การเสวนา suicide ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่งหากแต่คือเรื่องของเราทุกคน (๑)


วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ คณะทำงานขับเคลื่อนเรื่องซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย มิติพัฒนาการทำงานโดยนำแนวทางรูปแบบการจัดการความรู้เข้ามาต่อยอดและขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนางานให้สู่ความเข้มแข็งของเครือข่ายและเกิดพลังในการทำงาน

เวทีเสวนา... "suicide ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นเรื่องของคนทุกคนในสังคม"

ผู้เข้าร่วมเสวนา ที่เชิญมานั้น

  • พระพิทยา ทินนาโถ จากวัดป่าหนองไคร้
  • นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • นพ.อดิเกียรติ เอี่ยมวรนิรันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยโสธร
  • นพ.เจษฎา เถาวห์หอม จิตแพทย์โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • นางประชุมสุข  โครตพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารเหตุการณ์ภาวะวิกฤติ
  • พ.ต.อ.ไพรัช ชาญศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารเหตุการณ์ภาวะวิกฤติ

ดำเนินรายการโดย Dr.Ka-Poom (นิภาพร  ลครวงศ์)

ผู้เข้าร่วมฟังการเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วยคณะกรรมการทำงานในเครือข่ายการทำงานด้านการป้องกันภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และผู้ที่สนใจจำนวน 60 คน

เป้าหมายของการจัดเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อนำองค์ความรู้ แนวความคิด และมุมมองที่ได้จากผู้เข้าร่วมเสวนาที่มีต่อเรื่องการฆ่าตัวตาย เพื่อนำไปสู่ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อยของคณะทำงาน

รูปแบบการเสวนานี้นำไปสู่การสกัดความรู้ที่เป็น tacit knowledge ของผู้เข้าร่วมเสวนา

พระอาจารย์ต้อ หรือพระพิทยา ได้พูดถึงเรื่องความตาย ในมิติทางพุทธศาสนา ท่านบอกว่า "ในจำนวนสรรพสัตว์ต่างๆ ที่เกิดมามีมนุษย์นี่แหละที่ฆ่าตัวตาย ส่วนสัตว์ประเภทอื่นนั้นไม่เคยได้ยินว่ามีการฆ่าตัวตาย" ความหมายของการตาย คือ การละทิ้งซึ่งขันธ์ห้า อันประกอบด้วยรูปและนาม ที่ประกอบด้วยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ การตายเพียงแค่การดับขันธ์นี้เท่านั้น ส่วนความหมายของการตายทางพุทธศาสนา คือ การตายจากกิเลสทั้งสิ้นทั้งปวง

ท่านนายแพทย์ สสจ.นพ.สุรพล ลอยหา ได้พูดถึงทัศนะของการทำงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ว่าเวลาที่พูดถึงจิตเวชนั้นมักจะให้รู้สึกเครียด จิตเวชน่าจะเปลี่ยนชื่อเช่น แผนกใจสบาย แล้วท่านพูดถึงตั้งแต่ย้ายมาที่จังหวัดยโสธรเมื่อสามปีก่อน แล้วท่านก็ประกาศนโยบายในเรื่องห้ามตาย หรือห้ามไม่มีการฆ่าตัวตายเกิดขึ้น ท่านได้ใช้ในเรื่องฐานข้อมูล และความเข้มแข็งของเครือข่ายมาเป็นฐานในการทำงาน ทำให้ทราบว่าจำนวนคนในชุมชนที่ฆ่าตัวตายนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นสะท้อนให้เห็นว่าคนในชุมชนมีปัญหาความทุกข์ทางด้านจิตใจจำนวนมาก

คำถามที่ปรากฏขึ้นในความคิดของท่าน "ทำไมที่นี่ถึงมีการฆ่าตัวตายเยอะ"

จากนั้นท่านก็ให้นโยบายการทำงานแก่คนทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านบอกว่าคนทำงานนั้นมีทฤษฎีเยอะแต่ขาดการเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติ และการทำงานด้านนี้ผู้ใหญ่ต้องพูดบ่อยๆ  และสนับสนุนให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง

 

 มีต่อ...

หมายเลขบันทึก: 272473เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจค่ะ

พี่สนใจกระบวนการทางจิตเวชเมื่อมีคนไข้ Suicide เข้ามานอนโรงพยาบาลค่ะช่วยเล่าด้วยนะคะ

ยินดีค่ะพี่ nui

ขอบคุณค่ะ :)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท