กศน.ลำปาง นำโดยท่านผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำปาง ผอ.คเชนทร์ มะโนใจ และกลุ่มงานพัฒนาวิชาการ ได้เชิญศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ 13 อำเภอในจังหวัดลำปางนำเสนอการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานตาม Road Map กศน. ในพื้นที่ตำบลนำร่อง ณ อุทยานแจ้ซ้อนจังหวัดลำปาง ผู้เข้าประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ 13 อำเภอ ข้าราชการ และครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน และศูนย์การเรียนชุมชน อำเภอละ 4 คน ดิฉัน ครูรสาพร หม้อศรีใจ ครูเกวลิน อุตมะ และครูมงคล พรมตวา เป็นตัวแทนของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา ไปเข้าร่วมเสนอผลการดำเนินงานครั้งนี้ เอกสารที่เราได้เตรียมไปในการนำเสนอผลงานครั้งนี้มีหลายอย่างด้วยกันทั้งในส่วนของการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลนำร่องและการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ได้แก่
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้สิ่งที่เป็นความภาคภูมิในของกศน. เกาะคาที่การดำเนินงานแตกต่างกศน.อื่น ๆ ได้แก่
จากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคาจึงได้รับการคัดเลือกจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำปาง
สำหรับรับการตรวจการนำยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต พ.ศ 2549-2551 ในพื้นที่ตำบลนำร่องของจังหวัด
ซึ่งสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนมาตรวจติดตามการดำเนินงานในวันที่
1พฤษคาคม 2549
สิ่งที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจะนำการปรับปรุงในการดำเนินงานได้แก่
1.
การจัดทำทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น ในตำบลนำร่อง
2.
การจัดทำแฟ้มสะสมงานรายบุคคล
3. จัดทำคลังหลักสูตร
4.
การจัดตลาดนัดความรู้ประจำเดือนในพื้นที่ตำบลนำร่อง
5.
ขยายกลุ่มเป้าหมายในหมู่บ้านอื่น ๆ
ในพื้นที่ตำบลนำร่องโดยการจัดเวทีประชาคม เจาะลึกกลุ่มอาชีพต่าง
ๆ
ณราวัลย์
7 พฤษภาคม 2549
การยกระดับความรู้ให้แก่ประชาชนไทยโดยเฉลี่ย 9.5 ปี ภายในปี2551 นั้นงานการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเป็นเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้การจัดการศึกษาควรสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกโรงเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนต้องการเรียนในลักษณะใดที่เรียกว่าสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน จากการทำงานโดยใช้Roadmap กศน.และได้ศึกษาความต้องการของชาวบ้านโดยการศึกษาชุมชนทำให้ทราบว่าประชาชนที่อยู่ในวัยแรงงาน ไม่ต้องการที่จะเรียนกศน.สายสามัญ แต่ต้องการเรียนรู้ในการพัฒนาอาชีพของตนเอง ดร.ณราวัลย์ ผอ.ศบอ.เกาะคา ได้จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบบูณรณาการหน่วยการเรียน โดยการสะสมหน่วยกิต ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองต้องการแล้ว และยังได้วุฒิการศึกษาเพิ่มซึ่งเป็นสิ่งที่ได้เพิ่มเติมจากการได้พัฒนาอาชีพของตนเองนับว่าเป็นวิธีการเรียนในรูปแบบนี้เป็นวิธีที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง
การจัดการความรู้แบบบูรณาการ เพื่อยกระดับการศึกษาให้แก่ประชาชนวันแรงงานนั้น ครูได้ใช้ยุทธศาสตร์และวิธีการหลากหลายรูปแบบ ในการสำรวจข้อมูลตำบลนำร่อง คือตำบลใหม่พัฒนา ให้มีการจัดทำแฟ้มรายบุคคล จัดทำหน่วยการเรียนสะสมของกลุ่มต่างๆ จัดส่งเสริมอาชีพให้แก่กลุ่มลำไย ส้ม ปลากระชัง สวนพริก สวนผัก เพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน 15-59 ปี และครูตัวแทนกลุ่ม ได้จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการในชุมชน มอบใบประกาศเมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้
อยากทราบรายละเอียดครับ..