เขียน "การจัดการความรู้" ได้อย่างสับสน


มองภาพ KM ในมุมมองที่สงสัย และ งง ๆ ๆ ๆ

     ความตกผลึกของการใช้เครื่องมือ KM เป็นเรื่องยากที่จะถ่ายทอดหรือสื่อสารให้เข้าใจได้ ก็เลยนึกถึงภูเขานำแข็งที่เป็นส่วนของความรู้ฝังลึกที่อยู่ใต้น้ำต้องรอให้น้ำแข็งละลายจึงจะเริ่มเข้าใจ  เสมือนกับการเขียนบันทึกสรุปประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติที่ได้ลงมือกระทำจริงด้วยตนเองไม่ว่าจะพูดจะสนทนาก็จะเป็นเรื่องง่าย มองเห็นอะไรก็จะเป็นภาพถ่ายภาพเดียวกันได้ค่อนข้างชัดเจน

     ดังนั้น ความสับสนของ KM จึงอยู่ที่ไม่ได้ปฏิบัติหรือลงมือทำกันจริง ๆ จัง ๆ หรือกระทำกันเพียงผิวเผินแต่สามารถถ่ายทอดหรือเล่ากันได้อย่างจริง ๆ จัง ๆ แต่พอก้าวสู่ความเป็นจริงจริงปรากฎผลว่า "ไม่เคยใช้ KM ปฏิบัติ" เป็นเพียงแต่ผู้เผยแพร่ KM เท่านั้นเอง

     การดำรงอยู่ขององค์ความรู้ที่นำไปสู่การใช้งาน จึงเกิดความไม่ไหวติง เคลื่อน ๆ หยุด ๆ ฉะนั้น เวลาเขียนถึงความรู้ความเข้าใจจึงทำให้เกิดความยาก  มองภาพการปฏิบัติไม่ออก ได้แต่ภาพฝันของการจัดการความรู้ที่ล่องลอยไปคนละทิศคนละทาง  การต้อนความรู้เข้าหากันหรือการเชื่อมโยงเป็นไปอย่างยากลำบากเพราะต่างมีพื้นฐานที่ไม่เหมือนกัน  จึงเกิดความสับสนในเครื่องมือ "การจัดการความรู้"  หมายความว่า "สรุปแล้วข้อมูลและเนื้อหาสาระที่สนทนาระหว่างกันนั้นคืออะไร" เครื่องมือดังกล่าวนำไปใช้จัดการ K หรือ ใช้จัดการงาน.

หมายเลขบันทึก: 270101เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ
  • หายไปนานเลยนะครับ
  • สบายดีนะครับ

 

มัน งึกๆงั๊กๆ...มันต้องถอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี