วิวัฒนาการการบริหารทรัพยากรมนุษย์


HRD กับการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ขององค์การ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  HRD (  Human  Resource  Development )

เป็นหน่วยงานที่แยกมาจาก  HRM ( Human Resource Management ) มีหน้าที่ในการพัฒนาบุคคล ซึ่งเดิมนิยมเรียกว่า หน่วยฝึกอบรม หรือ  Training โดยมีขอบข่ายหน้าที่รับผิดชอบ  ดังนี้

 

1.      ประสานงานฝึกอบรมโดยวิทยากรทั้งจากภายใน  หรือจ้าง หรือเชิญมาจากหน่วยงานฝึกอบรมภายนอก

2.      จัดการอบรมให้เป็นไปตามนโยบายของผู้บริหารหรือข้อบังคับตามกฎหมาย

3.      ประเมินผลการฝึกอบรม

 

ผลจากขอบข่ายของหน้าทีรับผิดชอบในลักษณะนี้ หน่วยงานฝึกอบรมจึงไม่ค่อยได้รับความสำคัญมากนักในสายตาของผู้บริหาร  เนื่องจากการฝึกอบรมแบบเก่า   ไม่ได้ตอบคำถามว่า  จัดอบรมแล้วจะมีหลักประกันอะไร

ที่จะทำให้ผลประกอบการมีการเปลี่ยนแปลหรือทำให้บุคลากรในองค์การทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม  จึงทำให้มี ผลตามมากล่าวคือ  เมื่อมีการปรับลดค่าใช้จ่ายขององค์การเมื่อไร  ค่าใช้จ่ายในการอบรมมักจะเป็นหมวดต้น ๆ ที่ถูกปรับลดกันไปก่อน  ทั้งที่ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไม่ควรถูกปรับลดเลย  อย่างไรก็ตาม การฝึกอบรม ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นต่อไป เนื่องจาก

 

1.      เป็นข้อบังคับทางกฎหมาย

2.      เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์การ  ในสายตาของพนักงานและบุคคลภายนอก

3.      เพื่อเป็นการโฆษณาว่าองค์การยังคงให้ความสำคัญ ในการพัฒนาบุคลากร

4.      เพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานในเชิงการสร้างความก้าวหน้าเชิงวิชาชีพให้แก่บุคลากร

5.      เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบมาตรฐานของคุณภาพเป็นประการสำคัญ

 

จากแนวทางดังกล่าวข้างต้นแบบนี้เอง ที่ค่าของคนที่ทำงานประสานการจัดฝึกอบรมให้คนอื่น จึงมีไม่มากนัก 

 

ด้วยประเด็นการฝึกอบรม  ที่ยังถูกจัดว่าเป็นงานหลัก และเป็นสายงานหนึ่งที่แยกเฉพาะออกมาจากสายงาน HRM  ในปัจจุบันจึงเกิดการพัฒนา ของ HRD ที่มีบทบาทเปลี่ยนแปลงไปจาก การเป็นผู้จัดฝึกอบรมตามแผนเดิม   ไปสู่บทบาท ในการกำหนดกลยุทธการพัฒนา และฝึกอบรมบุคลากร เพื่อให้สอดรับกับกลยุทธ์ขององค์การ

 

ปัจจุบันงานที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมของหลายองค์การได้รับการขานชื่อใหม่เป็น งานพัฒนาบุคลากร ซึ่งมีหน้าที่และบทบาทหลัก  ดังนี้

1.      จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะในการทำงาน

2.      ปรับทัศนคติและพฤติกรรมของการทำงาน

3.      ใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การ

 

จึงเห็นได้ว่า  ขอบข่ายงานพัฒนาบุคลากร ได้ขยายมาเป็น การพัฒนาบุคลากรมากกว่าการฝึกอบรมแบบเดิม ผู้บริหารองค์การที่ตัดสินใจให้เงินจำนวนมหาศาลที่ใช้ในกิจกรรมพัฒนาบุคลากรนี้  ก็ย่อมจะมีความหวังสูงขึ้นจากผลของการดำเนินงานของหน่วยงานนี้ด้วย  

ตารางเปรียบเทียบระหว่าง  HRD ในอดีตและปัจจุบัน

 

 

HRD แบบดั้งเดิม

 

 

HRD ในปัจจุบัน

-   จัดการฝึกอบรมเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย

-    ทำการประเมินผล เพื่อ

      *  ให้รู้ว่ามีผู้เข้าร่วมอบรมกี่คน

      *  ระยะเวลาเหมาะสมหรือไม่

      *  อาหารเป็นที่ต้องใจผู้เข้าอบรมหรือไม่

      *  วิทยากรเก่งกาจเพียงใด

      *  ควรจะให้มีการอบรมแบบนี้ต่อไปหรือไม่

-  มีกลยุทธ์ที่ตอบสนองหรือรองรับกลยุทธ์ของ

    องค์การในภาพรวม

-   สร้างผลงานให้เกิดแก่หน่วยงานและองค์การ

-   เป็นการตอบแทนโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน     

    แก่บุคลากร

-   เป็นผลประโยชน์ตอบแทน การดำเนินงานของ

     องค์การ

 

 

 

จึงมีการตั้งข้อสังเกตจากผู้รู้ว่า  การให้ผู้บริหารสาย HRM มาดูแล สายงาน HRD คงไม่ได้เพราะส่วนใหญ่แล้ว  กระบวนทัศน์และแนวความคิดพื้นฐาน  ของ 2 สายงานนี้ จะต่างกันโดยสิ้นเชิง  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สายงาน HRM จะไม่ช่วยให้เกิดการพัฒนาบุคลากร  ตรงกันข้าม สายงาน HRM มีเนื้องานที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในลักษณะที่เป็นพื้นฐานของงาน HRD  ได้อย่างอเนกอนันต์  เช่นการจัดทำโครงสร้างค่าตอบแทนแบบ Broadbanding แบบประโยชน์ที่สามารถใช้รับรอง ระบบการฝึกอบรมที่อิงสมรรถนะ (Competency Based ) ได้ เป็นต้น

                                                                                        

คำสำคัญ (Tags): #เรื่องทั่วไป
หมายเลขบันทึก: 270487เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2009 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณ มากค่ะ จะสืบค้นข้อมูล HRD และ HRMเพื่อนำเสนออีกต่อไปค่ะ ขอบคุณอีกครั้งที่อาจารย์ให้ความรู้ ที่ควบคู่กับการทำงานแบบ hi tech อย่างนี้ค่ะ

พี่เอกเก่งมากเลยครับ ผมมาอ่านแล้วได้ความรู้มากเลย ขอบคุณครับ

ชอบบทความดีมากคะ เพราะได้เห็นถึงวิวัฒนาการของ HRD จากอดีต เปรียบเทียบกับปัจจุบัน แต่ เอ.... ไม่รู้ว่าในอนาคต HRD จะยังคงเหมือนเดิมหรือไม่นะ แต่คิดว่าก็อาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในบางส่วนจริงใหมคะ? ครูนวยเองค่ะ

ขอบคุณมาก ครูวิรัช และครูนวย ที่แวะมาเยี่ยม

วันก่อนฟังอาจารย์เอกพูดอธิบายเรื่องความแตกต่างระหว่าง HRD กับ HRM ก็พอเข้าใจอยู้บ้าง วันนี้ได้มาอ่านข้อเขียนนี้แล้วเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะที่ทำให้หนูได้ขอมูลไปเสนออาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท