ครูกับภาษาที่ใช้กับนักเรียน


พวกเราบรรดานบี พวกเราถูกบัญญัติให้พูดกับมนุษยด้วยเท่าที่ปัญญาพวกเขาเข้าใจ

ครูหรือมุอัลลิมถ้าเข้าใจง่ายๆ หรือให้ความหมายง่ายๆ ครูก็คือผู้สอน แต่โดยหน้าที่หลักของครู ครูคือผู้เปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กให้เป็นไปตามที่ประสงค์ ลักษณะการทำให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครู(หรือจะเรียกชื่อเป็นอื่น)ที่ใช้มาตั้งแต่แต่โบราณคือการสอนหรือบอกกล่าวให้ผู้เรียนได้รับรู้ และเมื่อผู้เรียนรู้ผู้เรียนก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองไปตามที่ได้เรียนรู้มา

ครูนอกจากจะเป็นผู้นำสารที่พึงประสงค์ที่ครูได้รับมาหรือที่ครูมีอยู่ติดตัวมา ถ่ายทอดไปยังผู้เรียนให้รับรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเขา และความสำเร็จของครูวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน ถ้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ครูประสงค์ได้มากเท่าใด ความสำเร็จของครูก็นับว่ามากเท่านั้น จึงนับได้ว่าครูที่มีประสิทธิภาพคือครูที่มีวิธีการสอนที่รับรองได้ว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้(สุรางค์ โคว์ตระกูล:2550) หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ส่วนนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีหรือได้เร็วนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น คุณสมบัติประจำตัวของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นความถนัด(Attitud) ความสามารถในการเข้าใจในสิ่งที่ครูสอน(Ability to Understand istruction) ความพยายาม(Perseverance) และโอกาสหรือระยะเวลาในการเรียนรู้ (John Carroll : 1963) ทั้งหมดนี้จะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนไม่มากก็น้อย

การเป็นครูที่ดีนั้นไม่เพียงเฉพาะครูคนนั้นจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะสอน หรือมีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆอย่างเพียงพอที่จะถ่ายทอดแก่คนอื่นได้ ครูที่ดีนั้นยังจะต้องทุ่มเททั้งการและใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้รู้ให้ได้มากที่สุด และแบบอย่างที่ดีที่สุดของครูหรือมุอัลลิมนั้นคือท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) โดยท่านได้บอกแก่พวกเราว่า

إِنَّمَا بُعِثْتُ مُعَلِّماً

(แท้จริงฉันถูกส่งมาเพื่อเป็นครู)

และชัดเจนในฐานะมุสลิมทุกคนจะต้องดำเนินตามรอยที่นบีได้วางไว้ โดยถือท่านนบีเป็น Model ของชีวิต

لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِّمَن كَانَ يَرْجُو اللهَ وَالْيَوْمَ الْآخِرَ وَذَكَرَ اللهَ كَثِيراً

"โดยแน่นอน ในเราะซูลของอัลลอฮฺมีแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว สำหรับผู้ที่หวัง (จะพบ) อัลลอฮฺและวันปรโลกและรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมาก "[33/21]

ในการถ่ายทอดความรู้ในแก่ผู้เรียนครูจะต้องพูดคุยกับผู้เรียน และภาษาที่ครูพูดนั้นแน่นอนต้องเป็นภาษาที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจ ในเรื่องการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนนี้ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงอย่างชัดเจน ในอายัตที่ 2 สูเราะยูซุฟ ว่า

إِنَّا أَنزَلْنَاهُ قُرْآناً عَرَبِيّاً لَّعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ

 "แท้จริงพวกเราได้ให้อัลกุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับ หวังว่าพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด" [12/2]

บทอัลกุรอานบทนี้เป็นบทท่กล่าวถึงประวัติชีวิตของท่านนบีหรือศาสนฑูตท่านหนึ่งที่มีชื่อว่า ยูซุฟ มีรายงานว่า พวกมุชริกีนหรือผู้ปฏิเสธในเมืองมักกะฮฺ(เมกกะ)ในช่วงที่ท่านนบีมุฮำมัดเผยแพร่ศาสนาใหม่ๆนั้น พวกเขากล่าวว่าถ้ามุฮำมัดเป็นนบีที่แท้จริงขอให้เขาเล่าประวัติยูซุฟ ซึ่งเรื่องของยูซุฟนี้ได้ถูกกล่าวมาแล้วในคัมภีร์ศาสนาที่นับถือพระเจ้า อย่างศาสนายิวและศาสนาคริสต์ และมีเขียนขึ้นในภาษาฮิบรู (มีภาษาอาหรับบ้างเป็นบางส่วน)

อัลลอฮฺก็ได้ประทานเรื่องราวของนบียูซุฟในอัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับ กลุ่มชนที่นบีมุฮำมัดอยู่ร่วมด้วยและเชิญชวนสู่สิ่งที่ถูกต้องนั้นเป็นชนอาหรับ ชนกลุ่มนั้นจะได้เข้าใจในทันที และในอายัตนี้ที่มีความหมายว่า  "แท้จริงพวกเราได้ให้อัลกุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับ หวังว่าพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด" อัลกุรอานที่เป็นภาษาอาหรับนั้นไม่ใช่ให้อ่านเพื่อความไพเราะหรือความขลัง แต่ให้อ่านเพื่อเข้าใจ คิด และยึดถือแล้วนำไปปฎิบัติ

แน่นอนการที่คนๆหนึ่งโดยเฉพาะครูที่จะสอนใครก็ตาม ภาษาที่ครูจะใช้ต้องเป็นภาษาที่ผู้เรียนเข้าใจ นอกจากจะต้องคำถึงภาษาแล้วครูยังต้องคำนึงระดับของภาษาที่ใช้ด้วย เพราะท่านนบีที่เป็นแบบอย่างของมุอัลลิมได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า

أُمِرْنَا مَعَاشَرَ الأَنْبِيَاءِ أَنْ نُخَاطِبَ النَاسَ عَلَى قَدْرِ عُقُولِهِمْ

(พวกเราบรรดานบี พวกเราถูกบัญญัติให้พูดกับมนุษยด้วยเท่าที่ปัญญาพวกเขาเข้าใจ) (บันทึกโดย อิบนุชะรีอะฮฺ และอัฏเฏาะบะรี : 187)   

(ยังมีต่อ)

หมายเลขบันทึก: 270260เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2009 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตามมาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ...และจะมาเก็บเกี่ยวต่อครับ จะได้นำไปอธิบายเด็กต่อได้ครับ ว่าแท้ที่จริงแล้วการแบ่งระดับของภาษามันมีมานานแล้ว ขอบคุณมากครับ

ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองและตอบแทนการทำหน้าที่ในครั้งนี้ครับ

จริงๆแล้ว เรื่องนี้ได้ขีดเขียนบนกระดาษมานานแล้ว กลัวว่ากระดาษมันจะหาย วันนี้เลยขอมาแขวนไว้ตรงนี้ในรูปของบันทึกก่อน

วันนี้ได้ตรวจงานนักศึกษา นักศึกษาได้ยกหะดีษหนึ่งมาสนับสนุนเรื่องพัฒนาการของมนุษย์และการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการ

ท่านนบี(ศ็อลฯ) กล่าวว่า

حدثوا الناس بما يعرفون أتحبون أن يكذب الله ورسوله

ความว่า "พวกท่านจงพูดกับผู้คนที่พวกเขาเข้าใจ พวกท่านชอบที่จะทำให้เกิดการปฏิเสธต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์กระนั้นหรือ"

(บันทึกโดย อัลบุคอรี 127:1989)

นายเจ๊ะมูฮามะ เหมหมิง ที่ยกหะดีษนี้มาอ้างอิง

รวบรวมแหล่งข้อมูลได้อย่างน่าประทับใจมากเลยครับ

อ่านแล้ว รู้สึกดีมากคะ อาจารย์ จริงๆ ทุกคน เป็นครูนะคะ...โดยเฉพาะ ผู้ที่เป็นพ่อแม่..นั่นแหละคือครูที่สำคัญที่สุด....เหมือนอย่างอาจารย์ว่า เราต้องเป็นแบบอย่าง ถ่ายทอดไปยังผู้เรียน หรือบางครั้ง ก็อาจต้องใช้วิธีการครอบงำ ถ้าจำเป็นคะ..สำหรับลูก วัสลาม...

คุณครู รากศัพท์มาจากคุรุ คือบุคคลากรที่หนักแน่นด้วยคุณธรรมและจริยธรรมเป็นทั้งแม่แบบและแม่พิมพ์ของลูกศิษย์ บุคคลากรที่ได้ชื่อว่า เป็นทั้งผู้ส่งและผู้ให้โดยไม่หว้งผลตอบแทน ภายในใจคิดเสมอว่า ลูกศิษย์ที่ตัวเองสอน!!!!!!!!! คงเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญที่สุดของสังคม และยังคิดไปไกลถึงลูก หลานของลูกศิษย์ว่าคงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

กระผมขอกราบแทบเท้าพระคุณที่สามและขออารธนาคุณพระรัตนตรัยและสี่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงปกษ์ปักรักษาคุ้มครองคุณครู-อาจารย์ให้มีสุขภาพแข็งแรง เป็นร่มโพธิ์ของลูกศิษย์ตลอดไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท