ครูติดแผ่นดินข้าว : เวทีเรียนรู้ที่อำเภอบึงสามัคคี


         วันที่  15  มิถุนายน  2552  ผมได้นัดหมายกับพี่รณชัย  ชัยยะนักส่งเสริมการเกษตรประจำอำเภอบึงสมัคคี ที่จะไปร่วมเวทีการเรียนรู้ในโครงการขยายผลเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวของอำเภอบึงสามัคคี  เป็นการไปร่วมเวทีพร้อมกับไปสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  ครั้งนี้ก็เช่นกันครับ  ไปร่วมเป็นผู้ตรวจ...อิอิ  ช่วยเกษตรกรต้นแบบตรวจดินครับ เพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินอย่างง่าย

         สถานที่การจัดเวทีเรียนรู้  ใช้บ้านของเกษตรกรต้นแบบของอำเภอบึงสามัคคี คือบ้านของ อบต.วิชาญ  การภักดี เกษตรกรต้นแบบที่ทำนาลดต้นทุนด้วยการไม่เผาฟาง  ใช้สารชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี

          ในการตรวจวิเคราะห์ดิน  พบว่า เกษตรกรให้ความสนใจมาก  เพราะส่วนใหญ่ไม่เคยนำดินไปตรวจวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณธาตุอาหารในดินกันเลย  ปลูกข้าวทุกปี ใส่ปุ๋ยกันตามเพื่อบ้านและความรู้สึกว่าน่าจะใส่  ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะขาดธาตุโปแตสเซี่ยม  เพราะทำนากันปีละมากว่า 2 ครั้งต่อปี


วัดค่า pH ดิน


สีไหนกันแน่...อิอิ

          แต่ปัญหาของการคทำงานก็เหมือนกับที่อื่นๆ คือเมื่อทราบค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินเป็นอย่างไร  แต่เราก็ไม่สามารถคำนวณสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมใด้ในทันที่  เพราะไม่ทราบว่าดินของเกษตรกรในแปลงนั้นเป็นดินที่อยู่กลุ่มใด  ซึ่งก็วัดค้าพิกัดและส่งผ่านเว็บไซต์ไปแล้ว  คงต้องรออีกซักระยะหนึ่ง  จึงจะสามารถทราบกลุ่มดินและให้คำแนะนำสูตรปุ๋ยได้

         ในระหว่างที่ลงไปตรวจวัดพิกัดด้วยเครื่องจีพีเอส  พบว่า มีเกษตรกรหลายรายได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรทึ่เคยปลูกพืชอื่นหันมาปลูกข้าวกันหลายราย


ปรับจากส้มเขียวหวานกลับมาปลูกข้าว  จะเห็นสีของข้าวที่แตกต่างเพราะเดิมเป็นระบบร่อง


นี่ก็กำลังปรับพื้นที่จะทำนาครับ

        หลังจากกลับจากอำเภอบึงสามัคคี ก็แวะไปที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี  ที่ตำบลโค้งไผ่  เพื่อไปวัดพิกัดแปลงไว้ล่วงหน้า  เวลาไปร่วมเวที  เจ้าหน้าที่จะได้มีข้อมูลกลุ่มดินไว้คำนวณสูตรปุ๋ยให้แก่เกษตรกรได้ทันที  งานนี้ก็อาศัยผู้ใหญ่จำนงค์  เกษตรกรต้นแบบขอบอำเภอช่วยนำทางไปวัดค่าพิกัดทั้งที่บ้านเกษตรกรและที่แปลงนาครับ


เส้นทางเข้าสู่บ้านผู้ใหญ่จำนงค์


ผู้ใหญ่จำนงค์ เกษตรกรต้นแบบของอำเภอขาณุวรลักษบุรีนำเยี่ยมและวัดค่าพิกัดแปลง

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

หมายเลขบันทึก: 269923เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ตามมาดูครูต้น..ครับ
  • ต่อยอดได้ดีทีเดียว..
  • ส่วนนี่..ชาวนารุ่นใหม่..
  • รุ่นต่อไปที่ภาคเหนือ..เตรียมรับนะครับ

สวัสดีครับน้องสิงห์ ได้ผู้ใหญ่กำนัน ผู้นำเครือข่ายเป็นแบบทำจริงก็มีคนเห็นคนตามมาทำด้วยครับ

  • ตามมาดูครับพี่สิงห์
  • เป็นเหมือนห้อง Lab เคลื่อนที่
  • เป็นการทำงานเชิงรุก
  • ลุกออกมาจากที่ทำงาน
  • ฮ่าๆๆ
  • กำลังจะถามว่า วัดพิกัดแปลงเพื่อทำอะไรครับ
  • ครั้งก่อนมาดูแว๊บๆๆ
  • ท่าน เกษตร(อยู่)จังหวัด
  • เสียดายที่ไม่ได้ไปครับ
  • ผมมาช่วยงานลดต้นทุนครับ แต่ตัวอยู่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร
  • อิอิ...ข้ามกำแพงมา
  • ขอบคุณครับ
  • ท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- .
  • สบายดีนะครับ
  • ส่วนมากจะเป็นผู้นำในชุมชนด้วย
  • และเป็นเกษตรกรต้นแบบไปพร้อมๆ กัน
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง
  • วัดพิกัดเพื่อตรวจสอบกับกรมพัฒนาที่ดินว่าดินอยู่กลุ่มอะไรครับ
  • เมื่อวัดธาตุอาหารแล้วจะได้คำนวณสตรปุ๋ยได้เหมาะสม
  • อ.ขจิต สบายดีนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

นี่แหละคะนักส่งเสริมการเกษตรตัวจริง ทำเพื่อพี่น้องเกษตรกร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท