ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

ไตรยางค์ และการผันอักษร


หลักภาษาไทย
   ไตรยางค์และการผันอักษร

ไตรยางศ์   
         ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ จัดแบ่งตัวพยัญชนะไทย

ออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ได้แก่
         หมู่ที่ 1 เรียกว่า อักษรสูง มี11 ตัว คือ ข ข (ข.ขวด) ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ห
         หมู่ที่ 2 เรียกว่า อักษรกลาง มี 9 ตัว คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ
         หมู่ที่ 3 เรียกว่า อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ ค ค(ค.คน) ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ  ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ  (ข.ขวด มีหัวหยักเช่นเดียวกับ ซ ค. คน ส่วนบนหยักเช่นเดียวกับ ต ปัจจุบันไม่มีที่ใช้ในการเขียนแล้ว)
การผันอักษร
       การผันอักษร   คือการออกเสียงพยางค์ที่ประสมด้วยพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์  ซึ่ง
เสียงวรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป เช่น
กา   ก่า   ก้า   ก๊า   ก๋า
      ก่อนผันอักษรต้องเข้าใจเรื่องความหมายของคำต่อไปนี้ก่อน คือ

 

1. คำเป็น คำตาย
     คำเป็น หมายถึง
           1. พยางค์ที่มีเสียงสระยาวในแม่ ก กา เช่น มา รู โต
          2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น นาง กิน ปม นาย หิว
       
          ข้อสังเกต เสียงสระของคำเป็นใน ข้อ 2 มีทั้งสระเสียงสั้นและเสียงยาว
     คำตาย หมายถึง
         1. พยางค์ที่มีเสียงสระสั้นในแม่ ก กา เช่น ปะ ติ ฉุ
         2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กก กด กบ เช่น นก มัด รับ
          ข้อสังเกต เสียงสระของคำตายใน ข้อ 2 มีทั้งสระเสียงสั้นและเสียงยาว
2. พื้นเสียง
              หมายถึงพยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์
               ต่อไปนี้จะเป็นการผันอักษรทีละหมู่
   อักษรกลาง
     พยัญชนะที่เรียกว่าอักษรกลางทั้ง 9 ตัว (ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ) เมื่อนำมาประสมกับ
สระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์ รูปเดียวกันจะออกเสียงวรรณยุกต์ได้ตรงกัน เช่น    
 ก่า   จ่า   ด่า   ต่า   บ่า   ป่า   อ่า      

อักษรกลางคำเป็น
 พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ    เช่น   กา   ดง   จน  ปม   เตย  

 ผันด้วย  ไม้เอก   เป็นเสียงเอก เช่น  ก่า  ด่ง   จ่น  ป่ม   เต่ย  กล่อ

 ผันด้วย  ไม้โท    เป็นเสียงโท  เช่น  ก้า  ด้ง   จ้น  ป้ม  เต้ย   กล้อง
 ผันด้วย ไม้ตรี     เป็นเสียงตรี เช่น    ก๊า  ด๊ง   จ๊น  ป๊ม  เต๊ย   กล๊อง
 ผันด้วย ไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า  ด๋ง   จ๋น  ป๋ม  เต๋ย   กล๋อง
         จะเห็นว่าอักษรกลางคำเป็น ผันได้ครบ 5 เสียง และเสียงกับรูปวรรณยุกต์ตรงกัน
     

อักษรกลางคำตาย
          พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ปะ  กาก   จด โบก
             ผันด้วย ไม้โท   เป็นเสียงโทเช่น ป้ะ   ก้าก   จ้ด   โบ้ก
             ผันด้วย ไม้ตรี เป็นเสียงตรี เช่น  ป๊ะ   ก๊าก   จ๊ด   โบ๊ก
             ผันด้วยไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวาเช่น ป๋ะ ก๋าก   จ๋ด    โบ๋ก

     (คำที่ยกตัวอย่างเพียงเพื่อให้เห็นวิธีผันอาจไม่มีที่ใช้เป็นปรกติในภาษาก็ได้)
      อักษรต่ำ
                พยัญชนะที่เรียกว่าอักษรต่ำทั้ง 24 ตัว (ค ค(ค.คน) ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ ) ถ้านำมาประสมกับสระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์รูปเดียวกัน จะออกเสียงวรรณยุกต์ ได้ตรงกันทั้งหมู่ต่างกันแต่เสียงพยัญชนะต้นของพยางค์เท่านั้น เช่น  คังงัง ชั่ง นั่ง ค้อน ช้อน ฟ้อน  ต่อไปนี้จะผันอักษรต่ำ
      อักษรต่ำคำเป็น
                 พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญเช่น คา ซน  โคน วาว เชย
                 ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียง โท เช่น ค่า ซ่น โค่น ว่าว เช่ย
                 ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงตรี เช่น ค้า ซ้น  โค้น ว้าว เช้ย
      จะเห็นว่า อักษรต่ำคำเป็น ผันได้เพียง 3 เสียง คือ สามัญ โท ตรี
     อักษรต่ำคำตาย
         สระเสียงสั้น
                 พื้นเสียงเป็นเสียงตรี  เช่น คะ นัด รัก
                ผันด้วย ไม้เอก เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ นัด รั่ก
          สระเสียงยาว
                 พื้นเสียงเป็นเสียงโท เช่น มาก เชิต โนต
                 ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงตรี เช่น ม้าก เชิ้ต โน้ต
               จะเห็นว่า อักษรต่ำคำตาย สระเสียงสั้น ผันได้เพียง 2 เสียง   คือ  โท  และตรี
(การผันคำตายด้วย ไม้จัตวามีผู้ใช้เป็น ครั้งคราว  แต่ออกเสียงไม่สะดวกเหมือนเสียงจัตวาของคำเป็น)
   อักษรสูง
         พยัญชนะที่เรียกว่าอักษรสูง ทั้ง 11 ตัว (ข ข (ข.ขวด) ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ส ษ ห)
ถ้านำมาประสมกับ สระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์รูปเดียวกัน  จะออกเสียงวรรณยุกต์ได้ตรงกันทั้งหมู่ ต่างกันแต่พยัญชนะต้นของพยางค์ เท่านั้น   เช่น
   ข่า    ฉ่า    ส่า     ข้า    ฉ้า    ส้า
              ต่อไปนี้จะผันอักษรสูง  
   อักษรสูงคำเป็น
              พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา    เช่น    ขา  ผง   เขย   สาว
              ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงเอก เช่น  ข่า  ผ่ง  เข่ย  ส่าว
              ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงโท เช่น ข้า ผ้ง   เข้ย   ส้าว
      อักษรสูงคำตาย
       พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น สะ ผลิ  ฝาก ขูด
       ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงโท แต่คำที่ผันได้ไม่มีที่ใช้หรือไม่มีความหมายจึงมิได้แสดงไว

อักษรคู่ อักษรเดี่ยว
       อักษรต่ำ 24 ตัว ยังแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ  
1. อักษรคู่
      คือ อักษรต่ำที่มีอักษรสูงเป็นคู่ มี 14 ตัวได้แก่ ค ค(ค.คน) ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ จับคู่กับ อักษรสูง 7 คู่    ได้แก่ ค ค(ค.คน) ฆ คู่กับ ข ข (ข ขวด ส่วนหัวมีหยัก)      
           ช ฌ                 คู่กับ       
                               คู่กับ       ศ ษ ส      
           ฑ ฒ ท ธ         คู่กับ      ฐ ถ    
           พ ภ                 คู่กับ          
                                คู่กับ              
                                คู่กับ        
         อักษรคู่เหล่านี้ เมื่อนำอักษรสูงที่เป็นคู่มาผันร่วมกันระหว่างคู่ของตน จะได้เสียง
วรรณยุกต์ครบ ทั้ง 5 เสียง
ตัวอย่างเช่น
                สามัญ       เอก       โท       ตรี       จัตวา
                  คา         ข่า       ค่า      ค้า         ขา
                                         ข้า
                 ชา          ฉ่า       ช่า       ช้า         ฉา
                                         ฉ้า
2. อักษรเดี่ยว
      คือ พยัญชนะที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่ มี 10 ตัว ได้แก่ ง ญ  ณ  น  ม  ย  ร  ล  ว  ฬ
หากต้องการจะผัน ให้ครบทั้ง 5 เสียง ต้องใช้ ห   นำ
       ตัวอย่าง เช่น
              สามัญ       เอก        โท        ตรี        จัตวา
                งอ         หง่อ      ง่อ        ง้อ          หงอ
                                     หง้อ
                มอ        หม่อ      ม่อ       ม้อ          หมอ
                                     หม้อ
     ข้อสังเกต อักษรเดี่ยวทั้ง 10 ตัวนี้ ถ้าเขียนตามอักษรกลางหรืออักษรสูง และประสมสระเดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของอักษรเดี่ยว  จะตามเสียงวรรณยุกต์อักษรกลาง   หรือ อักษรสูงที่มาข้างหน้า ไม่ว่าจะ เป็น พยางค์เดียว หรือสองพยางค์ เช่น คำ  หรู อยู่  เฉลา ปลัด สนาม

ข้อสังเกตเพิ่มเติม
    1. อักษรนำ อักษรตาม
           หมายถึงพยัญชนะสองตัวเรียงกัน  ประสมด้วยสระเดียวกัน  ตัวแรกเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลางจะบังคับให้พยางค์หลัง ซึ่งมีพยัญชนะต้นของพยางค์เป็นอักษรเดี่ยว มีเสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะตัวแรก ตัวอย่างเช่น
ขยาย   ขย  เป็นอักษรนำ  อักษรตามอักษรตัวแรก  (อักษรสูง) นำอักษรตัวหลังย (อักษรเดี่ยว)  ย จึงต้อง ออกเสียงวรรณยุกต์ตามอักษรตัวแรก คือ   คำเช่นนี้ เรา
ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกเป็นอะ กึ่งมาตรา ขาย  มีเสียง ว รรณยุกต์จัตวา  ในคำ ขยาย  
จึงต้องอ่านพยัญชนะหลัง   เป็น เสียงจัตวา
(อ่านว่า ขะ-หยาย)  
          
ตลิ่ง   ตล เป็นอักษรนำ อักษรตาม อักษรตัวแรก ต (อักษรกลาง) นำอักษร
ตัวหลัง ล (อักษรเดี่ยว) เราอ่าน พยัญชนะตัวแรกเป็น อะกึ่งมาตรา พยางค์หลัง ออกเสียงเป็นเสียงเอก ตามเสียงอักษรกลาง ต ถ้าประสมกับ สระอิ มีวรรณยุกต์เอก อ่านว่า    ติ่ง  เพราะฉะนั้นพยางค์หลัง  จึง อ่านว่า
หลิ่ง   มีคำมากกว่าสองพยางค์ เช่น  อุปราช  ศักราช  อุปโลกน์ ซึ่งอักษรกลาง  เป็น ตัวสะกดของพยางค์หน้า บังคับเสียงวรรณยุกค์ของ
พยางค์หลัง   ให้เป็นไป ตามเสียงอักษรกลาง จึงอ่านออกเสียง พยางค์หลังเป็นเสียงเอก
อักษรนำ อักษรตาม 
          มีอีกประเภทหนึ่ง คือ   ห นำ อักษรเดี่ยวทุกตัว  และไม่ออกเสียง ห    ตัวอย่าง เช่น
เหงา หงอย หญ้า หนา หมู หมุน หยัก ไหล แหล่ง หว่าง ฯ.ล.ฯ

2. อักษรควบ
 หมายถึงพยัญชนะสองตัวเรียงกันออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวนั้นในการผัน  
ก็เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ดังที่กล่าวมาแล้วด้วยเช่นกัน
       อักษรควบมี 2 ประเภทคือ อักษรควบแท้และอักษรควบไม่แท้

  1. อักษรควบแท้ คือพยัญชนะ2ตัว ที่มีตัว ร ล วประสมอยู่ด้วย ประสมด้วยสระเดียวกันอ่านออกเสียง พร้อมกันทั้ง 2 ตัว เช่น กลาง ครัว กวาง
  2. อักษรควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะที่มีตัวร ควบอยู่ด้วยแต่ไม่ออกเสียงตัว ร
หรือมิฉะนั้นก็ออกเสียงเป็น เสียงอื่นไป
 
       ตัวอย่างอักษรควบไม่แท้ที่ออกเสียงแต่พยัญชนะตัวแรก เช่น  
              จริง ไซร้   สร้าง   ศรี  เศรษฐี
       ตัวอย่างอักษรควบไม่แท้ ทร ออกเสียงเป็น ซ   
             ไทร  ทราย   อินทรีย์   ทรัพย์   มัทรี ฯ
       ตัวอย่างการผันอักษรควบไม่แท้
             สามัญ          เอก          โท          ตรี          จัตวา
              จริง           จริ่ง         จริ้ง         จริ๊ง          จริ๋ง
               -             สร่าง        สร้าง       -           สราง
              ไซร             -           ไซร่        ไซร้           -

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 272665เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ขอบคุณครับ คุณ ลี ที่แวะมาเยี่ยม
  • แต่งภาพได้เยี่ยมเลย
  • อยากฝึกทำจังเลย  (อธิบายหน่อย สิ)

ขอบคุณ คุณท.ณเมืองกาฬ มากครับที่ทำเวปนี้ขึ้นมา

ปัจจุบันการเรียนของนักเรียนต้องยืมหนังสือเรียน แต่บางโรงเรียนมีหนังสือไม่ครบตามจำนวนนักเรียน ทำให้นักเรียนเรียนยากกว่าสมัยก่อน พ่อแม่จำเป็นต้องหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาให้ลูกอ่าน

แต่ลองมองอีกมุม พ่อแม่ที่ไม่สามารถหาความรู้จากเน็ตหรือจากสถานที่อื่นๆ นักเรียนคนนั้นจะทำอย่างไรกับการเรียนสมัยใหม่ บ้านนอกจริงๆไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ หรือจะใช้ของโรงเรียนต้องเข้าคิว เพราะคอมพิวเตอร์มีจำกัด...นี่คือปัญหาของนักเรียนสัญชาติไทย ที่เรียนในเมืองไทย

  • ขอบคุณครับคุณเด้ง
  • ทีแวะมาเยียมมาทักทาย

หยิบกระดาษขึ้นมาเขียน 1-10 ห้ามแอบดูเฉลยนะ ห้ามโกงเดขาด!!!!!!!!!! 1.คุณมีผมสีเข็มหรือสีอ่อน 2.ถ้าเกิดมีเดทคุณจะเลือกไป กินข้าว2ต่อ2 หรือไปปาร์ตี้ 3.สีโปรดของคุณคือสีอะไรระหว่าง สี ชมพู เหลือง ฟ้าอ่อน หรือสีเขียวน้ำทะเล 4.กิจกรรมที่คุณโปรกปรานที่สุดระหว่าง โต้คลื่น,เสก็ดหรือ สกี 5.ถ้าจะเลือกท่าเรือระหว่าง เรือรบเก่า อู่แปชิฟิก หรืออูวิคตอเรีย ชีเค็ท คุณจะเลือกอันไหน 6.รัฐที่คุณชอบที่สุดระหว่าง รัฐแคลิเฟร์อเนีย ฟอริดา หรือ โอไฮโอ 7.ฤดูร้อนคุณจะไปทะเลหรือที่เย็นกว่านี้ 8.เกิดเดือนอะไร 9.คุณจะนั้งอืดอยู่บ้านหรือไปเที่ยวกับเพื่อน 10.ชื่อคนที่เป็นเพศตรงข้ามกับคุณ -=====อฐิษาน======- *เริ่มเลย* ********** ******** ******* ****** ***** **** *** ** * **หยุด** *คำตอบ* 1.สีเข็ม-เซ็กชี่~สีอ่อน-น่ารัก 2.กินข้าว 2ต่อ2-โรแมนติก ~ ปาร์ตี้-ขี้เล่น 3.ชมพู-น่ารัก ~ เหลือง-เสียงดัง ~ ฟ้าอ่อน-ใจเย็น ~สีเขียวนำทำเล-แข็งแกร่ง 4.โต้คลื่น-ว่องไวคล่องแคล่ว ~เสก็ด-เด็ดเดี่ยว ~ สกี-กล้าหาญ 5.เรือรบเก่า-น่ากลัว ~ อู่แปชิฟิก-สนุกสนาน ~อูวิคตอเรีย ชีเค็ท-เซ็กชี่ 6. แคลิเฟร์อเนีย-คุณชอบอยู่กับคนมากๆ ~ฟลอริดา -ปาร์ตี้ในความร้อน ~โอไฮโอ-เงียบเย็น 7.ทะเล-ผิวสีแทน ชอบพระอาทิตย์ ~ เย็นกว่านี้-ผิวสีขาวและหัวโบราณ 8.มกราคม-โด่งดัง ~กุภาพันธ์-น่ารัก ~มีนายน-เสียงดัง ~เมษายน -ขี้เล่น ~พฤษพาคม- ใจเย็นมาก ~มิถุนายน-อาร์มดี ~กรกฏาคม-เรียบง่าย ~สิงหาคม -สนุกสนาน ~กันยายน- เงียบ ~ตุลาคม-กล้าแสดงออก~ พฤษจิกายน-ชอบยุ่งเรื่องคนอื่น(ทั้งดีและไม่ดี) ~ธันวาคม- อบอุ่น 9.อืดอยู่กับบ้าน-น่าเบื่อ ~ ไปเที่ยวกับเพื่อนๆ-บ้า บอๆ 10. คนนั้นจะตกหลุมรักคุณ!!!!!!!!!! ถ้าคุณโพสกระทู้นี้ไปเว็บอื่น 0 เวป คำอฐิษานคุณจะไม่เป็นจริง 1-5 เวป คำอฐิฐานคุณจะเป็นจริงใน 6 เดือน 6-10 คำอฐิฐานคุณจะเป็นจริงภายใย2อาทิตย์ 11ขึ้นไป คำอฐิฐานคุณจะเป็นจริงเร็วมากๆๆๆๆๆๆ

  • ขอบคุณครับคุณไม่แสดงตน
  • มีแวะมาเยี่ยม มาทักทาย
  • พร้อมนำสิ่งดีๆมาฝาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท