ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

การใช้ไม้ม้วน


หลักภาษาไทย

  ประวัติ

ไม้ม้วนมีปรากฏในภาษาเขียนของไทย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง ของพ่อขุนรามคำแหง ในคำว่า ใคร ใคร่ ใด ใส ใหญ่ ใน ให้ ใช้ ใต้ ใศ่ ใว้ เป็นต้น เสียงสระของไม้ม้วนในภาษาไทยปัจจุบันส่วนใหญ่ออกเสียงเหมือนไม้มลาย (ไ) แต่ในสมัยโบราณเสียงสระสองเสียงนี้แตกต่างกัน ยังมีร่องรอยให้เห็นในภาษาไทยถิ่นและในภาษาไทกลุ่มต่าง ๆ นอกประเทศไทย นอกจากภาษาไทยสยามแล้วยังมีภาษาไทกลุ่มอื่นเช่น ภาษาลาว และ ภาษาไทใหญ่ ที่ปรากฏสระนี้ในภาษาเขียน

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีตำราเรียนระบุการใช้ไม้ม้วน ในคำศัพท์จำนวน 20 คำ โดยมีคำกลอนแต่งไว้ในหนังสือจินดามณีดังนี้

 

ใฝ่ใจแลให้ทาน

ทังนอกในแลใหม่ใส

ใครใคร่แลยองใย

อันใดใช้แลใหลหลง

ใส่กลสใพ้ใบ้

ทังใต้เหนือแลใหญ่ยง

ใกล้ใบแลใช้จง

ญี่สิบม้วนคือวาจา

 

ส่วนในหนังสือหนังสือประถมมาลา แต่งโดยพระเทพโมลี (ผึ้ง) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ให้หลักการใช้ไม้ม้วน โดยที่สองบทท้ายเป็นคำกลอนจากตำราจินดามณีนั่นเอง ดังนี้

 

หนึ่งไซร้หมู่ไม้ม้วน

ปราชญ์ประมวลแต่บูราณ

จักลอกจำลองสาร

ตามอาจารย์บังคับไข

ใฝ่ใจให้ทานนี้

นอกในมีแลใหม่ใส

ใครใคร่แลยองใย

อันใดใช้อย่าใหลหลง

ใส่กลสะใภ้ใบ้

ทั้งต่ำใต้และใหญ่ยง

ใกล้ใบแลใช่จง

ใช้ให้คงคำบังคับ

 

หลังจากนั้น ยังมีบทกลอน (กาพย์ยานี) ที่สอนการใช้ไม้ม้วน ที่รู้จักกันดีจนปัจจุบัน ดังนี้

 

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่

ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ

ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ

มิหลงใหลใครขอดู

จักใคร่ลงเรือใบ

ดูน้ำใสและปลาปู

สิ่งใดอยู่ในตู้

มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง

บ้าใบ้ถือใยบัว

หูตามัวมาใกล้เคียง

เล่าท่องอย่าละเลี่ยง

ยี่สิบม้วนจำจงดี

 

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสยามนั้นการใช้ไม้ม้วนจำกัดอยู่ที่คำศัพท์ 20 คำ มาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นอย่างน้อย และคำศัพท์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น จะใช้ไม้มลายทั้งสิ้น (เว้นแต่ลูกคำที่แตกจากแม่คำ ซึ่งใช้ไม้ม้วนอยู่แล้ว) แม้คำศัพท์เฉพาะ ที่เป็นชื่อต่างๆ ก็ไม่นิยมที่จะใช้ไม้ม้วนนอกเหนือจาก 20 คำดังกล่าว

 

 คำที่ใช้ไม้ม้วน

  • ใกล้

  • ใคร

  • ใคร่

  • ใจ

  • ใช่

  • ใช้

  • ใด

  • ใต้ (นิยมออกเสียงเป็น ต้าย)

  • ใน

  • ใบ

  • ใบ้

  • ใฝ่

  • สะใภ้

  • ใย (ยองใย, ใยบัว)

  • ใส

  • ใส่

  • ให้

  • ใหญ่

  • ใหม่

  • ใหล (หลงใหล, หลับใหล)

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 272658เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณครับ คุณลี
  • ที่หาภาพรูปแมว เก้าชีวิต  มาฝาก
  • ตรงใจเป๊ะเลย  ผมคนชอบแมวนะ (คน)
  • อย่าลืมบอกวิธีทำหน่อยนะ  (ขอบคุณล่วงหน้า)

มีปัญหาในการใช้ภาษาไทยคะ การฟัง และการอ่าน คำยากหรือคำที่มักใช้สับสน

ช่วยหน่อยนะคะ (ขอบคุณหลาย ๆ คะ)

  • คุณนักเรียน ฝึกอ่านฝึกเขียนมากๆนะครับ
  • แล้วปัญหาจะค่อยหมดไปเอง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท