนอในเวทีระดับเขต ระดับประเทศ เพื่อให้ผลงานนั้นมีคุณภาพมากขึ้น และเอกสารทุกเรื่องให้นำไปขึ้น Website ของสสจ.เพื่อให้เป็นคลังความรู้และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทาง Electronic...

ในการพัฒนานวัตกรรมและวิชาการนั้น สิ่งที่ควรทำคือ การคิดประเด็นหัวข้อหรือโจทย์วิจัยที่แหลมคม โดยคิดวิเคราะห์จากงานประจำที่มีอยู่มาพัฒนาเป็นโจทย์ แล้วค้นคว้าองค์ความรู้และผลงานวิจัยเรื่องนั้นๆ ให้แตกฉาน และหาพี่เลี้ยงที่มีความรู้ประสบการณ์ เช่นคนที่จบปริญญาโทหรือผู้ที่เคยทำงานวิจัยมาก่อนมาเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ เป็นการได้สองฝ่ายคือผู้ให้คำแนะนำก็ถือโอกาสการเคาะสนิมไปด้วย คนปรึกษาก็ได้ความรู้ทำงานวิชาการแบบมีพี่เลี้ยงคอยดูไม่ให้หลงทาง ก็จะทำให้การพัฒนาวิชาการเป็นไปอย่างมีคุณภาพได้...

และที่สำคัญท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่านบอกว่าปีหน้าทุกคนต้องมีผลงานวิชาการเพื่อรองรับการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

หมายเลขบันทึก: 272740เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
งานวิจัย วพบ.ราชบุรี

หวัดดีคะ เข้ามาแนะนำตัวคะ

ว่าง ๆ จะเข้ามาคุยนะคะ

หลายครั้งที่ทำงาน CQI  วิจัย หรือนวัตกรรมนอกจากจะคิดแนวทางดำเนินการไม่ออกแล้ว สำหรับมือใหม่อย่างเรา สิ่งที่อยากได้คือ. "ที่ปรึกษา" ยิ่งเป็นคนที่มีความรู้ มีประสบการณ์ ยิ่งจะพาเราเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง. แต่ที่ผ่านมายังหาเครือข่ายหรือที่ปรึกษาไม่ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท