บทเรียนจากชุมชนลดละเลิกเหล้า ตอน ๒ (โซนกลาง)


ให้สุราเป็นสินค้าควบคุม ที่ขายได้เฉพาะบางแห่ง/บางร้าน

 

          เวทีถอดบทเรียนชุมชนลดละเลิกสุรา ครั้งที่ ๒ จัดในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ อันเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก ณ ศาลาการเปรียญวัดอรัญญาวาส ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน มีทีมเครือข่ายงานขับเคลื่อนชุมชนลดละเลิกสุราจากอำเภอๆ ละ ๕-๑๐ คน รวมราว ๕๐ คน จากอำเภอท่าวังผา, ภูเพียง, บ้านหลวง, สันติสุข, แม่จริม กระบวนการใช้เหมือนกับเวทีถอดบทเรียนสายเหนือ (บันทึกเวทีตอนที่ ๑)

 

สรุปภาพรวมสถานการณ์การดื่มสุรา

          แนวโน้มมีการดื่มสุราเพิ่มขึ้น ในกลุ่มเยาวชน, กลุ่มวัยแรงงาน, กลุ่มผู้หญิงในงานเลี้ยงสรรค์ในพื้นที่, และกลุ่มสล่า(ช่างปลูกบ้าน)

          การดื่มในกลุ่มผู้นำทั้งราชการ ท้องถิ่น ผู้นำชุมชนในงานเลี้ยงและงานสาธารณะ ทำให้เกิดแบบอย่างที่ไม่ดี

          กลุ่มที่มีแนวโน้มการดื่มสุราที่ลดลงได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ, และกลุ่มที่มีปัญหาด้านสุขภาพ

          ประเภทสุราที่นิยมดื่มกันมาก ได้แก่ สุราพื้นบ้าน มักนิยมดื่มในกลุ่มเกษตรกร, ส่วนเหล้าแดง/เบียร์มักนิยมดื่มกันในงานเลี้ยงหรือในกลุ่มข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และกลุ่มแม่บ้าน

          สถานที่ดื่ม มักนิยมดื่มกันในงานเลี้ยงต่างๆ , งานประเพณี, เทศกาลต่างๆ , ไร่สวนนาหลังเลิกงานการเกษตร, และร้านค้า/ร้านชำที่จำหน่ายสุรา

          แต่ละอำเภอจะมีแหล่งผลิตเหล้าพื้นบ้านในพื้นที่ที่สามารถซื้อหาได้ง่ายและมีราคาถูก

 

บทเรียนดีดี

          ในแต่ละพื้นที่อำเภอได้มีการขับเคลื่อนการลดละเลิกการดื่มสุรามาหลายปี มีรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างกันไป พอสรุปภาพรวมได้ดังนี้

          แต่ละอำเภอมีการขับเคลื่อนผ่านเวทีประชาคมระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โดยมีแกนนำขับเคลื่อนทั้งจากภาครัฐ ท้องถิ่น และประชาชน บางอำเภอได้ประกาศเป็นวาระการขับเคลื่อนสุราเป็นวาระของอำเภอ

          ได้มีการกำหนดมาตรการ/กฎระเบียบ จากเวทีประชาคม อาทิเช่น

          จำกัดวันดื่ม ห้ามดื่มในวัน/ประเพณีที่สำคัญ เช่น งานสลากภัตร, งานวัด, งานบวชงานศพ, งานกีฬา, งานแข่งเรือ, วันอสม., วันกำนัน/ผญบ., วันสตรีสากล, วันผู้สูงอายุ

          จำกัดเวลาดื่ม ได้แก่ จำกัดเวลาดื่มในงานแต่งงาน, ขึ้นบ้านใหม่ เช่น ถ้าจัดเลี้ยงช่วงเช้า ให้มีการเลี้ยงไม่เกินเที่ยงวัน, จัดงานเลี้ยงเที่ยง ให้มีการเลี้ยงไม่เกินสี่โมงเย็น เป็นต้น

          จำกัดปริมาณการดื่ม เช่น กำหนดจำนวนขวดที่จะเลี้ยงในงานเกษตร(มอก)

          จำกัดสถานที่ดื่ม ห้ามดื่มในสถานที่ราชการและที่สาธารณะ เช่น รร., สอ., อบต.,วัด, สนามกีฬา, หอประชุม

          ลดพฤติกรรมการดื่ม เช่น เลี้ยงอาหารก่อนเสริฟ, อยากกินรินเอา, ไม่คะยั้นคะยอ, เลี้ยงนมแทน

          ห้ามรถ/ร้านเร่ขายเข้ามาในชุมชนหรืองานประเพณีของหมู่บ้าน

          รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา และมอบวุฒิบัตรหรือรางวัล ให้ผู้ทำได้สำเร็จ

          อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของสุรา

          จัดทีมออกตรวจตราร้านค้าจำหน่าย/ร้านอาหาร/ที่สาธารณะ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ ปลดป้ายโฆษณาที่ผิดพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และตักเตือนกรณีที่พบการกระทำผิด

          ช่วงเทศกาลปีใหม่/สงกรานต์ จัดให้มีด่านตรวจตราการเมาแล้วขับ หากพบก็จะมีการกักตัวไว้

          บางพื้นที่มีการจัดทำ MOU ระหว่างท้องที่/ท้องถิ่น และกล่าวคำปฏิญาณในการลดละเลิกสุรา

          บางพื้นที่มีการส่งเสริมให้จัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อนำมาวางแผนชีวิต

 

พื้นที่ต้นแบบ

          บ้านคว๊ะ ม.6 ตำบลศรีภูมิ อ.ท่าวังผา

          บ้านน้ำพาง ม.4 ต.น้ำพาง อ.แม่จริม

          บ้านแก่นเหนือ, แก่นนคร, แก่นอุดร ต.น้ำแก่น อ.ภูเพียง

          บ้านหล่ายทุ่ง, บ้านดอนหล่ายทุ่ง ต.สวด อ.บ้านหลวง

          บ้านพี้ หมู่ 1, 4 ต.บ้านพี้ อ.บ้านหลวง

          บ้านศรีบุญเรือง ต.พงษ์ อ.สันติสุข

 

การขับเคลื่อนต่อไป

          แต่งคณะทำงานระดับอำเภอ แล้วมีการจัดประชุมและกำหนดนโยบายสาธารณะเป็นวาระของอำเภอ

          จัดเวทีประชาคมอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เพื่อทบทวนแนวทางการลดละเลิกสุรา

          ดำเนินการมาตรการสังคม กำหนดพื้นที่, พฤติกรรม, งานประเพณี (ผู้นำเป็นแบบอย่าง, ส่งเสริมกิจกรรมครอบครัวอบอุ่น- เลิกเหล้าเพื่อลูก)

          จัดป้ายงานศพปลอดเหล้า-บุหรี่ ในบ้านงานศพ

          ดำเนินการมาตรการกฎหมายตามพรบ. (ตำรวจร่วมกับสรรพสามิต) / ออกตรวจตราร้านจำหน่าย

          จัดประชุมกลุ่มผู้ผลิต/ร้านจำหน่าย เพื่อหาแนวทางการแก้ไขผลกระทบจากการดื่มสุรา

          ให้การบำบัดในกลุ่มที่ดื่มประจำหรือติดสุรา

          รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างกระแส/อบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมาย

          ส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เช่น กีฬา, ดนตรี, จัดค่ายเยาวชน

          ส่งเสริมการจัดบัญชีครัวเรือน

          จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังการห้ามดื่มในชุมชน/ตำบล

          จัดกำหนดจุดบริการสำหรับคนเมาแล้วขับในช่วงเทศกาล

          ถอดบทเรียนดีดีเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่น

          จัดหางบประมาณจากกองทุนสุขภาพ, อปท., สสส. และอื่นๆ

 

ข้อเสนอแนะ

          การดำเนินงานที่ต่อเนื่อง

          การสนับสนุนงบประมาณจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น อปท., สปสช.

          ให้สุราเป็นสินค้าควบคุม ที่ขายได้เฉพาะบางแห่ง/บางร้าน โดยการขับเคลื่อนผ่านหอการค้าและจังหวัด

          ส่งเสริมอาชีพเสริมในกลุ่มดื่ม เพื่อให้ใช้เวลาในการทำกิจกรรม ลดการดื่มในเวลาว่าง

หมายเลขบันทึก: 272723เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท