ลดอ้วนเล็กน้อย เพิ่มโอกาสได้ลูก+ลดเสี่ยงเป็นหมัน


 

...

ศ.บิลล์ เลดเจอร์ ( Bill Ledger ) และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ สหราชอาณาจักร (Sheffield U) ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้หญิงอ้วนที่มีลูกยากจากปัญหา "ไม่ตกไข่" (ปกติผู้หญิงจะตกไข่เดือนละ 1 ฟอง สลับกันจากรังไข่ข้างซ้ายเดือนหนึ่ง ข้างขวาเดือนหนึ่ง)

ผลการศึกษาพบว่า การลดความอ้วน 5% ของน้ำหนักเริ่มแรก เพิ่มเลือดไปเลี้ยงมดลูก 19%

...

ภาวะขาดเลือด หรือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่พอเป็นปัจจัยกระตุ้น (trigger) ที่ทำให้ไข่ไม่ตกจากรังไข่

การมีเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้นอาจช่วยให้ตัวอ่อน (embryo) ฝังตัวในมดลูก (womb) ได้ดีขึ้น

...

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอผลการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านต่อไป

ทว่า... ได้เปิดมิติใหม่ที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ว่า โรคอ้วนอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ น้อยลง ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบาย หรือปวดท้องเรื้อรังได้เช่นกัน

...

กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้เกือบทั้งหมดมีอาการถุงน้ำหลายถุงในรังไข่ หรือ 'polycystic ovary syndrome / PCOS' อายุเฉลี่ย 29 ปี ดัชนีมวลกาย (body mass index / BMI = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง) เกือบ 40

การศึกษานี้มีการใช้ยาลดความอ้วน 'orlistat' หรือยาลดระดับน้ำตาลในเลือด 'metformin' เพื่อช่วยลดน้ำหนักให้ได้ 5% ภายใน 12 สัปดาห์

...

การศึกษาก่อนหน้านี้ทำในกลุ่มตัวอย่างจำนวนไม่มากพบว่า การลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยช่วยให้โอกาสตกไข่เพิ่มขึ้น 30-40%

กลไกที่โรค PCOS ทำให้มีลูกยากมีหลายกลไก เช่น ระดับฮอร์โมนเพศชาย 'testosterone' สูง และเลือดไปเลี้ยงมดลูกลดลง ฯลฯ

...

ศ.เลดเจอร์กล่าวว่า ผู้หญิงที่ลดน้ำหนักได้ 5-10% มีโอกาสมีลูกสมใจเพิ่มขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้อลดน้ำหนักมากถึง 50% หรือลดจนผอมเป็นหุ่นนางแบบ

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank BBC

ที่มา                                                                      

  • Thank Harward U > Changes in diet and lifestyle may help prevent infertility. 2007.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 2 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 272734เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท