บทเรียนจากชุมชนลดละเลิกเหล้า ตอน ๓ (โซนใต้)


เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรชุมชน/เครือข่าย ในการเฝ้าระวังตรวจสอบการผลิต/การจำหน่าย

 

          เวทีถอดบทเรียนชุมชนลดละเลิกสุรา ครั้งที่ ๓ จัดในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ณ ศาลาการเปรียญวัดอรัญญาวาส ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน มีทีมเครือข่ายงานขับเคลื่อนชุมชนลดละเลิกสุราจากอำเภอๆ ละ ๕-๑๐ คน รวมราว ๕๐ คน จากอำเภอเมือง, เวียงสา, นาน้อย, และนาหมื่น กระบวนการใช้เหมือนกับเวทีถอดบทเรียนสายเหนือ (บันทึกเวทีครั้งที่ ๑ , )

 

สรุปภาพรวมสถานการณ์การดื่มสุรา

          กลุ่มดื่ม

          - กลุ่มเยาวชน, ผู้หญิง มีแนวโน้มการดื่มที่เพิ่มขึ้น

          - กลุ่มชายวัยแรงงาน มีการดื่มที่คงที่

          - กลุ่มผู้สูงอายุ มีแนวโน้มการดื่มที่ลดลง

          พื้นที่ดื่ม

          - ที่สาธารณะต่างๆ

          - ในงานเลี้ยง (โดยเฉพาะงานเลี้ยงที่มีดนตรี)

          - พื้นที่เกษตร/บ้านเจ้าภาพ (มักจะดื่มหลังเลิกงานการเกษตรแล้ว)

          ประเภทที่ดื่ม

          - เหล้าพื้นบ้าน นิยมดื่มนกลุ่มเกษตรกร

          - เหล้าแดง/เบียร์/ไวน์ มักนิยมดื่มในงานเลี้ยงต่างๆ

          แหล่งซื้อ

          - กลุ่มผลิตเหล้าพื้นบ้าน ที่มีอยู่ในชุมชนหรือชุมชนใกล้เคียง

          - ร้านชำในชุมชน

          - ร้านขายเหล้าในชุมชน

          โอกาสดื่ม

          - งานเลี้ยงต่างๆ

          - ช่วงเทศกาล/งานประเพณีของชุมชน

          - หลังเลิกงานการเกษตร

          - งานเลี้ยงฉลองต่างๆ เช่น ฉลองตำแหน่ง, ฉลองวันเกิด, ฉลองสอบเสร็จ เป็นต้น

          สิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง

          - การจัดเลี้ยงที่มีเครื่องดนตรี, การจัดเลี้ยงก่อน-หลังมีงานบุญ ซึ่งมักจะมีการดื่มสุรากัน

          - ค่านิยมที่มีการส่งเสริมให้ลูกดื่มในบ้าน เพราะคิดว่าอยู่ในสายตาของพ่อแม่แล้ว กลายเป็นการส่งเสริมให้ลูกดื่มสุรา

 

บทเรียนดีดี

          มีการขับเคลื่อนผ่านเวทีประชาคมระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน รวมไปถึงการมีองค์กร/คณะทำงานขับเคลื่อนระดับอำเภอ เช่น สภาวัฒนธรรมอำเภอ เป็นต้น

          มีการประกาศเป็นนโยบายสาธารณะ โดยนายอำเภอ หรือ สภาวัฒนธรรมอำเภอ

          กำหนดมาตรการ/กฎระเบียบ จากเวทีประชาคม

           จำกัดงานที่ดื่ม ห้ามดื่มในกิจกรรม/ประเพณีที่สำคัญ เช่น งานศพ, งานกีฬา, งานบวชภาคฤดูร้อน, งานแข่งเรือ

           จำกัดสถานที่ดื่ม ห้ามดื่มในสถานที่ราชการและที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน, สำนักงาน, วัด

          การดำเนินงานมาตรการทางกฎหมาย / ออกตรวจตรา เฝ้าระวัง ให้ความรู้ โดยทีมบูรณาการ

          ให้ความรู้/รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน, ป้าย, การอบรม เป็นต้น

          รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา และมีการให้เกียรติบัตรผู้ที่เข้าร่วมโครงการ

          การจัดประกวดหมู่บ้านต้นแบบ

          อปท.สนับสนุนการบวชที่ไม่มีการจัดเลี้ยงสุรา

 

พื้นที่ต้นแบบ

          บ้านน้ำแพะ อ.นาหมื่น

          บ้านนาเหลือง ต.นาเหลือง อ.เวียงสา

          บ้านต้นหนุน ต.กลางเวียง อ.เวียงสา

          บ้านขึ่ง ม.7 ต.ขึ่ง อ.เวียงสา

          บ้านทุ่งผง ต.ทุ่งศรีทอง อ.เวียงสา

          บ้านจอมจันทร์ ต.จอมจันทร์ อ.เวียงสา

          บ้านตาแก้ว ต.ไชยสถาน และ ตำบลละ 1 หมู่บ้าน ในเขตอ.เมือง

          ต.สถาน อ.นาน้อย

          บ้านศรีบุญเรือง ต.ศีรษะเกษ อ.นาน้อย

 

การขับเคลื่อนต่อไป

          การขับเคลื่อนงานสลากปลอดเหล้า

          การจัดระเบียบกลุ่มเด็กและเยาวชน / นักเรียนในสถานศึกษา

          จัดประชุมประชาคม/เวทีสาธารณะ ทบทวนมาตรการ และกำหนดแนวทางการลดละเลิกการดื่มสุรา

          ออกตรวจตรา/ให้ความรู้/ปลดป้ายที่ผิดพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านค้า/ร้านจำหน่าย

          การสำรวจข้อมูลการดื่มแยกรายเป็นหมู่บ้าน/ตำบล

          เชิดชูประกาศหมู่บ้านต้นแบบ ขยายพื้นที่/สร้างเครือข่ายการทำงาน

          บูรณาการกับงานอื่นๆ

          ของบสนับสนุนจากอปท., สสส, สภาวัฒนธรรม, กองทุนสุขภาพ

 

ข้อเสนอแนะ

อปท.

          จัดทำแผน/ให้การสนับสนุนงบประมาณขับเคลื่อน

          จัดเวทีประชาคม ออกกฎระเบียบข้อบังคับ/มติของตำบล

          คัดเลือกหาคน/ครอบครัว/ชุมชนต้นแบบ

ภาครัฐ

          การดำเนินงานตามกฎหมายอย่างจริงจัง

          ผู้บริหาร/ผู้นำเป็นแบบอย่างที่ดี

          สรรพสามิตจัดตั้งองค์กรชุมชน/เครือข่าย ในการเฝ้าระวังตรวจสอบการผลิต/การจำหน่าย

รัฐบาล

          เพิ่มการจัดเก็บภาษีเหล้าเบียร์/บุหรี่

          กำหนดปริมาณการผลิต

          งดการผลิตรายใหม่

          กระจายอำนาจให้อปท.ในการตรวจสอบดูแลในกลุ่มผลิตเหล้าในพื้นที่

องค์กรพระสงฆ์

          อบรมพัฒนาพระนักเทศน์ / เน้นย้ำในการเทศนา

อื่นๆ

          เปลี่ยนการให้ของชำร่วยในงานศพเป็นกล้าไม้

          มอบรางวัลความดีแก่บุคคลทำดี

กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นไปอย่างสนุกสนานได้ความรู้ ได้แบ่งปันประสบการณ์ แต่ละทีมเกิดแรงบันดาลใจที่จะกลับไปขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ต่อ ในขณะที่ทีมจังหวัดก็วางแผนการดำเนินการต่อไปดังนี้

          สรุปเป็นข้อมูลภาพรวมของจังหวัดและนำไปเสนอให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการ

          จัดเวทีถอดบทเรียนชุมชนต้นแบบ เพื่อเป็นตัวอย่างการเรียนรู้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 272725เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท