K II
มังกรนิทรา- คนเก่งฟ้าประทาน

วิวัฒนาการของระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์


วิวัฒนาการของระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์

 วิวัฒนาการของระบาดวิทยา ทางสัตวแพทย์

 

ความสัมพันธ์  ระหว่างคนและสัตว์ มีมาตั้งแต่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์  แต่จุดเริ่มต้นของวิชาการสัตวแพทย์ อาจนับว่าเพิ่งเริ่มต้น อย่างเป็นทางการ เมื่อมีการก่อตั้งโรงเรียนสัตวแพทย์ แห่งแรกของโลกที่เมือง Lyons  ประเทศฝรั่งเศส ในช่วง พ.ศ.2305   ในระยะแรกวิชาการสัตวแพทย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การควบคุมโรค Rinderpest ในปศุสัตว์  และการระกษาโรคในม้าซึ่งเป็นสัตว์พาหะที่สำคัญ ทั้งทางสังคมและทหาร ต่อมาเมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน เช่น สุนัขและแมว เพิ่มความสำคัยขึ้น วิชากการสัตวแพทย์ จึงถูกพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการดูแลสุขภาพสัตว์เป็นรายตัว ซึ่งครอบคลุม การป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรค วิวัฒนาการของวิชาสัตวแพทย์ อาจแบ่งได้ 4 ยุค

 

ยุคที่ 1  เริ่มเมื่อประมาณ ปี พ.ศ 2450

                หน่วยงานของรัฐ เริ่มดำเนินการกำจัดโรคติดต่อในสัตว์ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากทางเศรษฐกิจและสามารถติดต่อมาสู่คน ได้แก่ โรค วัณโรค โรคแท้งติดต่อ  ตลอดจนโรคติดต่อในสัตว์ ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย โรค Rinderpest และ โรค trypanosomiasis/surra  เป้นต้น การควบคุมโรคเหล่านี้มีเป้าหมายหลักเพื่อลดความสูญเสียปสุสัตว์ ซึ่งนำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหารในประชากรมนาย์  มาตรการควบคุมโรคต่างๆ จึงเน้นการควบคุมโรคตามขอบเขตทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก เมื่อพื้นที่ใดปลอดจากการเกิดโรคก็จะอนุญาตให้เฉพาะสัตว์ที่ปลอดโรคผ่านเข้าไปได้  การมีความสามารถในการวินิจฉัยโรคอย่างน่าเชื่อถือ และทุนทรัพย์เป็นปัจจัยสำคัยสำหรับความสำเร็จ ของมาตรการควบคุมดรค

 

ยุคที่ 2 เริ่มต้นเมื่อประมาณ พ.ศ .2490

เมื่อปศุสัตว์ที่ผลิต เนื้อ นม และขนสัตว์ กลายเป็น  สินทรัพย์ที่มีค่า  ก่อนหน้านี้สัตวแพทย์ส่วนใหญ่ให้บริการเกี่ยวกับม้าซึ่งเป้นงานตามฤดูกาลเป็นหลัก แต่เมื่อเครื่องจักกลต่างๆ มาแทนที่ม้า สัตวแพทย์จึงหันมาปฏิบัติงานปศุสัตว์มากขึ้น  ในช่วงปี พ.ศ.2488-2508 เป็นช่วงที่มีการขยายตัวของปสุสัตว์อย่างมาก เนื่องจากมีการพัมนามาตรฐานความเป็นอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้มีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์และน้ำนมมากขึ้น เมื่อราคาของผลผลิตสูงขึ้น เกษตรกรจึงใช้บริการจากสัตวแพทยืมากขึ้นตามไปด้วย  การปฏิบัติงานทางคลินิกของโรงเรียนสัตวแพทยืจึงถูกพัฒนาขึ้นในยุคนี้เช่นกัน  สัตวแพทยืปริญญาจึงมีความรู้ ความสามารถในการรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างน่าทึ่ง มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างได้ผลดี สามารถทำการผ่าตัดด้วยกรรมวิธีปลอดเชื้อ  เมื่อความต้องการใช้บริการสัตวแพทยืเพิ่มมากขึ้น  สัตวแพทย์ส่วนใหญ่จึงปฏิบัติงานรักษาสัตว์ป่วยเป็นรายตัว เท่านั้น โดยไม่มีการวางแผนป้องกันควบคุมโรค ตลอดจนการจัดการสุขภาพในระดับฝูง การควบคุมโรคส่วนใหญ่จึงมีเพียงการตรวจคัดกรองและการทำวัคซีนในระดับประเทศเท่านั้น

 

ยุคที่ 3 เริ่มต้นเมื่อประมาณ พ.ศ .2508

                เมื่อทั้งเกษตรกร ผู้ผลิตและสัตวแพทย์ เริ่มเล็งเห็นความสำคัยของการจัดการ สุขภาพและผลผลิตในระดับฝูง  เกษตรกรผู้ผลิตเริ่มเรียนรู้การรักษาโรคทั่วๆไป ในฟาร์ม ในระยะแรกนี้การควบคุมโรคจึงเน้นที่การควบคุมเฉพาะโรคทีละโรค ต่อมาจึงพัฒนา เป็นการควบคุมกลุ่มโรค เมื่อสัตวแพทย์มีบทบาทในการจัดการฝูงสัตว์มากขึ้น  จึงสามารถตรวจพบโรคที่ยังไม่แสดงอาการ ตลอดจนการจัดการที่ทำให้สัตว์มีประสิทิภาพการผลิตต่ำ  ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการสูยเสียทางเศรษฐกิจในฟาร์มปศุสัตว์  ในยุคนี้ คำว่า "โรค"  ถูกขยายความให้ครอบคลุมทั้งโรคที่แสดงโรคที่ไม่แสดงอาการเชิงรุก  สามารถเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ได้นำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมการจัดการฝูงสัตว์  ในยุคนี้เกษตรกรและสัตวแพทย์เริ่มตระหนักถึงคุณค่าของการบันทึกเหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและผลผลิตต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการจัดการสุขภาพ ผลผลิต และต้นทุนการผลิต

 

ยุคที่ 4  เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ .2533

                ในยุคนี้สัตวแพทย์จะเข้าเยี่ยมฟาร์มเป็นประจำตามที่กำหนดในโปรแกรมการจัดการสุขภาพ เพื่อตรวจหาโรคที่ไม่แสดงอาการ และความบกพร่องของประสิทธิภาพการผลิต  การให้บริการสัตวแพทย์ในฟาร์มปศุสัตว์จะเป็นงานที่ต้องใช้บุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับสัตว์แต่ละชนิด ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยจัดการผลิตและดูแลสุขภาพสัตว์อย่างครบวงจร ซึ่งครอบคลุมการให้คำปรึกษาด้านการรักษา การควบคุมโรค และการบันทึกต่างๆ  เป้าหมาสำคัญของการบริการสัตวแพทย์ คือ การจัดการสุขภาพและการผลิตของสัตว์ที่มีสุขภาพดี และได้รับผลตอบแทนจากการที่สัตว์สุขภาพดีมากกว่าการรักษาสัตว์ป่วย

                ในปี 2525 มีผู้ทำนายว่า การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา จะเป็นกิจกรรมหลักของงานอายุรศาสตร์ป้องกัน วิชาระบาดวิทยาจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัยของการจัดการสุขภาพและผลผลิต หลักการและทักษะทางระบาดวิทยาสามารถ ช่วยตอบคำถามสำคัญ ในการเฝ้าระวังโรคและผลผลิต คือ จะเฝ้าระวังโรคอะไร จะเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร และจะใช้ข้อมูลเหล่านั้นอย่างไร

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 271244เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท